BF Economic Research
GDP ไทยในไตรมาสที่ 2/2021 ขยายตัว 7.5% (vs. cons. 6.4%) เร่งตัวขึ้นจาก 2.6% ในไตรมาส 1/2021 เนื่องจากผลของฐานต่ำไตรมาสที่ 2/2020 หดตัว -12.1% (หมายความว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสสองปีนี้สามารถฟื้นขึ้นมาได้ครึ่งหนึ่งจากที่หดตัวไปเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว)
ด้านการผลิต การผลิตภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.0% YoY หนุนโดยข้าวเปลือก ยางพารา และมันสําปะหลัง โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับอานิสงส์ด้านราคาที่ปรับตัวขึ้นได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง สุกร และสินค้าประมง นอกจากนี้ การผลิตนอกภาคเกษตรก็ขยายตัวเช่นเดียวกัน โดยภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เร่งตัวขึ้น 14.2% และ 5.0% ปรับตัวดีขึ้นจาก 0.3% และ 4.3% ในไตรมาสก่อน
ด้านการใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 4.6% และ 8.1% เนื่องจากฐานต่ำปีก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลชะลอตัว การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 27.5% จากที่หดตัว -10.5% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การนําเข้าสินค้าและบริการขยายตัว 31.4% จาก 1.7% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2021 ขยายตัว 0.4% QoQ SA (vs. cons. -1.4%) จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.2%
ข้อสังเกต GDP ไตรมาส 2/2021
- การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวค่อนข้างดี หนุนโดยการลงทุนในเครื่องมือและเครื่องจักรเป็นหลัก (เราพยายามคิดว่าทำไมเอกชนจึงจะมาซื้อเครื่องมือเครื่องจักรตอนนี้ ถ้าจะมีความเป็นไปได้ อาจจะซื้อเครื่องมือเครื่องจักรสำหรับเพิ่มกำลังการผลิตในกลุ่ม Auto/Semiconductor กับมีกระแสข่าวว่า ธุรกิจผลิตยากลุ่มเสตียรอยด์ Dexamethasone ซึ่งเป็นกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้นมากจากองค์การฯ อาจจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตในตอนนี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตยาอื่นๆที่ใช้รักษา COVID-19 ด้วย)
- สินค้าคงคลังเป็นหนึ่งใน Contributor หลักของ GDP โดยกลุ่มธุรกิจที่สินค้าคงคลังปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องประดับ อัญมณี พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และยานยนต์
- กลุ่มอุตสาหกรรมเบาขยายตัวได้ดีเช่นกัน ได้แก่ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ตามที่ SCGP Guide) เคมีและเคมีภัณฑ์ โลหะมูลฐาน โลหะประดิษฐ์ เภสัชภัณฑ์ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อโลหะ ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก และการพิมพ์ คิดว่ากลุ่มนี้ได้อานิสงส์จากออเดอร์ส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
- สาขาที่พักโรงแรม/บริการร้านอาหาร ปรับตัวดีขึ้นทั้งบริการที่พักแรม และบริการด้านอาหาร ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำจากคำสั่งปิดกิจการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรค COVID-19 ในไตรมาสที่ 2/2021 ปัจจัยสนับสนุนหลักในไตรมาส 2/2021 มาจากการเดินทาง ท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ประชาชนยังสามารถดำเนินกิจกรรมได้ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.
- มองไปข้างหน้าคิดว่ากลุ่มธุรกิจที่จะยังไปได้ต่อในไตรมาส 3/2021 น่าจะยังเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนการท่องเที่ยวน่าจะต้องวัดกันว่าโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวภาคใต้จะสามารถหนุนกลุ่มธุรกิจนี้ให้ไปต่อได้หรือไม่
- ทั้งนี้ NESDB มองว่า GDP ปี 2021 จะขยายตัวดังนี้