ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางความผันผวนในเดือนมีนาคม โดย MSCI World Index ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าที่ 6.0% โดยในเดือนนี้ตลาดการเงินเผชิญกับความกดดันมากขึ้นต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาด และความกังวลว่านโยบายการคลังฉบับใหม่ที่อาจจะเป็นเม็ดเงินมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์จะส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดตราสารหนี้ รวมถึงสะท้อนความกังวลของตลาดว่า Fed อาจจะถอนการผ่อนคลายของนโยบายการเงินเร็วขึ้น ทำให้ตลาดหุ้น Nasdaq ที่ดัชนีประกอบไปด้วยหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตเร็วเป็นสัดส่วนสูงมีการปรับฐาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่ำในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหุ้นในกลุ่มภาคการเงิน หรือ กลุ่มธุรกิจสินค้าที่เป็น Commodity ที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ยังคงจำกัดอยู่เพียงในตลาดการเงิน ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐานนั้น เศรษฐกิจโลกยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และการแจกจ่ายวัคซีนเป็นวงกว้างจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังต้องมีการใช้มาตรการ Lockdown อยู่ จากการแพร่ระบาดที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้า ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น จะได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เข้ามาช่วยหนุนเศรษฐกิจ รวมถึงกำลังเสนอแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มาเพิ่ม ดังนั้น เศรษฐกิจโลกจึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ ดังนั้น ถ้าหาก Bond Yield สหรัฐฯ สามารถหาจุดสมดุลใหม่และเริ่มมีเสถียรภาพได้ ตลาดหุ้นทั่วโลกจึงยังมีโอกาสกลับมาปรับขึ้นได้ จากระดับ Valuation ที่เริ่มทรงตัว และผลประกอบการที่จะปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวม
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนมีนาคม นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นเดือนที่ 3 แต่มูลค่าสุทธิเพียงแค่ 68 ล้านบาท ด้านปัจจัยในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยใหม่หนุน โดยยังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่สูง ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมถึงได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดหาและการแจกจ่ายวัคซันที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนให้ภาคการท่องเที่ยวและการบริการกลับมาช่วยหนุนเศรษฐกิจได้ในครึ่งปีหลัง
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจะยังหนุนผลประกอบการของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พลังงาน ธนาคาร และพาณิชย์ ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนสูงในอุตสาหกรรมดังกล่าว และได้รับผลกระทบต่อการปรับตัวขึ้นของ Bond Yield จำกัดในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว โดยถ้าหากแนวโน้มคาดการณ์ผลประกอบการของตลาดปรับดีขึ้น จึงจะเพิ่มความน่าสนใจในเชิง Valuation การลงทุนยังคงเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี ที่ราคาไม่สูงเกินไป ในหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclicals
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางความผันผวนในเดือนมีนาคม โดย MSCI World Index ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าที่ 6.0% โดยในเดือนนี้ตลาดการเงินเผชิญกับความกดดันมากขึ้นต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาด และความกังวลว่านโยบายการคลังฉบับใหม่ที่อาจจะเป็นเม็ดเงินมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์จะส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดตราสารหนี้ รวมถึงสะท้อนความกังวลของตลาดว่า Fed อาจจะถอนการผ่อนคลายของนโยบายการเงินเร็วขึ้น ทำให้ตลาดหุ้น Nasdaq ที่ดัชนีประกอบไปด้วยหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตเร็วเป็นสัดส่วนสูงมีการปรับฐาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่ำในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหุ้นในกลุ่มภาคการเงิน หรือ กลุ่มธุรกิจสินค้าที่เป็น Commodity ที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ยังคงจำกัดอยู่เพียงในตลาดการเงิน ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐานนั้น เศรษฐกิจโลกยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และการแจกจ่ายวัคซีนเป็นวงกว้างจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังต้องมีการใช้มาตรการ Lockdown อยู่ จากการแพร่ระบาดที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้า ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น จะได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เข้ามาช่วยหนุนเศรษฐกิจ รวมถึงกำลังเสนอแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มาเพิ่ม ดังนั้น เศรษฐกิจโลกจึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ ดังนั้น ถ้าหาก Bond Yield สหรัฐฯ สามารถหาจุดสมดุลใหม่และเริ่มมีเสถียรภาพได้ ตลาดหุ้นทั่วโลกจึงยังมีโอกาสกลับมาปรับขึ้นได้ จากระดับ Valuation ที่เริ่มทรงตัว และผลประกอบการที่จะปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวม
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนมีนาคม นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเป็นเดือนที่ 3 แต่มูลค่าสุทธิเพียงแค่ 68 ล้านบาท ด้านปัจจัยในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยใหม่หนุน โดยยังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่สูง ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมถึงได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดหาและการแจกจ่ายวัคซันที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนให้ภาคการท่องเที่ยวและการบริการกลับมาช่วยหนุนเศรษฐกิจได้ในครึ่งปีหลัง
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตัวเลขเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจะยังหนุนผลประกอบการของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พลังงาน ธนาคาร และพาณิชย์ ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนสูงในอุตสาหกรรมดังกล่าว และได้รับผลกระทบต่อการปรับตัวขึ้นของ Bond Yield จำกัดในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว โดยถ้าหากแนวโน้มคาดการณ์ผลประกอบการของตลาดปรับดีขึ้น จึงจะเพิ่มความน่าสนใจในเชิง Valuation การลงทุนยังคงเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี ที่ราคาไม่สูงเกินไป ในหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclicals