ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน หนุนโดยปัจจัยบวกจากความชัดเจนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตลาดคาดว่า Joe Biden จะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ช่วยลดความร้อนแรงของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีน โดยมีบริษัทสำคัญ ได้แก่ Pfizer และ Moderna รายงานผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพ ลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในขณะนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะ Risk on ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง โดย ตลาดหุ้นโลก (World MSCI Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.7% จากเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับฐานลงประมาณ -3%
ปัจจัยข้างต้น สร้างความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยความเสี่ยงของสงครามการค้าที่ลดลง เป็นบวกต่อภาพการค้าของโลก ขณะที่ วัคซีน จะช่วยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆและการท่องเที่ยว สามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นในเดือนพฤศจิกายนจะเป็นในกลุ่มหุ้นวัฏจักร (Cyclical) ได้แก่ กลุ่มพลังงาน สถาบันการเงิน และสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนหุ้นวัฏจักร (Cyclical) สูงในดัชนี เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ปรับตัวขึ้นได้ดี รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย โดยมีกระแสเงินลงทุน (Fund Flow) จากต่างชาติ ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยด้วยยอดซื้อสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาทในเดือนนี้ เป็นการซื้อสุทธิเดือนแรกหลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 15 เดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทย ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.9%
ด้านปัจจัยภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยปรับตัวฟื้นขึ้นเป็นลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดย GDP ไตรมาสสาม ออกมาที่หดตัว -6.4% YoY จากที่หดตัว -12.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ดีกว่าตลาดคาดว่าจะหดตัว -8.8% YoY โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในวงกว้าง และยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปีหน้า ยังคงขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพและการแจกจ่ายวัคซีน เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ประเด็นการเมือง แม้ยังมีการนัดชุมนุมอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีแนวโน้มไม่รุนแรง และการที่รัฐสภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้น ช่วยลดความตึงเครียดทางการเมืองได้ในระดับหนึ่ง
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ ขณะที่นโยบายการเงินยังคงอยู่ในโหมดผ่อนคลาย นำโดย Fed ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นเดียวกัน หนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองในระยะข้างหน้า ยังคงเป็นประเด็น การแพร่ระบาดและการพัฒนาวัคซีน รวมถึงนโยบายของสหรัฐฯหลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ด้านตลาดหุ้นไทย ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงค์จาก Fund Flow ต่างชาติในระยะข้างหน้า แต่การที่ SET Index ปรับตัวขึ้นมาเร็ว อยู่ในระดับปัจจุบันที่ Fwd. PER 21 ที่ 19 – 20 เท่า ทำให้อาจมี Upside จำกัดในช่วงสั้น กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective โดยเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี รวมถึงธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในระยะข้างหน้า
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน หนุนโดยปัจจัยบวกจากความชัดเจนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตลาดคาดว่า Joe Biden จะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ช่วยลดความร้อนแรงของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีน โดยมีบริษัทสำคัญ ได้แก่ Pfizer และ Moderna รายงานผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพ ลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในขณะนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะ Risk on ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง โดย ตลาดหุ้นโลก (World MSCI Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.7% จากเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับฐานลงประมาณ -3%
ปัจจัยข้างต้น สร้างความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยความเสี่ยงของสงครามการค้าที่ลดลง เป็นบวกต่อภาพการค้าของโลก ขณะที่ วัคซีน จะช่วยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆและการท่องเที่ยว สามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นในเดือนพฤศจิกายนจะเป็นในกลุ่มหุ้นวัฏจักร (Cyclical) ได้แก่ กลุ่มพลังงาน สถาบันการเงิน และสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนหุ้นวัฏจักร (Cyclical) สูงในดัชนี เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ปรับตัวขึ้นได้ดี รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย โดยมีกระแสเงินลงทุน (Fund Flow) จากต่างชาติ ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยด้วยยอดซื้อสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาทในเดือนนี้ เป็นการซื้อสุทธิเดือนแรกหลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 15 เดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทย ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.9%
ด้านปัจจัยภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยปรับตัวฟื้นขึ้นเป็นลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดย GDP ไตรมาสสาม ออกมาที่หดตัว -6.4% YoY จากที่หดตัว -12.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ดีกว่าตลาดคาดว่าจะหดตัว -8.8% YoY โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในวงกว้าง และยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปีหน้า ยังคงขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพและการแจกจ่ายวัคซีน เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ประเด็นการเมือง แม้ยังมีการนัดชุมนุมอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีแนวโน้มไม่รุนแรง และการที่รัฐสภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้น ช่วยลดความตึงเครียดทางการเมืองได้ในระดับหนึ่ง
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ ขณะที่นโยบายการเงินยังคงอยู่ในโหมดผ่อนคลาย นำโดย Fed ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นเดียวกัน หนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองในระยะข้างหน้า ยังคงเป็นประเด็น การแพร่ระบาดและการพัฒนาวัคซีน รวมถึงนโยบายของสหรัฐฯหลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ด้านตลาดหุ้นไทย ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงค์จาก Fund Flow ต่างชาติในระยะข้างหน้า แต่การที่ SET Index ปรับตัวขึ้นมาเร็ว อยู่ในระดับปัจจุบันที่ Fwd. PER 21 ที่ 19 – 20 เท่า ทำให้อาจมี Upside จำกัดในช่วงสั้น กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective โดยเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี รวมถึงธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในระยะข้างหน้า