ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทั่วโลกเผชิญวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวและหยุดชะงักไปชั่วเวลาหนึ่ง โดยรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เมื่อปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าในปี 2022 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.4% ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2021 ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% ดังนั้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ จะกลายเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทิศทางดังกล่าว ทำให้เทรนด์การลงทุนที่เกี่ยวโยงกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) กลับมาอยู่ในสปอตไลท์อีกครั้ง
ทำไมเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานจึงน่าสนใจ
โครงสร้างพื้นฐาน คือ พื้นฐานของสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ เมื่อพูดถึงโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปอาจนึกถึง ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง ระบบขนส่งสาธารณะแม้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อไปเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภค ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงเมกะเทรนด์ต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับกระแสกรีน เช่น ระบบโครงข่าย 5G รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ยานยนต์อัจฉริยะ หรือหุ่นยนต์ IoT เป็นต้น
การลงทุนโดยตรงในโครงสร้างพื้นฐาน ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ทำให้นักวิเคราะห์ทั่วโลกมีมุมมองตรงกันว่า การลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยังคงมีแนวโน้มที่สดใสเช่นกัน
ด้วยคาแรกเตอร์เฉพาะของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่เน้นการลงทุนระยะยาว อัตราผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยส่วนใหญ่มักเติบโตตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งสอดคล้องกับระยะเวลาการให้บริการของแต่ละโครงการ
โลกกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปในทิศทางไหน
อ้างอิงจากรายงาน Global Megatrends 2022 ซึ่งจัดทำโดย Project Management Institute (PMI) ระบุว่า 6 เมกะเทรนด์หลักที่จะขับเคลื่อนทิศทางของโลกในอนาคต ประกอบด้วย Digital Disruption วิกฤตทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ (Demographic Shifts) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic Shifts) การขาดแคลนแรงงาน (Labor Shortages) และความเท่าเทียม (Civil, Civic and Equality)
ทั้ง 6 เมกะเทรนด์ ถือเป็นสัญญาณการขับเคลื่อนทิศทางโลกในอนาคต ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค การเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำหุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานคน เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุค 4.0 รู้จักรูปแบบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ผู้ที่สนใจลงทุน ในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเลือกลงทุนได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
● การลงทุนทางตรง ในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ซึ่งเป็นลักษณะที่ภาครัฐหรือภาคธุรกิจระดมทุนเพื่อนำเงินไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะ โดยผู้ลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ยกเว้นภาษีเงินปันผลจากกองทุนดังกล่าว
● การลงทุนทางอ้อม โดยผ่านกองทุนรวม (Mutual Fund) โดยกองทุนรวมดังกล่าวจะไปลงทุนในตราสาร หรือหลักทรัพย์ของธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในธุรกิจใด ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Fund) ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้วย
ส่องกองทุนรวมด้านโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ
กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานในตลาดโลก ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนที่เป็นปัจจัยดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก ยูเอสนิวส์ดอทคอม (US.News.com) ระบุว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานมากกว่า 60 ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 10% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่นิตยสารด้านการเงินการลงทุน Funds Europe รายงานว่า สหราชอาณาจักรมีแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสูงมาก และเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้ลงทุนสถาบัน อย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญ หรือกองทุนขนาดใหญ่ ที่เห็นโอกาสการลงทุนระยะยาวและคาดว่าจะสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจในระดับ 8-10% ต่อปี
สำหรับนักลงทุนชาวไทย ก็มีโอกาสลงทุนในกองทุนที่ไปลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกได้เช่นกัน ผ่านกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ (B-GLOB-INFRA) โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของ Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class S Acc (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนโดยกองทุนหลักจดทะเบียนที่ประเทศไอร์แลนด์ มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกับตราสารทุนในบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศ G7 เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มโทรคมนาคม ขนส่ง กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มด้านการบริการและสังคม เป็นต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักและลงทุนในตราสารทุนดังกล่าวในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกาลังพัฒนา ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลัก
ซึ่งกองทุน B-GLOB-INFRA อยู่ระหว่างการเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 9-15 มีนาคมนี้ ลงทุนขั้นต่ำเพียง 500 บาท
ผู้ลงทุนที่สนใจกองทุน B-GLOB-INFRA สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก https://www.bblam.co.th/…/foreign…/b-glob-infra/14701…
อย่างไรก็ดี กองทุนรวมที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานนี้ อาจมีการกระจุกตัวในการลงทุนและมีความเสี่ยงเฉพาะตัว ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของลักษณะกองทุนและความเสี่ยง ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้