อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ธ.ค. 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -1 ถึง 0 bps อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-14 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -4 ถึง +13 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น +3 ถึง +5 bps
ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงปรับลดวงเงิน QE เร็วขึ้น โดยจะปรับลดวงเงิน QE เดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนม.ค. 2565 เป็นต้นไป หลังจากที่ในเดือน พ.ย. 2564 เฟดได้ปรับลดวงเงิน QE ไปแล้วเดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากแผนการปรับลดวงเงิน QE ในครั้งนี้จะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 2565
นอกจากนี้จากประมาณการการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Dot Plot) คณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่ประมาณการการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าว (hawkish) ขึ้นเมื่อเทียบกับ Fed Dot Plot ในเดือนก.ย. 2564 ประกอบกับตัวเลขการว่างงานประจำเดือน พ.ย. 2564 ที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 4.2% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน
อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีการปรับตัวลดลงในระยะเวลาหนึ่งหลังสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 260,000 ล้านบาท ลดลงจากวงเงิน 273,000 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1
ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 8-1 เสียงประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.1% ต่อปี สู่ระดับ 0.25% ต่อปี เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งสร้างความประหลาดใจต่อตลาดการเงิน
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ต่อปี และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ต่อปี
ขณะเดียวกัน ECB ระบุว่า ธนาคารจะซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) วงเงิน 40,000 ล้านยูโรต่อเดือนในไตรมาส 2 ของปี 2565 และลดวงเงินสู่ระดับ 30,000 ล้านยูโรในไตรมาส 3 และในเดือน ต.ค. 2565 จะปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรสู่ระดับ 20,000 ล้านยูโรต่อเดือน และจะซื้อพันธบัตรนานเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพคล่องในตลาด นอกจากนี้ ECB จะลดวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) และจะยุติโครงการดังกล่าวในเดือน มี.ค.2565
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลางจะยังทรงตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากแผนการออกตราสารหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในไตรมาสที่เหลือสำหรับปีงบประมาณ 2565 ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากสองไตรมาสแรก ทั้งนี้ในเดือนม.ค. มีปัจจัยที่น่าจับตามองไม่ว่าจะเป็นการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันที่ 17-18 ม.ค. 2565, การประชุมเฟดวันที่ 25-26 ม.ค. 2565 และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ธ.ค. 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -1 ถึง 0 bps อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-14 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -4 ถึง +13 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น +3 ถึง +5 bps
ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงปรับลดวงเงิน QE เร็วขึ้น โดยจะปรับลดวงเงิน QE เดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนม.ค. 2565 เป็นต้นไป หลังจากที่ในเดือน พ.ย. 2564 เฟดได้ปรับลดวงเงิน QE ไปแล้วเดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากแผนการปรับลดวงเงิน QE ในครั้งนี้จะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 2565
นอกจากนี้จากประมาณการการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Dot Plot) คณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่ประมาณการการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าว (hawkish) ขึ้นเมื่อเทียบกับ Fed Dot Plot ในเดือนก.ย. 2564 ประกอบกับตัวเลขการว่างงานประจำเดือน พ.ย. 2564 ที่ลดลงมาอยู่ในระดับ 4.2% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน
อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีการปรับตัวลดลงในระยะเวลาหนึ่งหลังสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 260,000 ล้านบาท ลดลงจากวงเงิน 273,000 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1
ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 8-1 เสียงประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.1% ต่อปี สู่ระดับ 0.25% ต่อปี เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งสร้างความประหลาดใจต่อตลาดการเงิน
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ต่อปี และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ต่อปี
ขณะเดียวกัน ECB ระบุว่า ธนาคารจะซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) วงเงิน 40,000 ล้านยูโรต่อเดือนในไตรมาส 2 ของปี 2565 และลดวงเงินสู่ระดับ 30,000 ล้านยูโรในไตรมาส 3 และในเดือน ต.ค. 2565 จะปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรสู่ระดับ 20,000 ล้านยูโรต่อเดือน และจะซื้อพันธบัตรนานเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพคล่องในตลาด นอกจากนี้ ECB จะลดวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) และจะยุติโครงการดังกล่าวในเดือน มี.ค.2565
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลางจะยังทรงตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากแผนการออกตราสารหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในไตรมาสที่เหลือสำหรับปีงบประมาณ 2565 ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากสองไตรมาสแรก ทั้งนี้ในเดือนม.ค. มีปัจจัยที่น่าจับตามองไม่ว่าจะเป็นการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันที่ 17-18 ม.ค. 2565, การประชุมเฟดวันที่ 25-26 ม.ค. 2565 และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน