ตลาดหุ้นโลกผันผวนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของปี 2022 ก่อนการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือน และปิดเดือนมกราคมด้วยการปรับตัวลดลง 5.0% โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งเป็นไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนมีนาคม พร้อมยุติมาตรการการผ่อนคลายทางการเงิน QE ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดได้เริ่มคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แต่ยังมีความไม่ชัดเจนต่อขนาดของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้และประเด็นการลดขนาดงบดุล ซึ่งจะเป็นการดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาด ส่งผลให้นักลงทุนมีการลดความเสี่ยงในหลายตลาดสินทรัพย์เสี่ยง
แต่หลังจากการปรับตัวลดลงแรง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ราคาหุ้นทั่วโลกจึงเริ่มปรับตัวขึ้นได้บ้างเนื่องจากได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวไปมากแล้ว ทั้งนี้ ท่าทีของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าจะยังคงเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญ
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนนี้ Composite PMI เบื้องต้น เดือน ม.ค. ของประเทศหลักปรับตัวลง โดยของสหรัฐฯอยู่ที่ 50.8 จุด ต่ำสุดตั้งแต่ ก.ค. 2020 และของยูโรโซนที่ 52.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน โดยสหรัฐฯนั้นยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่การผลิตและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และยูโรโซนได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของภาคบริการ จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อจากทั้ง 2 เศรษฐกิจหลักออกมาเร่งตัว หนุนความเข้มงวดทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ด้านเศรษฐกิจจีน ภาคการผลิตและการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจากมาตรการควมคุมการแพร่ระบาดที่ยังคงเข้มงวด
อย่างไรก็ดี ทางการจีนได้ออกมาส่งสัญญาณนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวม แม้ว่าเศรษฐกิจประเทศหลักจะเริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้างนั้น ยังคงมีแนวโน้มหนุนเศรษฐกิจโลกให้อยู่ในโมเมนตัมเชิงบวกได้
โดย IMF ได้คาดการณ์ GDP โลกปี 2022 นี้ไว้ที่ 4.4% ลดลงจากปี 2021 ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า แม้ว่าปัจจัยเรื่องทิศทางของนโยบายการเงินจะยังคงมีความสำคัญ แต่คาดว่าผลประกอบการที่จะประกาศออกมา จะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นต่อทิศทางการปรับตัวขึ้นของดัชนี โดยก่อนหน้านี้ความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทำให้ในปีนี้ ดัชนีของประเทศต่างๆจะถูกขับเคลื่อนด้วยหลายปัจจัยที่แตกต่างกันมากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโลก ปรับตัวลดลงเพียง 0.5% ในเดือนมกราคม โดยปรับขึ้นในช่วงต้นเดือนแตะระดับ 1,680 สูงสุดในรอบ 28 เดือน ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งเดือนหลัง กดดันจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวไปข้างต้น โดยปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และการกลับมาผ่อนคลายมาตรการที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะข้างหน้า เป็นความหวังของการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ทำให้หุ้นไทยสามารถปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าดัชนีหุ้นโลก โดยนักลงทุนต่างชาติได้ซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือนมกราคม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ รวมทั้งหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีจำนวนไม่มาก ขณะที่หุ้นขนาดกลางถึงเล็กในตลาด มีความร้อนแรงลดลงจากปีที่แล้วไปมาก เนื่องด้วยระดับ Valuation ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น การเปิดประเทศและการฟื้นคืนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะข้างหน้า
Fund Comment
Fund Comment มกราคม 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกผันผวนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของปี 2022 ก่อนการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือน และปิดเดือนมกราคมด้วยการปรับตัวลดลง 5.0% โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งเป็นไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนมีนาคม พร้อมยุติมาตรการการผ่อนคลายทางการเงิน QE ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดได้เริ่มคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แต่ยังมีความไม่ชัดเจนต่อขนาดของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้และประเด็นการลดขนาดงบดุล ซึ่งจะเป็นการดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาด ส่งผลให้นักลงทุนมีการลดความเสี่ยงในหลายตลาดสินทรัพย์เสี่ยง
แต่หลังจากการปรับตัวลดลงแรง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ราคาหุ้นทั่วโลกจึงเริ่มปรับตัวขึ้นได้บ้างเนื่องจากได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวไปมากแล้ว ทั้งนี้ ท่าทีของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าจะยังคงเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญ
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนนี้ Composite PMI เบื้องต้น เดือน ม.ค. ของประเทศหลักปรับตัวลง โดยของสหรัฐฯอยู่ที่ 50.8 จุด ต่ำสุดตั้งแต่ ก.ค. 2020 และของยูโรโซนที่ 52.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน โดยสหรัฐฯนั้นยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่การผลิตและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และยูโรโซนได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของภาคบริการ จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อจากทั้ง 2 เศรษฐกิจหลักออกมาเร่งตัว หนุนความเข้มงวดทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ด้านเศรษฐกิจจีน ภาคการผลิตและการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจากมาตรการควมคุมการแพร่ระบาดที่ยังคงเข้มงวด
อย่างไรก็ดี ทางการจีนได้ออกมาส่งสัญญาณนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวม แม้ว่าเศรษฐกิจประเทศหลักจะเริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้างนั้น ยังคงมีแนวโน้มหนุนเศรษฐกิจโลกให้อยู่ในโมเมนตัมเชิงบวกได้
โดย IMF ได้คาดการณ์ GDP โลกปี 2022 นี้ไว้ที่ 4.4% ลดลงจากปี 2021 ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า แม้ว่าปัจจัยเรื่องทิศทางของนโยบายการเงินจะยังคงมีความสำคัญ แต่คาดว่าผลประกอบการที่จะประกาศออกมา จะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นต่อทิศทางการปรับตัวขึ้นของดัชนี โดยก่อนหน้านี้ความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทำให้ในปีนี้ ดัชนีของประเทศต่างๆจะถูกขับเคลื่อนด้วยหลายปัจจัยที่แตกต่างกันมากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโลก ปรับตัวลดลงเพียง 0.5% ในเดือนมกราคม โดยปรับขึ้นในช่วงต้นเดือนแตะระดับ 1,680 สูงสุดในรอบ 28 เดือน ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งเดือนหลัง กดดันจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวไปข้างต้น โดยปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และการกลับมาผ่อนคลายมาตรการที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะข้างหน้า เป็นความหวังของการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ทำให้หุ้นไทยสามารถปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าดัชนีหุ้นโลก โดยนักลงทุนต่างชาติได้ซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือนมกราคม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ รวมทั้งหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีจำนวนไม่มาก ขณะที่หุ้นขนาดกลางถึงเล็กในตลาด มีความร้อนแรงลดลงจากปีที่แล้วไปมาก เนื่องด้วยระดับ Valuation ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น การเปิดประเทศและการฟื้นคืนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะข้างหน้า