ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจนถึงพันธบัตรอายุไม่เกิน 6 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -8 ถึง +1 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 7 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +5 bps โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยมีกรรมการ 2 เสียงเสนอให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ทำให้นักลงทุนบางส่วนคาดว่า กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป จึงมีแรงซื้อในพันธบัตรระยะสั้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค. และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากโควิด-19 เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเน้นย้ำการดำเนินนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ธปท. ยังขยายระยะเวลาการลดอัตราส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ไว้ที่ 0.23% ไปจนถึงสิ้นปี 2565 จึงอาจทำให้มีโอกาสน้อยลงที่ ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. ในวันที่ 29 ก.ย. นี้
ขณะที่การประชุมที่ Jackson Hole เมื่อวันที่ 27 ส.ค. นาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวว่า Fed จะเริ่มปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปีนี้ แต่ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประธาน Fed ยังกล่าวอย่างชัดเจนว่าช่วงเวลาและความเร็วของการลดวงเงิน QE ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับช่วงเวลาที่จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการประชุมของ Fed ในเดือน ก.ค. ที่เปิดเผยออกมาในช่วงก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยสูงถึง 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 2.9 หมื่นล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 1.8 หมื่นล้านบาท
ด้านการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค. ได้แก่ สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP ไตรมาส 2 ขยายตัว +7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว -2.6% ในไตรมาส 1 โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากการส่งออกที่ฟื้นตัวและผลของฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯ ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.5-2.5% เหลือ 0.7-1.2%
ขณะที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -0.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยสำคัญมาจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล ราคาอาหารสดลดลง และราคาพลังงานขยายตัวชะลอลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ +0.07% ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 0.73% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 0.23%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประกาศปริมาณการออกพันธบัตร (Bond Supply) สำหรับปีงบประมาณ 2565 ของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) การประชุม Fed ในวันที่ 21-22 ก.ย. ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการส่งสัญญาณเบื้องต้นของการลดวงเงิน QE การประชุม กนง. ของไทยในวันที่ 29 ก.ย. ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศหลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจนถึงพันธบัตรอายุไม่เกิน 6 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -8 ถึง +1 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 7 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +5 bps โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยมีกรรมการ 2 เสียงเสนอให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ทำให้นักลงทุนบางส่วนคาดว่า กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป จึงมีแรงซื้อในพันธบัตรระยะสั้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค. และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากโควิด-19 เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเน้นย้ำการดำเนินนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ธปท. ยังขยายระยะเวลาการลดอัตราส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ไว้ที่ 0.23% ไปจนถึงสิ้นปี 2565 จึงอาจทำให้มีโอกาสน้อยลงที่ ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. ในวันที่ 29 ก.ย. นี้
ขณะที่การประชุมที่ Jackson Hole เมื่อวันที่ 27 ส.ค. นาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวว่า Fed จะเริ่มปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปีนี้ แต่ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประธาน Fed ยังกล่าวอย่างชัดเจนว่าช่วงเวลาและความเร็วของการลดวงเงิน QE ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับช่วงเวลาที่จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการประชุมของ Fed ในเดือน ก.ค. ที่เปิดเผยออกมาในช่วงก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยสูงถึง 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 2.9 หมื่นล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 1.8 หมื่นล้านบาท
ด้านการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค. ได้แก่ สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP ไตรมาส 2 ขยายตัว +7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว -2.6% ในไตรมาส 1 โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากการส่งออกที่ฟื้นตัวและผลของฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯ ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.5-2.5% เหลือ 0.7-1.2%
ขณะที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -0.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยสำคัญมาจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล ราคาอาหารสดลดลง และราคาพลังงานขยายตัวชะลอลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ +0.07% ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 0.73% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 0.23%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประกาศปริมาณการออกพันธบัตร (Bond Supply) สำหรับปีงบประมาณ 2565 ของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) การประชุม Fed ในวันที่ 21-22 ก.ย. ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการส่งสัญญาณเบื้องต้นของการลดวงเงิน QE การประชุม กนง. ของไทยในวันที่ 29 ก.ย. ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศหลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์