BF Economic Research
ภาพรวมการส่งออกเดือน มี.ค.
- การส่งออกเดือน มี.ค. มีมูลค่า 24,222.45 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 8.47% YoY โดยมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2018 โดยมีปัจจัยบวกจากการกระจายวัคซีนในวงกว้าง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก
- ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัยแล้ว การส่งออกขยายตัว 11.97% YoY สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
- ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 14.12% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 710.80 ล้านดอลลาร์ฯ
- สำหรับภาพรวมไตรมาส 1/64 การส่งออกมีมูลค่า 64,148.03 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 2.27% YoY YTD และการนำเข้ามีมูลค่ารวม 63,632.37 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 9.37% YoY YTD ส่งผลให้เกินดุลการค้าเกินดุลที่ 515.66 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกรายสินค้า
- การส่งออกไทยขยายตัวได้ดีในเดือนมี.ค. หลักๆมาจากออเดอร์รถยนต์จากออสเตรเลียเป็นหลักที่ขยายตัว 84% YoY
- การส่งออกไปสหรัฐฯ และจีน ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะออเดอร์จากจีนที่ขยายตัว 35.38% YoY โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดีคือ โพลีเมอร์ แป้งมัน ผลิตภัณฑ์จากยาง เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และ ทองแดงสำหรับออเดอร์จากสหรัฐฯ ที่ขยายตัวได้ดีได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากยาง ยานยนต์ เหล็ก และเครื่องปรับอากาศ
- ไทยได้รับออเดอร์สินค้าจากอินเดียเพิ่มขึ้น 28.3% YoY จาก โพลีเมอร์ อัญมณี เครื่องปรับอากาศ และ ทองแดง
- ไทยได้รับออเดอร์แผงวงจร IC ที่เติบโตต่อเนื่อง จากฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้
- โดยสรุป สินค้าที่เป็น Growth Contribution (และ/หรือ) สินค้าที่มีอัตราการขยายตัวโดดเด่น ของไทยในเดือนมี.ค. คือ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์จากยาง โพลีเมอร์ เครื่องปรับอากาศ เหล็ก และทองแดง (แปลว่าประเทศไทยได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้นตาม Global Export Trend)