คัดลอกบางส่วนจากรายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจที่ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารอมตะ
วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ และ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA เปิดเผยว่าหลังพบปะพูดคุยกับทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทุนญี่ปุ่นส่งสัญญาณในมุมมองบวกต่อประเทศไทยขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545
การเอาจริงของภาครัฐที่ต้องการให้ทุนญี่ปุ่นกลับเข้ามาลงทุนนั้น สะท้อนมาจาก การเดินหน้าจริงจังของภาครัฐในโครงการ EEC การยกเว้นภาษีโดยเฉพาะภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน อีกทั้งการแสดงให้เห็นความต่อเนื่องด้วยแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐให้คำมั่นว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาต้องเดินตามแผนพัฒนาฯ แก้ไขไม่ได้
เพราะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เป็นคู่แข่งเกิดขึ้นมาก เช่น เวียดนาม อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ทำให้มองข้ามไทยไป โดยเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ ได้แก่ ปัญหาการเมือง ค่าแรงถูกกว่า ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทเองก็มักพูดว่าถ้าประเทศไทยยังเป็นแบบนี้ก็จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น
แต่รัฐบาลคสช. สามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศได้ และดึงการลงทุนด้วยอัตราภาษี โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีกลุ่มธูรกิจ EEC หากเป็นนิติบุคคลยกเว้น 15% และบุคคลธรรมดายกเว้นภาษีจากคงที่ 35% เหลือ 17% เท่ากับว่าไทยมีภาษีบุคคลธรรมดาต่ำกว่าสิงคโปร์ซึ่งอยู่ที่ 21-22%
โครงการ EEC อาจเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งอาจมีการจัดโซนพิเศษเพิ่มเติม สร้างสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการลงทุน เช่น สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง หรือแม้แต่ถนน เป็นต้น
สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ EEC เอง เช่น กลุ่มโลจิสติกส์ เมื่อเห็นสัญญาณดีเริ่มลงทุน ก็ขยายเพื่อเชื่อมการขนส่งในแถบตะวันออกทันทีรองรับกลุ่มยานยนต์ เช่นเดียวกับที่คุยกับผู้ประกอบการกลุ่มยานยนต์ ก็คิดว่ามีโอกาสมากที่จะขยายกำลังการลผลิตในประเทศจาก 1 ล้านคันเป็น 2 ล้านคัน เพื่อส่งออกในอนาคต หรือขยายฐานผลิตไปยังรถยนต์ไฟฟ้า