- กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF)
- กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF)
- กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF)
BBLAM’s 2020 INVESTMENT THEMES
“เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”
ประเด็นเด่นประเด็นเด่น
- วัคซีนคืบหน้า แต่กรอบเวลาฉีดยังคงเดิม
- Joe Biden ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาคึกคัก
- มุมมองเศรษฐกิจโลกรวมถึงไทย ส่งสัญญาณพื้นตัว
- ต่างชาติกลับมาให้ความสนใจหุ้น Cyclical เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย
- Fund Flow ลดความเร็วลงมาบ้าง แต่ภาพระยะกลาง-ยาว ยังเป็นมุมมองบวกต่อหุ้นไทย
- ความกังวลต่อการระบาดระลอก 2 อาจกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศ
- ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน หนุนโดยปัจจัยบวกจากความชัดเจนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตลาดคาดว่า Joe Biden จะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ช่วยลดความร้อนแรงของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีน โดยมีบริษัทสำคัญ ได้แก่ Pfizer และ Moderna รายงานผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพ ลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในขณะนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะ Risk on ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง โดย ตลาดหุ้นโลก (World MSCI Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.7% จากเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับฐานลงประมาณ -3%
- ปัจจัยข้างต้น สร้างความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยความเสี่ยงของสงครามการค้าที่ลดลง เป็นบวกต่อภาพการค้าของโลก ขณะที่ วัคซีน จะช่วยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆและการท่องเที่ยว สามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นในเดือนพฤศจิกายนจะเป็นในกลุ่มหุ้นวัฏจักร (Cyclical) ได้แก่ กลุ่มพลังงาน สถาบันการเงิน และสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนหุ้นวัฏจักร (Cyclical) สูงในดัชนี เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ปรับตัวขึ้นได้ดี รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย โดยมีกระแสเงินลงทุน (Fund Flow) จากต่างชาติ ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยด้วยยอดซื้อสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาทในเดือนนี้ เป็นการซื้อสุทธิเดือนแรกหลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 15 เดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทย ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.9%
- ด้านปัจจัยภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยปรับตัวฟื้นขึ้นเป็นลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดย GDP ไตรมาส 3 หดตัว -6.4% YoY จากที่หดตัว -12.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ดีกว่าตลาดคาดว่าจะหดตัว -8.8% YoY โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในวงกว้าง และยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปีหน้า ยังคงขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพและการแจกจ่ายวัคซีน เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ประเด็นการเมือง แม้ยังมีการนัดชุมนุมอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีแนวโน้มไม่รุนแรง และการที่รัฐสภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้น ช่วยลดความตึงเครียดทางการเมืองได้ในระดับหนึ่ง
มุมมองตลาดหุ้นไทย
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ ขณะที่นโยบายการเงินยังคงอยู่ในโหมดผ่อนคลาย นำโดย Fed ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นเดียวกัน หนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองในระยะข้างหน้า ยังคงเป็นประเด็น การแพร่ระบาดและการพัฒนาวัคซีน รวมถึงนโยบายของสหรัฐฯหลังการเข้ารับตำแหน่งปธน. ด้านตลาดหุ้นไทย ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จาก Fund Flow ต่างชาติในระยะข้างหน้า แต่การที่ SET Index ปรับตัวขึ้นมาเร็ว อยู่ในระดับปัจจุบันที่ Fwd. PER 21 ที่ 19 – 20 เท่า ทำให้อาจมี Upside จำกัดในช่วงสั้น กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective โดยเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี รวมถึงธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในระยะข้างหน้า
ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน
(+) วัคซีนคืบหน้า แต่กรอบเวลาฉีดยังคงเดิมความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนที่กำลังอยู่ในเฟสที่ 3 ทยอยรายงานผลการทดลองตามลำดับ ส่งผลให้ความกังวลต่อการ Lockdown เมืองในแต่ละประเทศลดน้อยลง แต่ความเลี่ยงยังขึ้นกับกรอบเวลาการกระจายวัคซีนในวงกว้าง แข่งกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังเพิ่มขึ้น โดยบริษัทพัฒนาวัคซีนที่อยู่ในการทดลองเฟส 3 อาทิ Pfizer Moderna Astrazeneca Johnson& Johnson Novavax Sino pharma ฯลฯ (Pizer ระบุจะผลิตวัคซีนได้ 50 ล้านโตส ภายในปี 2563) และอาจเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 100 ล้านราย ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. 2564 ถ้ามีแนวโน้มทยอยประกาศผลสำเร็จของการทดลองวัคซีนตามมาในช่วง เดือน ธ.ค. 2563 – ไตรมาสแรกปี 2564 หากประกาศออกมา ประเมินว่าตลาดหุ้นโลก รวมถึงไทย น่าจะตอบรับเชิงบวกในอัตราที่น่าจะน้อยลง เนื่องจาก “ชินกับประเด็นวัคซีนไปแล้ว” แต่หากประเด็นที่พิเศษที่เหนือความคาดหมาย (Surprise) กว่าปัจจุบัน เช่น วัคซีนมาได้เร็วและกระจายในวงกว้างได้ดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันคาดการณ์กรอบเวลาการกระจายวัคซีนในวงกว้าง ยังคงอยู่ที่ 2H2564 ซึ่งช่วงสูญญากาศราว 6 เดือนเปิดโอกาสให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเพิ่มขึ้นได้ต่อ
(+) Joe Biden ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาคึกคัก จากนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่สนใจนำสหรัฐฯ พิจารณาเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP, ปรับเพิ่มภาษีนิติบุคคลเป็น 28% จาก 21% ส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐลดลง กดดันให้งินลงทุนไหลออกจากสหรัฐไปยังเอเชีย ฯลฯ
(+) มุมมองเศรษฐกิจโลกรวมถึงไทย ส่งสัญญาณพื้นตัว ซึ่งทีม Research กองทุนบัวหลวง ปรับ GDP ไทยปี 2563 ดีขึ้น เหลือ – 6.4% และเติบโตต่อ 3.8% ในปี 2564โดยแรงหนุนมาจากมาตรการพยุงการบริโภคจากรัฐ ทั้งชอปดีมีคืน คนละครึ่ง เพิ่มงินในบัตรสวัสดิการรัฐ วงเงินรวม 1.9 แสนล้านบาท แต่ก็ยังมีแรงกดดันบ้างบางส่วนที่มาจากประเด็นการเมือง และการชุมนุมที่กระทบในวงจำกัด (กทม.สัดส่วนราว 33% ของ GDP ทั้งประเทศ) โดยเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อ หากยืดเยื้อจะกระทบความเชื่อมั่นต่อการบริโภค และเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวภาคส่วนต่างๆ
(+) ต่างชาติกลับมาให้ความสนใจหุ้น Cyclical เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ ถือเป็นอานิสงส์ที่ดีต่อตลาดหุ้นไทย ที่มีน้ำหนักอยู่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรฯถึง 1 ใน 4 รวมถึงยังมีน้ำหนักหุ้นกลุ่ม ร.พ. เป็น ลำดับต้นๆ นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากสภาพคล่องส่วนเกินที่ล้นระบบ โดยเงินฝากในประเทศ ณ เดือน ก.ย. 2563 สูงกว่า Market Cap. ของตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน ถือเป็นอีกหนึ่งแรงส่งให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อได้ในยามที่ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระตับต่ำ
(+/-) Fund Flow ลดความเร็วลงมาบ้าง แต่ภาพระยะกลาง-ยาว ยังเป็นมุมมองบวกต่อหุ้นไทยเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง และจากมีความคืบหน้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ทางอังกฤษ เยอรมนี และอเมริกาจะมีการเริ่มทยอยแจกวัคซีนให้กับประชาชนในต้น – กลางเดือนธ.ค. 2563 ส่งผลดีการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้า จึงหนุนให้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลดีต่อหุ้นพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงทั้งนี้ หุ้นไทยปรับขึ้นมาจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่องจากความคาดหวังวัคซีนที่มีพัฒนาเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีเพราะ หุ้นไทยมีหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว บริการและการค้าระหว่างประเทศ ประกอบกับหุ้นไทยแม้ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค โดยปัจจุบันยังติดลบประมาณ 11%รวมถึงที่ผ่านมาต่างชาติมีการขายหุ้นไทยออกไปจำนวนมาก (ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2563 ภายในเดือน หรือ MTD ตปท.ซื้อสุทธิ 7.9 พันล้านบาท ในขณะที่ ภายในปี หรือ YTD ขายสุทธิอยู่ที่ 2.59 แสนล้านบาท)
(-) ความกังวลต่อการระบาดระลอก 2 อาจกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศ และอาจทำให้การฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวที่คาดว่าจะช้ากว่าที่คาดได้ โดย ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่ ได้กระจายใน 6 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา พิจิตร ราชบุรี และกรุงเทพฯ จากประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นบ้าง จากเดิมที่น่าจะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวได้ช้าที่สุดอยู่แล้ว ด้วยนักท่องเที่ยวที่หายไป รวมถึงโอกาสที่กลุ่มนักธุรกิจ รวมถึงกลุ่มที่เดินทางเพื่อการสัมมนาหรือจัดประชุม (MICE) ซึ่งอาจจะลดลงไป แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะกลับมาเป็นปกติแล้วก็ตาม รวมถึงภาวะอุปทานส่วนเกิน (Over Supply) ที่ยังคงมีอยู่ทั้งในส่วนของโรงแรมและสายการบิน ในขณะที่อุปสงค์ลดลงไปมาก
มุมมองในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
- กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -11.83%
- ดัชนี SET ENERG ปรับตัวลดลง -14.2% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัวแรง 26.17% ใน 2Q2563 สะท้อนถึงท่าทีระมัดระวังของตลาดต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน ในขณะที่อุปทานถูกปรับขึ้นโดยกลุ่มโอเปกพลัสตั้งแต่เดือนส.ค. ภายใต้ข้อตกลงที่จะลดการผลิตลง 2 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ 7.7 ล้านบาร์เรล/ วัน จนถึงสิ้นปีนี้ การฟื้นตัวของราคาน้ำมันใน 4Q2563 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นราคาหุ้นให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่ IEA ปรับประมาณการ การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันสำหรับ 2563 ลดลง 0.3 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ 91.4 ล้นบาร์เรล/วัน(กลับคืนสู่ระดับปี 2556) เพื่อสะท้อนการกลับมาระบาดของโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศ การกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ในระดับท้องถิ่น การทำงานทางไกลอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจการบินที่อ่อนแอ
- หุ้นโรงไฟฟ้า จุดเด่นสำคัญคือ ยังคงเป็นธุรกิจที่มีรายได้แน่นอน และเป็นหุ้นกลุ่ม Defensive โดยแท้จริง เนื่องจากมีการไฟฟ้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่รับซื้อ และยังมีการทำสัญญาระยะยาว ทำให้มั่นใจได้ว่าผลประกอบการมีความผันผวนน้อย และหุ้นกลุ่มนี้ยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่แล้วมีการรับรู้รายได้จากผลการดำเนินงานที่ดี แต่ในส่วนของงบการเงินรวมของหลายบริษัท มีการรับรู้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและผลจากมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ร่วมด้วย แต่ผลขาดทุนดังกล่าวเป็นเพียงการบันทึกรายการทางบัญชี ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดและผลประกอบการของกลุ่มบริษัทแต่อย่างใด
- กลุ่มพาณิชย์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -8.93%
- ดัชนี SET Commerce ปรับตัวลดลง -4.61% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัวแรง 22.06% ใน 2Q2563 โดยรวมคาดว่า 4Q2563 จะเติบโตจากยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่เติบโตขึ้นและได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในเวลาส่วนที่เหลือของปี
- แนวโน้ม 4Q2563 SSS ที่อ่อนแอเพราะกำลังซื้อและ sentiment เปราะบางมีแนวโน้มจะสร้างแรงกดดันต่อกำไรและ performance ของกลุ่มพาณิชย์อย่างต่อเนื่องในระยะสั้น ส่วนการอนุมัติมาตรการลดหย่อนภาษีชอปปิงชุดใหม่ โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการ (ไม่รวมสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ น้ำมัน ค่ที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบิน) ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. -31 ธ.ค. 2563 จะช่วยให้ SSS ของกลุ่มพาณิชย์หดตัวน้อยลงใน 4Q2563
- เริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าปรับปรุงบ้านและไอที (ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เร่งระบายสต๊อคสินค้า โดยปรับลดราคาลง และ พฤติกรรมที่อยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการซ่อมแซมบ้าน)
- กลุ่มการแพทย์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -14.51%
- กลุ่มการแพทย์ ดัชนี SET Health Care Services ปรับตัวลดลง -10.79% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 15.63% ใน 2Q2563กลุ่มการแพทย์ ดัชนี SET Health Care Services ปรับตัวลดลง -10.79% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 15.63% ใน 2Q2563 ท่ามกลางความผันผวนของตลาดซึ่งได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มการแพทย์จึงเป็นตัวเลือกลงทุนที่น่าสนใจโดยได้รับการสนับสนุนจาก
- การฟื้นตัวของอย่างต่อเนื่องของความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ที่ถูกอั้นไว้ (pent-up demand) จากผู้ป่วยคนไทย
- รายได้เพิ่มเติมจากบริการที่เกี่ยวข้องกับโควิด- 19
- ผู้ป่วยต่างชาติ Fly-in (Mecical Tourism) จากความคืบหน้การพัฒนาวัคซีน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ใกล้นำมาใช้งานจริงได้แล้ว โดยเฉพาะในไทยช่วง 2H2564 น่าจะได้ใช้กันจริงๆ และนอกจากความคาดหวังเชิงบวกดังกล่าว การกลับมาให้บริการเที่ยวบินกึ่งพาณิชย์มากขึ้น เช่น ยูเอ และกาตาร์ และจากนี้ชื่อว่า รัฐฯ น่าจะมีแนวโน้มการลดวันกักตัวเป็น 10 จาก 14 วัน ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วย Fly-in สูง
- กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -15.69%
- ดัชนี SET Transportation ปรับตัวลดลง -7.61% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 20.51% ใน 2Q2563 ช่วงต้นปีกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบรุนแรงจากไวรัสโควิด-19 หลังมีการปิดเส้นทางการเดินทางของสายการบิน และการหยุดบิน ขณะที่นโยบาย Work from home ส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน และทางด่วนลดลง
- การบินภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวกลับมา คาดว่าในไตรมาสที่ 4 นี้จะกลับมาได้ดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยจากมาตรการ การกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น ประกาศให้มีวันหยุดยาว อีกทั้งเริ่มพิจารณาการรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย( special tourist visa) ด้วย
- จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกยังคงเร่งขึ้นอย่างน่ากังวล ดังนั้น ยังคงต้องลงทุนอย่างระมัดระวังในกลุ่มนี้
- กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) 0.48%
- ดัชนี SET Food & Beverages ปรับตัวลดลง -1.30% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 25.20% ใน 2Q2563
- ในเดือนพ.ย. มีรายงานไข้หวัดนกระบาดในญี่ปุ่นครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 4 ปี และตามมาด้วยเกาหลีใต้ ถ้าสถานการณ์เช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง จะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยส่งออกไก่ได้มากขึ้นในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า ใน 4Q2563 ต้นทุนกากถั่วเหลืองพลิกปรับตัวเพิ่มขึ้น YoY โดยเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 ปี อย่างไรก็ตาม ผลกระทบนับถึงปัจจุบันมีจำกัด เนื่องจากบริษัทต่างๆ เก็บสต๊อกวัตถุดิบอาหารสัตว์ไว้ 3-4 เดือน และต้นทุนกากถั่วเหลืองมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมด ใน 4Q2563TD ราคาหมูและไก่ลดลง QoQ เพราะอุปสงค์อ่อนแอในช่วงเทศกาลกินเจ
- กลุ่มเครื่องดื่ม นอกจากยอดขายจะโตได้จากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านแล้ว การคุมรายจ่าย ลดโฆษณาโปรโมชั่นยังช่วยผลักดันกำไร ประกอบกับกลุ่ม Functional drink ที่มีส่วนผสมของน้ำผักผลไม้ไม่ต่ำกว่า 10% อาจได้ลดภาษีเครื่องดื่มเหลือ 3% จาก 10% นอกจากนี้แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 4Q2563 ในกลุ่มดังกล่าวคาดว่าจะออกมาดีต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ อีกทั้ง การเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบพิเศษ (Special Tourist VISA : STV) ดังนั้นกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม กลับมาเปิตมากขึ้น คาดว่าจะกระตุ้นให้การอุปโภคบริโภคฟื้นตัวได้
- กลุ่มวัสดุก่อสร้าง
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -6.06%
- ดัชนี SET Construction Materials ปรับตัวลดลง -7.92% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 18.27% ใน 2Q2563 ช่วงต้นปี สภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในการใช้วัสดุก่อสร้างอยู่ในภาวะซบเซา โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะ Oversupply อย่างมาก เช่นเดียวกับโครงการภาครัฐที่ได้รับกระทบจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ที่ล่าช้า และการปรับลดงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำเงินไปสู้ภัยโควิด
- ใน 4Q2563 อุปสงค์วัสดุก่อสร้างในประเทศจะอ่อนแอ เพราะแม้ว่ารัฐบาลจะเบิกจ่ายงบลงทุนเพิ่มขึ้นใน 3Q2563 แต่อาจจะเบิกจ่าย ได้ช้าในช่วงต้น 4Q2563 เนื่องจากงบประมาณปี 2564 ล่าช้า และการลงทุนภาคเอกชนอ่อนแอจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง
- ผู้ประกอบการทุกรายจะได้ประโยชน์จากต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำในปี 2563 เนื่องจากราคาถ่านหิน (spot price) อยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 14 ปี และราคาน้ำมันอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 16 ปี
- การผลักดันโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องใน 1 – 2 ปีข้างหน้า เนื่องจากตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยทั้งส่งออก และท่องเที่ยวยังมีอุปสรรคจากต่างประเทศ
- ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะธุรกิจวัสดุก่อสร้างยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ของภาครัฐ
- กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -17.37%
- ดัชนี SET Property Development ปรับตัวลดลง -8.77% ใน 3Q2563 หลังจากฟื้นตัว 23.17%
- ผู้ประกอบการยังเน้นเปิดแนวราบ และเคลียร์สต๊อกคอนโดฯ ท่ามกลางตลาดอสังหาฯ ที่มีความท้าทาย ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างจุดสมดุลที่เหมาะสม ผ่านการเปิดโครงการใหม่น้อยลง โดยปี 2563 คาดผู้ประกอบการ 17 ราย เปิดรวม 165 โครงการ มูลค่ 1.87 แสนล้านบาท ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี สำหรับแผนปี 2564 อาจต้องรอความชัดเจนต้นปีหน้า แต่คาดการเปิดโครงการใหม่จะเพิ่มทั้งจำนวนและมูลค่า เทียบกับปี 2563 ที่มีฐานต่ำ โดยเน้นแนวราบมากกว่าคอนโดฯ รวมถึงให้ความสำคัญกับการเคลียร์สต๊อกสินค้าคงเหลือขาย ซึ่งสิ้น 3Q2563 มีอยู่ 6 แสนล้านบาท
- ปัจจัยที่ต้องจับตาของกลุ่มที่อยู่อาศัยน่าจะถูกนำมารวมอยู่ในมาตรการกระตุ้นของรัฐบาล มาตรการที่มีแนวโน้มออกมา คือ มาตรการที่อำนวยความสะดวกในการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้กับผู้ซื้อชาวต่างชาติท่ามกลางข้อจำกัดการเดินทาง หรืออาจจะขยายระยะเวลาลดค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การผ่อนปรนเกณฑ์ LTVเมื่อพิจารณาจากความไม่แน่นอนด้านเครดิตของผู้ซื้อ ในขณะเดียวกัน การประกาศใช้พ.ร.บ .ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะส่งผลทำให้ภาระภาษีทั้งในส่วนของผู้ซื้อและผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นใน 2564 โดยเฉพาะผู้ที่มีที่ดินเปล่าจำนวนมาก
- กลุ่มธนาคาร
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -27.78%
- ดัชนี SET Banking ปรับตัวลดลง -12.98% ใน 3Q2563 หลังจากปรับตัวขึ้น 10.96% ใน 2Q2563 สรุปผลประกอบการ 3Q2563: ยังไม่ฟื้นตัว กำไร 3Q2563 ของกลุ่มธนาคาร (-45% YoY, -1% QoQ)
- ผลประกอบการณ์โดยรวมใน 3Q2563 สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารยังคงตั้งสำรองในระดับสูงเพื่อเพิ่ม LLR coverage (การตั้งสำรองหนี้ฯ) ขณะที่กำไรก่อนตั้งสำรองลดลงเพราะสินเชื่อขยายตัวต่ำ NIM ลดลง และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นไปได้ว่ากำไรจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (U-shape) แม้หุ้นธนาคารส่วนใหญ่ valuation ถูก แต่การลงทุนในกลุ่มนี้ ยังคงต้องระมัดระวัง และติดตามใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยต้องติดตามความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ NPL มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะ ธปท.ไม่ได้ขยายระยะเวลามาตรการพักชำระหนี้สำหรับผู้ประกอบการ SME ทุกราย ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ตค.
- กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -1.13%
- ดัชนี SET Finance and Securities ปรับตัวลดลง -8.16% ใน 3Q2563 หลังจากปรับตัวขึ้น 15.77% ใน 2Q2563 หลังจากที่ธปท.ประกาศมาตรการสำคัญ ทั้งการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เป็นต้น ราคาหุ้นก็ถูกกดดันทันที เพราะได้รับผลกระทบหลายด้าน ทั้งแง่การดำเนินธุรกิจ และผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น
- ภาพรวมของอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์น่าจะดีในช่วงครึ่งหลังของปี หลังมีการเพิ่มขึ้นของทรัพย์ด้อยคุณภาพทั้ง NPL และ NPA ที่สถาบันการเงินนำออกมาประมูลขายในช่วงที่เศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัว เพื่อลดความเสี่ยงจากการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์ ทำให้ช่วงที่ผ่าน มาบริษัทในกลุ่มดังกล่าวสามารถประมูลทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ด้วยราคาที่ไม่แพงนัก
- ได้ประโยชน์มาตรการรัฐ Soft loan
- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง เนื่องจากดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงจะทำให้ต้นทุนของกลุ่มเช่าซื้อถูกลงยังต้องติดตามคุณภาพลูกหนี้ของกลุ่มเช่าซื้อ เพราะภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว จากผลกระทบโควิด-19 จะกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าลดลง
- กลุ่มบรรจุภัณฑ์
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) 45.59%
- ดัชนี SET Packaging เพิ่มขึ้น 21.80% ใน 3Q2563 หลังจากปรับตัวขึ้นร้อนแรง 49.68% ใน 2Q2563
- การเติบโตของ E-commerce ทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภค-บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายต่อหลายบริษัทในตลาดหุ้นไทย ขยายการลงทุนมายัง Packaging ต่อเนื่อง
- เฉพาะบรรจุภัณฑ์สำหรับ Food Delivery ในปี 2563 น่าจะไม่ต่ำกว่า 250 ล้านชิ้น ทำให้ปริมาณการใช้งานบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในภาพรวม ซึ่งครอบคลุมทั้งบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร รวมถึงร้านอาหารรายย่อยอื่นๆ นอกเหนือจาก Food Delivery น่าจะมากกว่านี้อีกพอสมควร
- กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ผลตอบแทน* (ภายในปี) -15.34%
- ดัชนี SET Information & Commu Tech ปรับตัวลดลง -5.82% ใน 3Q2563 หลังจากปรับตัวขึ้นเล็กน้อย 1.46% ใน 2Q2563 โดยตั้งแต่ต้นปี กลุ่มนี้มีกำไรลดลงจากกำลังซื้อที่หายไป รวมถึงมีการปิดสาขาในห้างสรรพสินค้าชั่วคราว
- มุมมองในระยะต่อไป คือ ARPU ส่วนเพิ่มจาก 5G คาดหวังได้มากขึ้นส่วนมุมมองเรื่อง 5G ที่ผู้ประกอบการรายหลักซึ่งครอบครองคลื่น 5G ส่วนใหญ่ คล้ายกัน ถือเป็นเรื่องบวกต่อภาพระยะยาวของกลุ่มที่แต่ละรายต้องการหารายได้ส่วนเพิ่มเข้ามาชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนมากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้วหาก ARPU ของกลุ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง จะถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การลงทุน 5G ครอบคลุมต้นทุนเร็วกว่าที่คาดหมายไว้ และช่วยหนุนกำไรกลับมาเติบโตระยะยาว อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าวยังคงต้องติดตามพัฒนาการอีกระยะหนึ่ง
- ภาพการแข่งขันผ่อนคลายของกลุ่มดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากที่ทุกรายปรับเพิ่มราคาค่าบริการแพ็คเกจ Unlimited คาดเป็นบวกต่อรายได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ให้บริการที่มีฐานลูกค้ามากสุด
- หลังโควิด-19 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจโทรคมนาคมเข้าสู่ยุค 5G ดังนั้นการขยายตัวด้านการวางระบบโครงสร้างจะยังคงเติบโตตามความต้องการในการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว แม่นยำ
หมายเหตุ : ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ใช่ผลตอบแทนของกองทุนแต่อย่างใด
กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน
- กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -10.67% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -7.97% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (COMM) ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) วัสดุก่อสร้าง (CONMAT) ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มธนาคาร (BANK) กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) เป็นต้น
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค ธนาคาร ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -11.93% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -7.97% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) วัสดุก่อสร้าง (CONMAT) ตามลำดับ
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วัสดุก่อสร้าง ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -1.73% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -7.97% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) พาณิชย์ (COMM) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) เป็นต้น
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และคงน้ำหนักในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -9.72% และเกณฑ์มาตรฐาน (SETHD TRI) อยู่ที่ -10.26% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) และกองทุนให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาดใน กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) กลุ่มธนาคาร (BANK) เป็นต้น
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เงินทุนและหลักทรัพย์ ธนาคาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -3.12% และเกณฑ์มาตรฐาน (80% ของ SET TRI และ 20% ของ MSCI World Net Total Return Index ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน) อยู่ที่ -3.48% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (COMM) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) การแพทย์ (HELTH) อาหารและเครื่องดื่ม (FOOD) วัสดุก่อสร้าง (CONMAT) ตามลำดับ
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การแพทย์ อาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ อยู่ที่ -11.38% และเกณฑ์มาตรฐาน (SETHD TRI) อยู่ที่ -7.97% ทั้งนี้ หากพิจารณาน้ำหนักการลงทุน 5 อันดับแรกอุตสาหกรรมของกองทุน พบว่า อุตสาหกรรมที่กองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ได้แก่ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) วัสดุก่อสร้าง (CONMAT) บรรจุภัณฑ์ (PKG) ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) และกองทุนให้น้ำหนักเท่ากับตลาดใน กลุ่มธนาคาร (BANK) เป็นต้น
*น้ำหนักการลงทุนดังกล่าว เป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563 ทั้งนี้ น้ำหนักการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค ธนาคาร เป็นต้น
ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆด้วย
ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563
ที่มาของผลการดำเนินงาน: บลจ.บัวหลวง ณ วันที่ 30 พ.ย. 2562 / ตัวชี้วัด (Benchmark): กองทุน BERMF/IN-RMF/B-SM-RMF/B-TOPTENRMF จะใช้ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI) และกองทุน BSIRIRMF จะใช้ดัชนี SET High Dividend 30 Index เป็นตัวชี้วัดของกองทุน และ กองทุน BBASICRMF จะใช้ดัชนี SET TRI (80%) + MSCI World Net Total Return Index (20%) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็น สกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทน เป็นตัวชี้วัดของกองทุน • ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต • เอกสารการวัดผลการดำเนินงานนี้จัดขึ้นตามมาตรฐานของ AIMC
คำเตือน – ข้อมูลในบทความนี้เป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป และเป็นข้อมูลที่เชื่อว่าน่าจะเชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (“บริษัท”) มิได้ยืนยันหรือรับรองถึงความถูกต้อง หรือสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอในมุมมองของบริษัท และเป็นความคิดเห็น ณ วันที่ปรากฏในบทความเท่านั้น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังวันดังกล่าว โดยบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งสาธารณชน หรือผู้ลงทุนทราบ บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลหรือความคิดเห็นใดๆไปใช้ในทุกกรณี ดังนั้นผู้ลงทุนควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณา เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต