ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน เม.ย. โดย MSCI World Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างอ่อนแอกว่าในช่วงเดียวกัน จากปัจจัยการแพร่ระบาดในประเทศระลอก 3 โดยดัชนี SET Index ปรับตัวลดลง 0.26% จากสิ้นเดือน มี.ค.
บรรยากาศการลงทุนโดยภาพรวมของโลก ยังคงหนุนด้วยภาพเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น
สำหรับความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของบอนด์ยีลด์ (Bond Yield) สหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้านั้นดูมีความคลายตัวลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯทรงตัวดีขึ้น หลังจากที่นักลงทุนในตลาดต่างประเทศได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนตราสารหนี้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ในอดีต ด้าน Fed ยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก
ด้านแนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2 นี้ ตลาดหุ้นโลกยังมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางเชิงบวก จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก จะช่วยให้เศรษฐกิจมีโอกาสกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในระยะข้างหน้าได้เร็วกว่าที่คาด รวมทั้งการออกแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (The American Jobs Plan) เป็นจำนวน 2.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการประกาศนโยบายทางด้านการสุขภาพครอบครัวและการศึกษา (The American Families Plan) เป็นจำนวนถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้แนวโน้มการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้มีโอกาสปรับดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี ตลาดหุ้นอาจเริ่มเผชิญกับความผันผวนมากขึ้น จากการเริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE Taper) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ก่อนที่จะดำเนินการจริงในปีหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงแผนการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่จะเข้าพิจารณาในสภาในไตรมาส 3
อย่างไรก็ดี สภาพคล่องทางการเงินโดยภาพรวมก็ยังมีความผ่อนคลายอยู่มาก ทำให้ระดับ Multiple ของ PE จะยังมีแรงหนุนอยู่ โดยถ้าหากผลประกอบการของตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้ดีอย่างต่อเนื่อง ก็จะยังทำให้ตลาดหุ้นโดยภาพรวมยังคงปรับตัวในทิศทางเชิงบวกได้
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ประมาณ 3.3 พันล้านบาท โดยปัจจัยในประเทศนั้น มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นระลอกที่ 3 ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่า 2 ระลอกแรกมาก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งขึ้นสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆที่กำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับสู่ระดับปกติเกิดการสะดุดขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นตามระดับในพื้นที่ต่างๆ และความคืบหน้าในการจัดหาวัคซีนที่มีความชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องนั้น ทำให้ยังมีความหวังว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในอนาคตอันใกล้
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า เนื่องจากระดับมูลค่าพื้นฐาน (Valuation) ของตลาดโดยรวมมีความตึงตัว จึงควรให้น้ำหนักกับหุ้นที่ผลประกอบการมีโอกาสที่จะดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ได้แก่ หุ้นกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมีมูลค่าพื้นฐานที่ไม่สูงจนเกินไป ซึ่งมีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มประมาณการกำไรและระดับมูลค่าพื้นฐานได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจะต้องเฝ้าระวังอัตราเร่งตัวและระยะเวลาของการแพร่ระบาดในประเทศอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ที่นานกว่าคาดจะทำให้ตลาดมีความเสี่ยงในการปรับฐานเพิ่มขึ้น
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน เม.ย. โดย MSCI World Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างอ่อนแอกว่าในช่วงเดียวกัน จากปัจจัยการแพร่ระบาดในประเทศระลอก 3 โดยดัชนี SET Index ปรับตัวลดลง 0.26% จากสิ้นเดือน มี.ค.
บรรยากาศการลงทุนโดยภาพรวมของโลก ยังคงหนุนด้วยภาพเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น
สำหรับความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของบอนด์ยีลด์ (Bond Yield) สหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้านั้นดูมีความคลายตัวลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯทรงตัวดีขึ้น หลังจากที่นักลงทุนในตลาดต่างประเทศได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนตราสารหนี้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ในอดีต ด้าน Fed ยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก
ด้านแนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2 นี้ ตลาดหุ้นโลกยังมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางเชิงบวก จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก จะช่วยให้เศรษฐกิจมีโอกาสกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในระยะข้างหน้าได้เร็วกว่าที่คาด รวมทั้งการออกแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (The American Jobs Plan) เป็นจำนวน 2.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการประกาศนโยบายทางด้านการสุขภาพครอบครัวและการศึกษา (The American Families Plan) เป็นจำนวนถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้แนวโน้มการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้มีโอกาสปรับดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี ตลาดหุ้นอาจเริ่มเผชิญกับความผันผวนมากขึ้น จากการเริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE Taper) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ก่อนที่จะดำเนินการจริงในปีหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงแผนการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่จะเข้าพิจารณาในสภาในไตรมาส 3
อย่างไรก็ดี สภาพคล่องทางการเงินโดยภาพรวมก็ยังมีความผ่อนคลายอยู่มาก ทำให้ระดับ Multiple ของ PE จะยังมีแรงหนุนอยู่ โดยถ้าหากผลประกอบการของตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้ดีอย่างต่อเนื่อง ก็จะยังทำให้ตลาดหุ้นโดยภาพรวมยังคงปรับตัวในทิศทางเชิงบวกได้
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ประมาณ 3.3 พันล้านบาท โดยปัจจัยในประเทศนั้น มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นระลอกที่ 3 ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่า 2 ระลอกแรกมาก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งขึ้นสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆที่กำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับสู่ระดับปกติเกิดการสะดุดขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นตามระดับในพื้นที่ต่างๆ และความคืบหน้าในการจัดหาวัคซีนที่มีความชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องนั้น ทำให้ยังมีความหวังว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในอนาคตอันใกล้
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า เนื่องจากระดับมูลค่าพื้นฐาน (Valuation) ของตลาดโดยรวมมีความตึงตัว จึงควรให้น้ำหนักกับหุ้นที่ผลประกอบการมีโอกาสที่จะดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ได้แก่ หุ้นกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมีมูลค่าพื้นฐานที่ไม่สูงจนเกินไป ซึ่งมีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มประมาณการกำไรและระดับมูลค่าพื้นฐานได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจะต้องเฝ้าระวังอัตราเร่งตัวและระยะเวลาของการแพร่ระบาดในประเทศอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ที่นานกว่าคาดจะทำให้ตลาดมีความเสี่ยงในการปรับฐานเพิ่มขึ้น