By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP®
BF Knowledge Center
แบบที่ 2 เป็นเรื่องความชำนาญเฉพาะด้าน ที่สามารถนำมาหารายได้ให้กับตัวเองในวัยเกษียณได้ โดยเพิ่มเติมเรื่องมุมมองธุรกิจประกอบ จะทำให้กิจกรรมหารายได้หลังเกษียณเราสนุก และเป็นจริงมากขึ้น เช่น …
สังคมปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลงไม่ค่อยทำอาหารเอง ใช้วิธีซื้อ แต่คนรุ่นก่อน กลุ่ม Gen X ทำกับข้าวเก่ง กินข้าวบ้านมากกว่าไปกินข้างนอก คนรุ่นใหม่เค้าก็อยากกินข้าวบ้านอร่อยๆ แต่ทำไม่เป็น ก็เป็นช่องทางให้วัยเกษียณปัจจุบันสามารถทำอาหารขายในหมู่บ้านได้
ถ้าในบริเวณที่พักของเรา มีคนทำงานบริษัทที่ไม่ค่อยอยู่บ้านช่วงกลางวัน ก็ทำขายเสาร์อาทิตย์ในวันที่เขาอยู่บ้าน หรือทำเป็นข้าวกล่อง ผูกปิ่นโต ส่งทุกเย็น มีรายการอาหารกำหนดไว้เลย วันละ 3-4 อย่าง ให้เลือก แล้วก็ส่งในหมู่บ้าน คิดราคาไม่แพง ถ้าเรามีฝีมือ ทำอร่อย สะอาด ก็จะหาลูกค้าได้ไม่ยาก คนไทยชอบของอร่อย
ลองดูอาหารที่คนยุคนี้เค้านิยมซะหน่อย เน้นสุขภาพ กินหวานน้อยลง กินมันน้อยลง อาหารที่ถูกจริต จะทำให้ขายง่ายขึ้น
หรือแทนที่จะทำอาหารขาย ก็เปิดคอร์สสอนทำอาหารวันหยุด วันอาทิตย์ คนรุ่นใหม่จำนวนมากทำไม่เป็นแต่ไม่ใช่ไม่อยากทำ เอาความเก๋าของเราสอนเขา คิดถูกๆ เอาค่าแรงนิดๆ หน่อยๆ แต่ทำให้เราสนุก ไปด้วย
แบบที่ 3 คือการหารายได้จากเงินเก็บเงินออมที่มีอยู่ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้และควรทำ อย่างน้อยๆ ให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ อาจจะซื้อกองทุนรวมก็ได้ หรือสำหรับคนที่มีความสามารถด้านการลงทุน ก็อาจจะนำเงินบางส่วนมาลงทุนเองในหุ้น กันสัดส่วนให้ดีว่าส่วนนี้เราเสี่ยงได้ อย่าเอาทั้งหมดมาลงทุนตรง แม้จะเก่งแค่ไหนก็ตาม
หรือบางคนบอกว่า ไม่เอา ไม่ชอบเล่นหุ้น ก็อาจจะไปลงทุนในสิ่งที่ตนเองถนัด บางคนเก่งด้านจัดการ ก็อาจจะลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า คอยเก็บค่าห้องพัก รายวัน รายเดือน ถ้าบ้านเราอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยว เช่นเชียงใหม่ ถนนข้าวสาร ปรับบ้านบางส่วน แยกสัดส่วนให้ชัด กันบางชั้นเป็นห้องพักให้ต่างชาติเช่าได้เช่นกัน
คนทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง วันที่เกษียณ เราก็ยังเป็นเราอยู่ ยังสามารถใช้คุณค่า ใช้ความรู้ความสามารถ ทำอะไรให้สังคม ให้ครอบครัวได้ นอกจากนี้ ยังสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ จึงควรทำอะไรที่เป็นประโยชน์ ดีกว่าจะหายใจทิ้งไปวันๆ จนเป็นภาระลูกหลานหรือสังคม