Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020
1. นาย Peter Hug, Director, Global Trading, Kitco Metals เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงด้านมุมมองต่อทิศทางราคาทองคำมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1974 ชายผู้นี้มีประสบการณ์คาดการณ์ราคาทองคำได้อย่างแม่นยำทั้งขาขึ้นและขาลงมากกว่า 50 ปี เขา กล่าวว่า แม้ราคาทองคำหลุด 1,800 ดอลลาร์/ออนซ์ จากข่าวดีด้านการค้นพบวัคซีน COVID-19 และผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นนั้น แต่เทรนด์ระยะยาวจะยังคงเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เกิดจากการที่ภาระหนี้สินของทางรัฐบาลกลางทั่วโลกที่ได้อัดฉีดเพิ่มทุนให้กับเศรษฐกิจ อัดฉีดกระตุ้น SME หรือแม้กระทั่งอุ้มหนี้สินที่เสียหายไปมากมายจากการเกิดสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการอัดฉีดเพิ่มทุนที่ว่านี้จะกินระยะเวลาไปอีกหนึ่งปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย
แม้ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นก็จริงแต่ในภาคคนเดินถนนเอง จริงๆ แล้วตัวเลขการตกงานสหรัฐฯ ที่พุ่งสูง การต่อคิวรับอาหารที่ยาวกว่า 2-3 ไมล์จากฟู๊ดแบงค์ รายได้ของชนชั้นกลางที่ลดลงอย่างมหาศาลจากการตกงาน 6 เดือนต่อจากนี้ไม่เฉพาะรัฐบาลสหรัฐฯ แต่เป็นรัฐบาลทั่วโลกที่ต่างแจกจ่ายเงินเพื่อให้คนมีเงินใช้สอย
ด้วยเหตุทั้งหมดที่กล่าวมานี้กระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นในระบบ ทองคำในฐานะเป็นสินทรัพย์ที่ใช้เฮดจ์เพื่อต้านการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจะได้รับประโยชน์ปัจจัยดังกล่าว
2. ทาง State Street SPDR ETFs ซึ่งเป็นกองทุนหลักของกองทุน BGOLD ให้ข้อมูลว่า สภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ต่ำของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยสนับสนุนทองคำ แนวโน้มที่ว่านี้จะทรงตัวต่อเนื่องในปี ค.ศ. 2021
3. การเพิ่มขึ้นของปริมาณบอนด์ยิลด์ที่ให้ผลตอบแทนติดลบทั่วโลก ทำให้คาดต่อไปว่านักลงทุนจะโยกเงินออกจากตลาดบอนด์เข้าหาทองคำ เพื่อเฮดจ์ฐานะการลงทุนในตราสารทุน
มุมมองจากนักวิเคราะห์ภาคธนาคารระดับโลก
มุมมมองเชิงบวกต่อราคาทองคำ
- Citi group และ Goldman มองว่า ทองคำจะขึ้นเหนือ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ในปีหน้าแน่นอน เพราะแม้จะมีวัคซีน COVID-19 เข้ามา แต่การอัดฉีดการผ่อนคลายนโยบายการเพิ่มปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็ยังต้องมีอยู่ดีและเมื่อคำนวณราคาทองปัจจุบันนี้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้วยังมีราคาต่ำกว่าในปี ค.ศ. 1980 อยู่ 30% หรือต่ำกว่าประมาณ 1 ใน 3 ดังนั้นมีโอกาสที่ทองคำจะดีดตัวกลับไป รวมถึงการที่การเกิดเงินเฟ้อทำให้ดอลลาร์ถูกกดดันให้อ่อนตัวลงซึ่งอาจทำให้ความเชื่อมั่นของดอลลาร์ลดต่ำลงทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกเริ่มเก็บทองคำมากขึ้น โดย Goldman เป็นค่ายที่มองทองคำเป็นขาขึ้นมาโดยตลอด
มุมมองเชิงลบต่อราคาทองคำ
- นักวิเคราะห์จาก Mcquarie มองว่า ทองคำจะเป็นขาลงด้วยเหตุที่วิกฤติ COVID-19 ที่ดูคลี่คลายลงเป็นปรปักษ์กับราคาทองคำ คนซื้อทองคำเพราะว่ากลัวความเสี่ยงกลัวความไม่แน่นอนซึ่งตอนนี้ดูคลี่คลายลง จริงอยู่ว่าจะมีการอัดฉีดเงินเข้าระบบแต่ว่ามันอาจไม่ได้เข้มข้นเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งหากพูดในมุมของเงินเฟ้อทาง Mcquarie เข้าใจว่าเงินเฟ้อยังไงก็ต้องเกิดอยู่แล้ว ทองคำไม่ใช่ทรัพย์สินเดียวที่ประกันเงินเฟ้อได้ ยังมีอีกหลายอย่างที่ประกันเงินเฟ้อได้เช่น หุ้นบริษัทดีๆ ราคาสินทรัพย์ทุกอย่างก็เพิ่มขึ้นเหมือนกัน ดังนั้นการที่จะมองทองคำอย่างเดียวที่ประกันเงินเฟ้อ อาจจะมีอย่างอื่นหรือไม่ที่ทดแทนกันได้หรือแม้กระทั่งจะดีกว่าด้วยซ้ำ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือเวลาที่เกิดเงินเฟ้อทางธนาคารก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อไม่ให้เงินเฟ้อเติบโต ดังนั้นถ้าดอกเบี้ยเติบโตขึ้นและเงินเฟ้อสูงขึ้น ตลาดอาจมองหาทางเลือกอื่นที่ได้ดอกเบี้ยหรือปันผลที่สูงกว่าทองคำ
- การถือครองทองคำของกองทุน ETF ชื่อ SPDR เริ่มมีปริมาณลดลง การลดการถือครองทองคำของกองทุน SPDR เคยเกิดขึ้นในช่วงปีค.ศ. 2013 ที่ราคาร่วงลงหนัก สอดคล้องกับมุมมองจากทาง Morgan Stanley ที่มองว่าวิกฤติเริ่มคลีคลาย การพิมพ์เงินออกมาไม่ได้จำเป็นที่จะทำให้ราคาทองคำเติบโตทุกครั้ง เช่นเดียวกันกับที่ราคาทองคำร่วงลงในปี ค.ศ. 2013 ก็มีการพิมพ์เงินเช่นกัน
กราฟที่น่าสนใจสำหรับผู้ถือหน่วยที่มีการลงทุนในทองคำ
กราฟ 1 : แสดงปริมาณบอนด์ยิลด์ทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบเป็นไปในทิศทางเดียวกันราคาทองคำ
กราฟ 2 :
(กราฟซ้ายมือ) เส้นสีเขียวแสดงการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำภายหลังดัชนี S&P500 แตะระดับต่ำสุดในวันที่ 23 มี.ค. 2020 – ปัจจุบัน ซึ่งยังไล่หลังตลาดกระทิงรอบก่อนหน้านี้ที่เคยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 มี.ค. 2008 – 6 ก.ย. 2011 ในรอบนั้นทองคำให้ผลตอบแทนสะสมจากการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
(กราฟขวามือ) แสดงให้เห็นว่าในระยะกลางภาวะกระทิงของราคาทองคำรอบนี้ในเส้นสีเหลืองจะดำเนินต่อไปเนื่องจากยังไม่พบการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำที่เกินเลยไปกว่ารอบปี 1970 รอบปี 1976 และรอบปี 2001
กราฟ 3 :
(กราฟด้านซ้ายมือ) แสดงให้เห็นว่าทองคำสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ที่ 11.2% ต่อปีภายใต้ประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเดโมแครต เนื่องจากผู้นำจากพรรคนี้มักใช้นโยบายคลังที่ผ่อนคลาย
(กราฟด้านขวามือ) แสดงให้เห็นช่วงที่สหรัฐฯ ขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นเมื่อวัดจากสัดส่วนที่เทียบกับ GDP ราคาทองคำจะเพิ่มสูงขึ้น
กองทุนหลัก (Master fund)
ชื่อ : SPDR Gold Trust
นโยบายการลงทุน: มุ่งเน้นลงทุนในทองคำแท่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลักหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการทั้งหมดของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำแท่ง
ประเภทโครงการ: กองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์
วันจัดตั้งกองทุน: 18 พฤศจิกายน 2014
ประเทศที่จดทะเบียน: สิงคโปร์
สกุลเงิน: USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): LBMA Gold Price PM
Morningstar Category: US ETF Commodities Precious Metal
Bloomberg Code: GLD SP
Fund size: USD 76.06 Billion
Trust’s Holdings: Physical gold bullion kept in the form of London Good Delivery bars and held in allocated account.
*ที่มา: State Street Global Advisors ข้อมูลเดือนตุลาคม ดูรายละเอียดกองทุนรวมต่างประเทศได้ที่
https://www.bblam.co.th/application/files/7916/0618/8438/O87_Oct_2020_FS.pdf
ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูลวันที่ 30 พ.ย. 2020)
คำเตือน – ข้อมูลในบทความนี้เป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป และเป็นข้อมูลที่เชื่อว่าน่าจะเชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (“บริษัท”) มิได้ยืนยันหรือรับรองถึงความถูกต้อง หรือสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอในมุมมองของบริษัท และเป็นความคิดเห็น ณ วันที่ปรากฏในบทความเท่านั้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังวันดังกล่าว โดยบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งสาธารณชน หรือผู้ลงทุนทราบ บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลหรือความคิดเห็นใดๆไปใช้ในทุกกรณี ดังนั้นผู้ลงทุนควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณา เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต