ในเดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.1% และตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ส่งผลให้ผลตอบแทนปี 2020 ของตลาดหุ้นโลกอยู่ที่ 14.1% และตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนติดลบลดลงเหลือ -8.3% ปัจจัยที่เป็นแรงส่งในช่วงสุดท้ายของปียังคงเป็นความคาดหวังเชิงบวกจากวัคซีน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 โดยการเริ่มแจกจ่ายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ นั้น ช่วยลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกรายใหม่ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การได้ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เป็นนาย Joe Biden ช่วยหนุนบรรยากาศการค้าโลกและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
แนวโน้มการลงทุนในปี 2021 นั้น แม้ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นต่างๆ จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย อันเป็นผลจากการที่ผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ระดับดัชนีได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกและการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางหลักๆ แต่การที่เศรษฐกิจโลกในปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัว โดย IMF คาดว่า GDP โลกจะขยายตัวที่ 5.2% ฟื้นขึ้นจากปี 2020 ที่ -4.4% จะส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และลดความร้อนแรงของระดับ Valuation ลงได้ สำหรับ ภาวะอัตราดอกเบี้ยในปี 2021 ยังคงมีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จากการที่ Fed เปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย ที่ 2% ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำนานขึ้นและยังไม่กลับมาขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ทำให้โดยภาพรวมยังเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ กระแสเงินลงทุนมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อหุ้นในกลุ่มวัฏจักร (Cyclicals) ทั้งจากการที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ รวมถึงระดับ Valuation ที่ยังมีการปรับขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับหุ้นที่นำดัชนีในปีที่ผ่านมา อย่างกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นในกลุ่มวัฏจักรนั้น ได้แก่ สถาบันการเงิน พลังงาน หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ทำให้กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (EM) ซึ่งมีสัดส่วนอุตสาหกรรมดังกล่าวสูงกว่า กลุ่มที่พัฒนาแล้ว (DM) จึงมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีกว่าในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี เริ่มมีกระแสเงินลงทุนไหลตลาดหุ้นเข้ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 15 เดือน สะท้อนความคาดหวังการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังมีการค้นพบวัคซีนโควิด-19 ถึงแม้ว่า จะมีการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศอีกครั้ง ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องใช้มาตรการบังคับปิดกิจการบางประเภทเป็นการชั่วคราวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด แต่เชื่อว่าในรอบนี้ ตลาดหุ้นไทยจะไม่เกิดแรงขายรุนแรงเหมือนกับในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องด้วยนักลงทุนสามารถประเมินผลกระทบของมาตรการในลักษณะนี้ได้ชัดเจนขึ้น เมื่อเทียบกับรอบแรก ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องปรับลดการคาดการณ์ผลประกอบการด้วยมุมมองที่เป็นลบมากเกินไป
ประกอบกับ การที่ภาครัฐมีแนวโน้มจะใช้แนวทางดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไปโดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจไปด้วย อีกทั้งยังมีความหวังของวัคซีนเพิ่มเข้ามาอีก ดังนั้น ถ้ามีแรงขายหุ้นในครั้งนี้ น่าจะเกิดขึ้นกับธุรกิจบางประเภทที่ได้รับกระทบโดยตรงมากกว่าการขายทั้งกระดานแบบที่เคยเกิดขึ้น และน่าจะเป็นการปรับตัวลงในช่วงสั้น
ด้านปัจจัยพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยในปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดยภาคการส่งออกเริ่มเห็นการฟื้นตัว ขณะที่มาตรการจากทางภาครัฐฯที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นช่วยประคับประคองกำลังซื้อในประเทศได้ ในปีนี้ การใช้จ่ายภาครัฐฯจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเริ่มเข้าสู่การก่อสร้าง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย
ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ยังคงขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่รระบาดและการแจกจ่ายวัคซีนของโลก ว่าจะสามารถทำให้ประเทศไทยสามารถเปิดภาคการท่องเที่ยวได้มากขึ้นหรือไม่
ด้านปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การดำรงตำแหน่งปธน.ของนาย Joe Biden และนโยบายต่างๆที่จะตามมา รวมถึงสถานกาณ์การแพร่ระบาด การแจกจ่าย และประสิทธิภาพของวัคซีน เป็นต้น กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมที่มีความตึงตัว โดยถ่วงน้ำหนักระหว่างหุ้นเติบโต (Growth) ที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี และหุ้นวัฏจักร (Cyclicals) ที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ในเดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.1% และตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ส่งผลให้ผลตอบแทนปี 2020 ของตลาดหุ้นโลกอยู่ที่ 14.1% และตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนติดลบลดลงเหลือ -8.3% ปัจจัยที่เป็นแรงส่งในช่วงสุดท้ายของปียังคงเป็นความคาดหวังเชิงบวกจากวัคซีน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 โดยการเริ่มแจกจ่ายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ นั้น ช่วยลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกรายใหม่ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การได้ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เป็นนาย Joe Biden ช่วยหนุนบรรยากาศการค้าโลกและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
แนวโน้มการลงทุนในปี 2021 นั้น แม้ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นต่างๆ จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย อันเป็นผลจากการที่ผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ระดับดัชนีได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกและการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางหลักๆ แต่การที่เศรษฐกิจโลกในปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัว โดย IMF คาดว่า GDP โลกจะขยายตัวที่ 5.2% ฟื้นขึ้นจากปี 2020 ที่ -4.4% จะส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และลดความร้อนแรงของระดับ Valuation ลงได้ สำหรับ ภาวะอัตราดอกเบี้ยในปี 2021 ยังคงมีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จากการที่ Fed เปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย ที่ 2% ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำนานขึ้นและยังไม่กลับมาขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ทำให้โดยภาพรวมยังเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ กระแสเงินลงทุนมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อหุ้นในกลุ่มวัฏจักร (Cyclicals) ทั้งจากการที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ รวมถึงระดับ Valuation ที่ยังมีการปรับขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับหุ้นที่นำดัชนีในปีที่ผ่านมา อย่างกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นในกลุ่มวัฏจักรนั้น ได้แก่ สถาบันการเงิน พลังงาน หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ทำให้กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (EM) ซึ่งมีสัดส่วนอุตสาหกรรมดังกล่าวสูงกว่า กลุ่มที่พัฒนาแล้ว (DM) จึงมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีกว่าในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี เริ่มมีกระแสเงินลงทุนไหลตลาดหุ้นเข้ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 15 เดือน สะท้อนความคาดหวังการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังมีการค้นพบวัคซีนโควิด-19 ถึงแม้ว่า จะมีการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศอีกครั้ง ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องใช้มาตรการบังคับปิดกิจการบางประเภทเป็นการชั่วคราวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด แต่เชื่อว่าในรอบนี้ ตลาดหุ้นไทยจะไม่เกิดแรงขายรุนแรงเหมือนกับในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องด้วยนักลงทุนสามารถประเมินผลกระทบของมาตรการในลักษณะนี้ได้ชัดเจนขึ้น เมื่อเทียบกับรอบแรก ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องปรับลดการคาดการณ์ผลประกอบการด้วยมุมมองที่เป็นลบมากเกินไป
ประกอบกับ การที่ภาครัฐมีแนวโน้มจะใช้แนวทางดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไปโดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจไปด้วย อีกทั้งยังมีความหวังของวัคซีนเพิ่มเข้ามาอีก ดังนั้น ถ้ามีแรงขายหุ้นในครั้งนี้ น่าจะเกิดขึ้นกับธุรกิจบางประเภทที่ได้รับกระทบโดยตรงมากกว่าการขายทั้งกระดานแบบที่เคยเกิดขึ้น และน่าจะเป็นการปรับตัวลงในช่วงสั้น
ด้านปัจจัยพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยในปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดยภาคการส่งออกเริ่มเห็นการฟื้นตัว ขณะที่มาตรการจากทางภาครัฐฯที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นช่วยประคับประคองกำลังซื้อในประเทศได้ ในปีนี้ การใช้จ่ายภาครัฐฯจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเริ่มเข้าสู่การก่อสร้าง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย
ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ยังคงขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่รระบาดและการแจกจ่ายวัคซีนของโลก ว่าจะสามารถทำให้ประเทศไทยสามารถเปิดภาคการท่องเที่ยวได้มากขึ้นหรือไม่
ด้านปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การดำรงตำแหน่งปธน.ของนาย Joe Biden และนโยบายต่างๆที่จะตามมา รวมถึงสถานกาณ์การแพร่ระบาด การแจกจ่าย และประสิทธิภาพของวัคซีน เป็นต้น กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมที่มีความตึงตัว โดยถ่วงน้ำหนักระหว่างหุ้นเติบโต (Growth) ที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี และหุ้นวัฏจักร (Cyclicals) ที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก