ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือนมิ.ย. ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% นำโดยตลาดสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ และตลาดยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือน
ปัจจัยที่ตลาดจับตามองในเดือนนี้คือ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจากผลการประชุม Fed แม้ว่าจะยังคงมุมมองการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น แต่ Dot Plot ชี้ว่า ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ นำมาซึ่งความกังวลต่อการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ของ Fed ที่อาจจะเร็วขึ้น ส่งผลให้กดดันบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงตลาดทองคำ แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม High growth ซึ่งราคาปรับลดลงมาก ซึ่งสะท้อนความกังวลของ Bond yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว
ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจึงอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังนโยบายการเงินและการคลังของประเทศหลัก เริ่มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าคาด ขณะที่อุปทานสินค้าบางกลุ่มมีไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ และส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าในช่วงครึ่งหลังของปีภาคการผลิตและแรงงานเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อก็มีโอกาสปรับตัวลดลง ทั้งนี้ โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯและจีนมีแนวโน้มเข้าใกล้จุดที่เติบโตสูงสุด (จากฐานต่ำ) และจะเริ่มชะลอตัวลงเข้าสู่ภาวะปกติ การฟื้นตัวจากประเทศอื่นๆทั่วโลกจึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับแรงส่งของเศรษฐกิจโลกในช่วงหลังจากนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปิดทรงตัว โดยปรับลดลง 0.4% ตลาดถูกกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังทรงตัวอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการกลับมาใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการจัดหาและแจกจ่ายวัคซีนที่ยังช้ากว่าที่หลายฝ่ายประมาณการ ทำให้การเปิดประเทศเต็มรูปแบบอาจต้องเลื่อนออกไปถึงปีหน้า
ขณะที่ปัจจัยภายนอก ผลจากการประชุมของ Fed ส่งผลกดดันบรรยากาศการลงทุนและกระแสเงินลงทุน โดยในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องที่ 1 หมื่นล้านบาท ในอดีต การทำ QE Tapering ของ Fed นั้น ตั้งแต่เริ่มส่งสัญญาณ ส่งผลให้กดดันตลาดหุ้นไทยและกระแสเงินลงทุนไหลออก อย่างไรก็ดี หลายปีที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุนไม่ได้ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย รวมถึงภูมิภาคอาเซียนมากเหมือนครั้งก่อน รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็แข็งแกร่งขึ้นมาก ผลกระทบต่อตลาดจึงอาจไม่ได้มากเหมือนรอบที่ผ่านมา และถ้าหากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวสามารถกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น ก็จะช่วยหนุนสภาพคล่องของเศรษฐกิจไทยได้
ดังนั้น ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนการลงทุนจึงอยู่ที่ปัจจัยพื้นฐานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการรายอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยถ้าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยรวมสามารถควบคุมได้ดี สามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนได้ในวงกว้างมากขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้กลับมาเปิดเศรษฐกิจและเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เต็มรูปแบบ รวมถึง กำไรบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้นตัวกลับมาดีขึ้น จะเพิ่มความน่าสนใจสำหรับ Fund Flow ต่างชาติมากขึ้น กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยยังต้องติดตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือนมิ.ย. ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% นำโดยตลาดสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ และตลาดยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือน
ปัจจัยที่ตลาดจับตามองในเดือนนี้คือ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจากผลการประชุม Fed แม้ว่าจะยังคงมุมมองการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น แต่ Dot Plot ชี้ว่า ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ นำมาซึ่งความกังวลต่อการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ของ Fed ที่อาจจะเร็วขึ้น ส่งผลให้กดดันบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงตลาดทองคำ แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม High growth ซึ่งราคาปรับลดลงมาก ซึ่งสะท้อนความกังวลของ Bond yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว
ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจึงอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังนโยบายการเงินและการคลังของประเทศหลัก เริ่มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าคาด ขณะที่อุปทานสินค้าบางกลุ่มมีไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ และส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าในช่วงครึ่งหลังของปีภาคการผลิตและแรงงานเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อก็มีโอกาสปรับตัวลดลง ทั้งนี้ โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯและจีนมีแนวโน้มเข้าใกล้จุดที่เติบโตสูงสุด (จากฐานต่ำ) และจะเริ่มชะลอตัวลงเข้าสู่ภาวะปกติ การฟื้นตัวจากประเทศอื่นๆทั่วโลกจึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับแรงส่งของเศรษฐกิจโลกในช่วงหลังจากนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปิดทรงตัว โดยปรับลดลง 0.4% ตลาดถูกกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังทรงตัวอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการกลับมาใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการจัดหาและแจกจ่ายวัคซีนที่ยังช้ากว่าที่หลายฝ่ายประมาณการ ทำให้การเปิดประเทศเต็มรูปแบบอาจต้องเลื่อนออกไปถึงปีหน้า
ขณะที่ปัจจัยภายนอก ผลจากการประชุมของ Fed ส่งผลกดดันบรรยากาศการลงทุนและกระแสเงินลงทุน โดยในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องที่ 1 หมื่นล้านบาท ในอดีต การทำ QE Tapering ของ Fed นั้น ตั้งแต่เริ่มส่งสัญญาณ ส่งผลให้กดดันตลาดหุ้นไทยและกระแสเงินลงทุนไหลออก อย่างไรก็ดี หลายปีที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุนไม่ได้ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย รวมถึงภูมิภาคอาเซียนมากเหมือนครั้งก่อน รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็แข็งแกร่งขึ้นมาก ผลกระทบต่อตลาดจึงอาจไม่ได้มากเหมือนรอบที่ผ่านมา และถ้าหากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวสามารถกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น ก็จะช่วยหนุนสภาพคล่องของเศรษฐกิจไทยได้
ดังนั้น ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนการลงทุนจึงอยู่ที่ปัจจัยพื้นฐานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการรายอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยถ้าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยรวมสามารถควบคุมได้ดี สามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนได้ในวงกว้างมากขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้กลับมาเปิดเศรษฐกิจและเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เต็มรูปแบบ รวมถึง กำไรบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้นตัวกลับมาดีขึ้น จะเพิ่มความน่าสนใจสำหรับ Fund Flow ต่างชาติมากขึ้น กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยยังต้องติดตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง