มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018
ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนโดยพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวลดลง 0.01% ถึง 0.07% แต่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น 0.01% ถึง 0.09% เป็นผลมาจาก
1) ความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา
2) คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% พร้อมมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นและเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
3) คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 โดยคณะกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากมีความกังวลต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นเวลานานจะทำให้การประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้ง เชื่อว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยังคงที่อยู่ในระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี 2561 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตั้งไว้ที่ 1.00% – 4.00% ทำให้กนง.ยังไม่มีความจำเป็นที่จะลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีนี้
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคต คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะยังคงเคลื่อนไหวอย่างผันผวนจากความเสี่ยงในปัจจัยต่างประเทศทั้งเรื่องการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของกลุ่มประเทศหลัก และความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ สภาพคล่องระดับสูงในประเทศที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความผันผวนจากความเสี่ยงต่างๆภายนอกประเทศลงได้
Fund Comment
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018
ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนโดยพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวลดลง 0.01% ถึง 0.07% แต่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น 0.01% ถึง 0.09% เป็นผลมาจาก
1) ความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา
2) คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% พร้อมมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นและเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
3) คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 โดยคณะกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากมีความกังวลต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นเวลานานจะทำให้การประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้ง เชื่อว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยังคงที่อยู่ในระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี 2561 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตั้งไว้ที่ 1.00% – 4.00% ทำให้กนง.ยังไม่มีความจำเป็นที่จะลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีนี้
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคต คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะยังคงเคลื่อนไหวอย่างผันผวนจากความเสี่ยงในปัจจัยต่างประเทศทั้งเรื่องการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของกลุ่มประเทศหลัก และความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ สภาพคล่องระดับสูงในประเทศที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความผันผวนจากความเสี่ยงต่างๆภายนอกประเทศลงได้