ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงได้รับอิทธิพลจาก 2 ปัจจัยหลัก จากแนวโน้มนโยบายการเงินและทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ โดยในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ประเทศพัฒนาแล้วจะยังออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งของสหรัฐฯที่ 9.1% YoY และยูโรโซน ที่ 8.5% YoY ส่งผลกดดันสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทำให้ตลาดหันมาให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือลดลงราว 90bps จากจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ 3.4% และ Yield Spread 10 ปี และ 2 ปี ที่กลับมาติดลบเป็นครั้งที่ 2 ของปีและเป็นระดับลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ อาจทำให้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้มากอย่างที่คาด ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซนปรับตึ้วขึ้นได้ดีในเดือนนี้ S&P500 ที่ 9.1% และ Euro Stoxx 50 ที่ 7.3% ทำให้ MSCI World Index ที่ปรับเพิ่มขึ้น 6.9% ทั้งนี้ ผลการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือนนั้น Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75bps เป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ และซึ่งไม่สูงถึง 100bps ตามที่มีบางฝ่ายเคยคาดไว้ ช่วยลดแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในระยะข้างหน้าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุน
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอลงสะท้อนผ่านดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการ รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบราว 2 ปี โดยยังมีตลาดการจ้างงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน และอาจมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนพลังงานเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวช่วงปลายปี ขณะที่การผ่อนปรนมาตรการการคว่ำบาตรด้านพลังงาน รวมถึงการลงนามข้อตกลงเปิดท่าเรือทะเลดำ เพื่อส่งออกอาหารและธัญพืชชั่วคราว ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในวงกว้างได้
ด้านเศรษฐกิจจีน ภายหลังการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศจีนฟื้นตัวดีขึ้นจากฐานต่ำในเดือนเมษายน แต่การฟื้นตัวกลับไม่ได้มีความต่อเนื่องนัก โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนกรกฎาคมของจีน กลับปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่จากนโยบาย Zero-COVID อาจทำให้ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในช่วงท้ายเดือนกรกฎาคม IMF ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงจากเติบโต 3.6% เป็น 3.2% ใกล้เคียงกับ World Bank ที่ปรับลงมาอยู่ที่ 2.9% ในช่วงก่อนหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ปิดทรงตัวที่ +0.5% โดยแม้ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นโลก ทั้งจากความกังวลว่า กำลังซื้อจะชะลอลงจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น รวมทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจยังคงมีความหวังขยายตัวได้ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในเดือนกรกฎาคมที่ 4.7 พันล้านบาท หลังขายสุทธิในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขายเดือนแรกในรอบ 7 เดือน ทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีซื้อสุทธิอยู่ที่ราว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งการที่ธปท.มีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งไป ทำให้แรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าผ่อนคลายลง ด้านผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาสสอง ที่กำลังทยอยประกาศออกมา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มไตรมาส 3 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้ กลยุทธ์การลงทุนยังคงเน้นหุ้นที่คาดหวังผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากเศรษฐกิจในประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยเพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงได้รับอิทธิพลจาก 2 ปัจจัยหลัก จากแนวโน้มนโยบายการเงินและทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ โดยในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ประเทศพัฒนาแล้วจะยังออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งของสหรัฐฯที่ 9.1% YoY และยูโรโซน ที่ 8.5% YoY ส่งผลกดดันสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทำให้ตลาดหันมาให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือลดลงราว 90bps จากจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ 3.4% และ Yield Spread 10 ปี และ 2 ปี ที่กลับมาติดลบเป็นครั้งที่ 2 ของปีและเป็นระดับลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ อาจทำให้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้มากอย่างที่คาด ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซนปรับตึ้วขึ้นได้ดีในเดือนนี้ S&P500 ที่ 9.1% และ Euro Stoxx 50 ที่ 7.3% ทำให้ MSCI World Index ที่ปรับเพิ่มขึ้น 6.9% ทั้งนี้ ผลการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือนนั้น Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75bps เป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ และซึ่งไม่สูงถึง 100bps ตามที่มีบางฝ่ายเคยคาดไว้ ช่วยลดแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในระยะข้างหน้าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุน
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอลงสะท้อนผ่านดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการ รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบราว 2 ปี โดยยังมีตลาดการจ้างงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน และอาจมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนพลังงานเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวช่วงปลายปี ขณะที่การผ่อนปรนมาตรการการคว่ำบาตรด้านพลังงาน รวมถึงการลงนามข้อตกลงเปิดท่าเรือทะเลดำ เพื่อส่งออกอาหารและธัญพืชชั่วคราว ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในวงกว้างได้
ด้านเศรษฐกิจจีน ภายหลังการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศจีนฟื้นตัวดีขึ้นจากฐานต่ำในเดือนเมษายน แต่การฟื้นตัวกลับไม่ได้มีความต่อเนื่องนัก โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนกรกฎาคมของจีน กลับปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่จากนโยบาย Zero-COVID อาจทำให้ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในช่วงท้ายเดือนกรกฎาคม IMF ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงจากเติบโต 3.6% เป็น 3.2% ใกล้เคียงกับ World Bank ที่ปรับลงมาอยู่ที่ 2.9% ในช่วงก่อนหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ปิดทรงตัวที่ +0.5% โดยแม้ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นโลก ทั้งจากความกังวลว่า กำลังซื้อจะชะลอลงจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น รวมทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจยังคงมีความหวังขยายตัวได้ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในเดือนกรกฎาคมที่ 4.7 พันล้านบาท หลังขายสุทธิในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขายเดือนแรกในรอบ 7 เดือน ทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีซื้อสุทธิอยู่ที่ราว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งการที่ธปท.มีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งไป ทำให้แรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าผ่อนคลายลง ด้านผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาสสอง ที่กำลังทยอยประกาศออกมา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มไตรมาส 3 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้ กลยุทธ์การลงทุนยังคงเน้นหุ้นที่คาดหวังผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากเศรษฐกิจในประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยเพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา