ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 bps ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้น 15 ถึง 48 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.35% เพิ่มขึ้น 15 bps จากสิ้นเดือนก่อน เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่เพิ่มขึ้นถึง 49 bps มาอยู่ที่ 2.32%
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกในเดือนนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวกับท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมทั้งผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนซึ่งทำให้แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลของสงครามก็ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นจนซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ และอาจเป็นปัจจัยเร่งให้ Fed จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์เดิม โดยจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างมากของ Fed ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น จนทำให้เกิดภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว หรือ Inverted yield curve ระหว่างพันธบัตรอายุ 5 ปี กับ 10 ปี ในช่วงปลายเดือน มี.ค. ขณะที่ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่นักลงทุนติดตามมากที่สุดลดลงมาอยู่ในระดับต่ำเพียง 4 bps โดยหากอิงจากข้อมูลในอดีตพบว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจมีโอกาสเกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิด Inversion ระหว่างพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ การประชุม กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามตลาดคาดการณ์ ด้านนักลงทุนต่างชาติมียอดขายตราสารหนี้ไทยสุทธิ 6.75 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 4.5 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 2.2 หมื่นล้านบาท รวมกับตราสารหนี้ที่ครบกำหนดอายุ 3.1 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 9.9 หมื่นล้านบาท
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินตามเดิมในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. แต่ส่งสัญญาณอาจยุติมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์แบบปกติหรือ Asset Purchase Program (APP) ในไตรมาส 3 ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ECB ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเป็น 3.7% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.2% และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ขึ้นเป็น 5.1% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.2% ทั้งนี้ ECB ระบุว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่มีทั้งหมดตามความเหมาะสมเพื่อให้เงินเฟ้อขยายตัวในระดับ 2% ในระยะปานกลาง
ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติ 8-1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค. พร้อมส่งสัญญาณผ่าน Dot plot ว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 6 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปสู่ระดับ 1.75-2.0% อีกทั้งปรับคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4.1% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.7% และปรับคาดการณ์ GDP ลดลงเป็น 2.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.0% ด้านนาย Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งและสามารถรับมือกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ ส่วนการลดขนาดงบดุล (QT) อาจเริ่มต้นกระบวนการได้ในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในเดือน พ.ค. นี้ นอกจากนั้น นาย Jerome Powell ยังกล่าวในวันที่ 21 มี.ค. อีกว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุมและอาจเปลี่ยนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เป็น 0.50%
ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินตามเดิมในการประชุมวันที่ 17-18 มี.ค. โดยมีมติ 8 ต่อ 1 คงเป้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ใกล้ 0% รวมทั้งคงมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ BoJ ยังระบุว่าจะไม่ลังเลที่จะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น
ด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 30 มี.ค. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดย กนง. ยังให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก นอกจากนี้ ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้เป็น 3.2% จากประมาณการเดิมที่ 3.4% และปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้เป็น 4.9% ซึ่งสูงกว่ากรอบบนของเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3.0% อย่างไรก็ตาม กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (Cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (Demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ขณะที่ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. อยู่ที่ 5.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.0% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีการปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปีนี้เป็น 4.0-5.0% จากคาดการณ์เดิมที่ 0.7-2.4%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม อาจเริ่มเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันระหว่างสหรัฐฯ กับไทย รวมทั้งความความแตกต่างในการดำเนินนโยบายการเงินระหว่าง Fed กับ ธปท.
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในเดือน เม.ย. นี้ ได้แก่ รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed minutes) เดือน มี.ค. ซึ่งเปิดเผยออกมาในวันที่ 6 เม.ย. และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินของ Fed โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานและตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องติดตามพัฒนาการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทย และการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ECB (14 เม.ย.) และ BoJ (27-28 เม.ย.)
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 bps ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้น 15 ถึง 48 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.35% เพิ่มขึ้น 15 bps จากสิ้นเดือนก่อน เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่เพิ่มขึ้นถึง 49 bps มาอยู่ที่ 2.32%
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกในเดือนนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวกับท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมทั้งผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนซึ่งทำให้แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลของสงครามก็ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นจนซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ และอาจเป็นปัจจัยเร่งให้ Fed จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์เดิม โดยจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างมากของ Fed ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น จนทำให้เกิดภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว หรือ Inverted yield curve ระหว่างพันธบัตรอายุ 5 ปี กับ 10 ปี ในช่วงปลายเดือน มี.ค. ขณะที่ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่นักลงทุนติดตามมากที่สุดลดลงมาอยู่ในระดับต่ำเพียง 4 bps โดยหากอิงจากข้อมูลในอดีตพบว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจมีโอกาสเกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิด Inversion ระหว่างพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ การประชุม กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามตลาดคาดการณ์ ด้านนักลงทุนต่างชาติมียอดขายตราสารหนี้ไทยสุทธิ 6.75 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 4.5 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 2.2 หมื่นล้านบาท รวมกับตราสารหนี้ที่ครบกำหนดอายุ 3.1 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 9.9 หมื่นล้านบาท
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินตามเดิมในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. แต่ส่งสัญญาณอาจยุติมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์แบบปกติหรือ Asset Purchase Program (APP) ในไตรมาส 3 ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ECB ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงเป็น 3.7% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.2% และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ขึ้นเป็น 5.1% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.2% ทั้งนี้ ECB ระบุว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่มีทั้งหมดตามความเหมาะสมเพื่อให้เงินเฟ้อขยายตัวในระดับ 2% ในระยะปานกลาง
ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติ 8-1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค. พร้อมส่งสัญญาณผ่าน Dot plot ว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 6 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปสู่ระดับ 1.75-2.0% อีกทั้งปรับคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4.1% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.7% และปรับคาดการณ์ GDP ลดลงเป็น 2.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.0% ด้านนาย Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งและสามารถรับมือกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ ส่วนการลดขนาดงบดุล (QT) อาจเริ่มต้นกระบวนการได้ในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในเดือน พ.ค. นี้ นอกจากนั้น นาย Jerome Powell ยังกล่าวในวันที่ 21 มี.ค. อีกว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุมและอาจเปลี่ยนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เป็น 0.50%
ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินตามเดิมในการประชุมวันที่ 17-18 มี.ค. โดยมีมติ 8 ต่อ 1 คงเป้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ใกล้ 0% รวมทั้งคงมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ BoJ ยังระบุว่าจะไม่ลังเลที่จะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น
ด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 30 มี.ค. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดย กนง. ยังให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก นอกจากนี้ ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้เป็น 3.2% จากประมาณการเดิมที่ 3.4% และปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้เป็น 4.9% ซึ่งสูงกว่ากรอบบนของเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3.0% อย่างไรก็ตาม กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (Cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (Demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ขณะที่ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. อยู่ที่ 5.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.0% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีการปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปีนี้เป็น 4.0-5.0% จากคาดการณ์เดิมที่ 0.7-2.4%
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม อาจเริ่มเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันระหว่างสหรัฐฯ กับไทย รวมทั้งความความแตกต่างในการดำเนินนโยบายการเงินระหว่าง Fed กับ ธปท.
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในเดือน เม.ย. นี้ ได้แก่ รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed minutes) เดือน มี.ค. ซึ่งเปิดเผยออกมาในวันที่ 6 เม.ย. และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินของ Fed โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานและตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องติดตามพัฒนาการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทย และการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ECB (14 เม.ย.) และ BoJ (27-28 เม.ย.)