กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

Highlight

  •  ในไตรมาส2/2021  ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) และหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ (biopharma large cap) ทำผลงานได้ดีที่สุด ในขณะที่หุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก (biopharma small cap) และหุ้นบริการด้านสุขภาพทำผลงานได้น้อยที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมา
  • กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการแพทย์ที่ยังมีอุปทานไม่เพียงพอ โดยในระยะยาวเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น สังคมสูงวัย และความต้องการด้านการแพทย์แผนตะวันตกที่ทันสมัยจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโต

ภาพรวมตลาด

  • ในไตรมาส 2/2021  ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% จากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) และหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ (biopharma large cap) ทำผลงานได้ดีที่สุด ในขณะที่หุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก (biopharma small cap) และหุ้นบริการด้านสุขภาพทำผลงานได้น้อยที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมาพอร์ตการลงทุน
  • ไตรมาส 2/2021 กองทุนให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่ยังน้อยกว่าดัชนีชี้วัด สาเหตุสำคัญมาจากการลงทุนโดยเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up ทำให้กองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มชีวเภสัชภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมากกว่าดัชนีชี้วัด (ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลไกสำคัญให้พอร์ตการลงทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีในหลายปีที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตาม กองทุนได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นบริการด้านสุขภาพลงซึ่งส่งผลดีกับพอร์ต
  • เมื่อดูรายบริษัทพบว่า ปัจจัยบวกสำคัญ 2 ประการที่มีผลต่อพอร์ต ได้แก่ การลดสัดส่วนการลงทุนใน Johnson & Johnson ซึ่งราคาปรับตัวขึ้นมาแล้ว และการลงทุนใน Verve Thera หุ้น IPO ในเดือนมิ.ย. เน้นการรักษาด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนปัจจัยลบมาจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Daiichi Sankyo บริษัทญี่ปุ่นที่มีนวัตกรรมการรักษามะเร็งชั้นนำของโลก ราคาปรับตัวลงตามตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่กังวลการแพร่ระบาดโควิด และการที่กองทุนไม่ได้เข้าสะสมหุ้น Moderna
  • กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมการแพทย์ที่ยังมีอุปทานไม่เพียงพอ โดยในระยะยาวเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น สังคมสูงวัย และความต้องการด้านการแพทย์แผนตะวันตกที่ทันสมัยจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์เติบโตมุมมองในอนาคต
  • คาดว่าการระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจ แต่ทางกองทุนหลักยังคงมุมมองเป็นบวกเนื่องจากคาดว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้จัดการกองทุนได้มีการติดตามสถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกอย่างใกล้ชิด
  • สถานการณ์โควิดทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การแพทย์ยังคงมีแนวโน้มเติมโต การใช้งานเครื่องมือแพทย์และการใช้บริการโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จึงมองว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากการทำหัตถการในการดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
  • ผู้จัดการกองทุนแสวงหาบริษัทที่มีนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์การรักษาแบบใหม่ และมั่นใจว่าในระยะยาวแล้ว ปัจจัยด้านการพัฒนานวัตกรรม การเป็นสังคมสูงอายุ และดีมานด์ต่อยาที่ทันสมัยอยู่เสมอ จะเป็นแรงผลักดันให้การลงทุนด้านสุขภาพมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานของกองทุน BCARE และ BCARERMF ณ 30 ก.ค. 2564

ข้อมูลกองทุนหลัก : Wellington Global Health Care Equity Fund ณ 30 ก.ค. 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต