อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุจากสิ้นเดือนก่อน โดยพันธบัตรช่วงอายุไม่เกิน 10 ปี มีการปรับลดลงในช่วง 1-6 bps ยกเว้นพันธบัตรอายุ 15 ปี ที่มีการปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 6 bps ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ราคาตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาด Emerging market จากทั้งปัจจัยบวกด้านผลการเลือกตั้งที่มีแนวโน้มที่นายโจ ไบเดน จะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ซึ่งนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อนโยบายการค้าระหว่างประเทศ
ในขณะเดียวกัน ความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ต่อเนื่องกันถึง 3 บริษัท ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นรวมถึงตลาด Emerging market ด้วย สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นจำนวนสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 2.5 หมื่นล้านบาท ซื้อสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้น 1 หมื่นล้านบาท และมีพันธบัตรครบกำหนดจำนวน 3.5 พันล้านบาท
คณะกรรมการ FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) ที่ 0-0.25% และระบุว่าจะยังคงขนาดการซื้อสินทรัพย์ในอัตราใกล้เคียงกับระดับปัจจุบันเป็นอย่างน้อย โดยตลาดมีความคาดหวังที่ในเดือน ธ.ค. FOMC จะมีการออกมาตรการเพิ่มเติม ทั้งในแง่ของการเพิ่มปริมาณการซื้อสินทรัพย์ หรือการซื้อสินทรัพย์ที่มีอายุคงเหลือยาวขึ้น ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย ประกอบกับปัจจัยด้านการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสเงินทุนจะยังไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึงตลาดตราสารหนี้ไทยด้วย
ธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (Medium-term Lending Facility – MLF) ในเดือน พ.ย. กว่า 8 แสนล้านหยวน เป็นระดับการอัดฉีดสภาพคล่องต่อเดือนสูงที่สุดในปีนี้และประกาศคงอัตราดอกเบี้ย MLF ไว้ที่ระดับ 2.95% โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดความกังวลด้านสภาพคล่องในตลาด ภายหลังจากได้รับผลกระทบในช่วงกำหนดชำระภาษี รวมถึงภาคธุรกิจได้มีการสำรองเงินสดในช่วงเทศกาล 11.11 และยังช่วยเป็นกลไกเพื่อรักษาระดับต้นทุนทางการเงินในตลาดไม่ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยตัวเลขการขยายตัวของ GDP ไทย ประจำไตรมาสที่ 3 หดตัวลง 6.4% YoY ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาด และหดตัวลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 12.1% ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี ตัวเลขการหดตัวของ GDP อยู่ที่ 6.7% โดยในไตรมาสที่ผ่านมา มีปัจจัยหนุนการเติบโตมาจากมาตรการคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น รวมถึงเศษฐกิจโลกก็ปรับตัวฟื้นตัวจากที่ติดลบต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีอย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดในเดือน ต.ค. ยังคงอยู่ในระดับติดลบ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ และผันผวนตามกระแสเงินทุนระหว่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านนโยบายการเงินและการคลัง ภายใต้การบริหารของนายโจ ไบเดน ซึ่งเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายหลังจากการครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้และแรงซื้อชั่วคราวหลังการคลายล็อกดาวน์หมดลง (Pend-up demand) รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศยังคงมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไป ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน
ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี โดยจะเน้นการใช้มาตรการอื่นๆ มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดมากกว่านโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุจากสิ้นเดือนก่อน โดยพันธบัตรช่วงอายุไม่เกิน 10 ปี มีการปรับลดลงในช่วง 1-6 bps ยกเว้นพันธบัตรอายุ 15 ปี ที่มีการปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 6 bps ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ราคาตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาด Emerging market จากทั้งปัจจัยบวกด้านผลการเลือกตั้งที่มีแนวโน้มที่นายโจ ไบเดน จะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ซึ่งนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อนโยบายการค้าระหว่างประเทศ
ในขณะเดียวกัน ความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ต่อเนื่องกันถึง 3 บริษัท ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นรวมถึงตลาด Emerging market ด้วย สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นจำนวนสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 2.5 หมื่นล้านบาท ซื้อสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้น 1 หมื่นล้านบาท และมีพันธบัตรครบกำหนดจำนวน 3.5 พันล้านบาท
คณะกรรมการ FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) ที่ 0-0.25% และระบุว่าจะยังคงขนาดการซื้อสินทรัพย์ในอัตราใกล้เคียงกับระดับปัจจุบันเป็นอย่างน้อย โดยตลาดมีความคาดหวังที่ในเดือน ธ.ค. FOMC จะมีการออกมาตรการเพิ่มเติม ทั้งในแง่ของการเพิ่มปริมาณการซื้อสินทรัพย์ หรือการซื้อสินทรัพย์ที่มีอายุคงเหลือยาวขึ้น ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย ประกอบกับปัจจัยด้านการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสเงินทุนจะยังไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึงตลาดตราสารหนี้ไทยด้วย
ธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (Medium-term Lending Facility – MLF) ในเดือน พ.ย. กว่า 8 แสนล้านหยวน เป็นระดับการอัดฉีดสภาพคล่องต่อเดือนสูงที่สุดในปีนี้และประกาศคงอัตราดอกเบี้ย MLF ไว้ที่ระดับ 2.95% โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดความกังวลด้านสภาพคล่องในตลาด ภายหลังจากได้รับผลกระทบในช่วงกำหนดชำระภาษี รวมถึงภาคธุรกิจได้มีการสำรองเงินสดในช่วงเทศกาล 11.11 และยังช่วยเป็นกลไกเพื่อรักษาระดับต้นทุนทางการเงินในตลาดไม่ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยตัวเลขการขยายตัวของ GDP ไทย ประจำไตรมาสที่ 3 หดตัวลง 6.4% YoY ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาด และหดตัวลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 12.1% ทำให้ในช่วง 9 เดือนของปี ตัวเลขการหดตัวของ GDP อยู่ที่ 6.7% โดยในไตรมาสที่ผ่านมา มีปัจจัยหนุนการเติบโตมาจากมาตรการคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น รวมถึงเศษฐกิจโลกก็ปรับตัวฟื้นตัวจากที่ติดลบต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีอย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดในเดือน ต.ค. ยังคงอยู่ในระดับติดลบ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ และผันผวนตามกระแสเงินทุนระหว่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านนโยบายการเงินและการคลัง ภายใต้การบริหารของนายโจ ไบเดน ซึ่งเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายหลังจากการครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้และแรงซื้อชั่วคราวหลังการคลายล็อกดาวน์หมดลง (Pend-up demand) รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศยังคงมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไป ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน
ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี โดยจะเน้นการใช้มาตรการอื่นๆ มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดมากกว่านโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย