By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์
BF Knowledge Center
NIM เป็นตัวเลขที่นักวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารกล่าวถึงบ่อยๆ บางทีก็เรียกว่า Spread คือส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้และรายจ่ายดอกเบี้ยให้ผุ้ฝากเงิน โดยจะคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ เทียบรายได้ดอกเบี้ยกับสินเชื่อ และรายจ่ายดอกเบี้ยกับยอดเงินฝาก
NIM คือกำไรเบื้องต้นที่ธนาคารทำได้จากธุรกิจหลักคือการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารที่มี NIM สูง จึงแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสูง ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร การตั้งสำรอง NPL และรายได้จากค่าธรรมนียมต่างๆ
ปัจจัยที่กำหนด NIM ได้แก่ ต้นทุนในการรับฝากเงินหรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และสัดส่วนเงินฝากแต่ละประเภท รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และสัดส่วนสินเชื่อประเภทต่างๆ ประเภทเงินฝากและสินเชื่อขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละธนาคาร ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก/เงินกู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของธนาคารและปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง
ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตดี อัตราดอกเบี้ยต่างๆ จะปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารจะมี NIM ที่สูงขึ้น เนื่องจากสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้เยเงินกู้ได้เร็วกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก จึงสามารถทำกำไรได้ดี ในช่วงเศรษฐกิจชลอตัวหรือถดถอย ธนาคารต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามทิศทางดอกเบี้ยที่ลดลง แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีอยู่จะปรับลดลงได้เมื่อครบอายุ ทำให้ NIM ลดลง ความสามารถในการทำกำไรจึงลดลง หากมีการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ก็จะทำให้กำไรสุทธิต่ำลง