กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q3/2022

กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q3/2022

กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

ตราสารหนี้
• ตลาดมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลง เหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฏาคม อยู่ที่ 7.61% ชะลอตัวลงจาก 7.66% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.99% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากระดับ 2.51% ในเดือนก่อน บ่งชี้ถึงการส่งผ่านราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
• แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังคงมีทิศทางผันผวนตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก ขณะที่คณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูงและยืนยันที่จะดาเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทาให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างทิศทางของตลาดกับผู้กำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความผันผวนของตลาดได้ในระยะต่อไป


ตราสารทุน
• ตลาดหุ้นโลกยังคงได้รับอิทธิพลจาก 2 ปัจจัยหลัก จากแนวโน้มนโยบายการเงินและทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทำให้ตลาดหันมาให้ความสาคัญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น และความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ อาจทำให้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้มากอย่างที่คาด เป็นการช่วยลดแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในระยะข้างหน้าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ จะยังคงเป็นปัจจัยสาคัญสำหรับการลงทุน
• ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอลงสะท้อนผ่านดัชนี ISM ภาคการผลิตและบริการ รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบราว 2 ปี โดยยังมีตลาดการจ้างงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน และอาจมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนพลังงานเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวช่วงปลายปี ขณะที่การผ่อนปรนมาตรการการคว่ำบาตรด้านพลังงาน รวมถึงการลงนามข้อตกลงเปิดท่าเรือทะเลดำเพื่อส่งออกอาหารและธัญพืชชั่วคราว ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในวงกว้างได้ ด้านเศรษฐกิจจีน ภายหลังการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศจีนฟื้นตัวดีขึ้นจากฐานต่ำ แต่การฟื้นตัวกลับไม่ได้มีความต่อเนื่องนัก เศรษฐกิจจีนในครึ่งปีหลังยังคงมีความไม่แน่นอนจากนโยบาย Zero-COVID อาจทำให้ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง
• ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวตามตลาดหุ้นโลก มีความกังวลว่ากำลังซื้อจะชะลอลงจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น รวมทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจยังคงมีความหวังขยายตัวได้ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว

• กลยุทธ์การลงทุนยังคงเน้นหุ้นที่คาดหวังผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว จากเศรษฐกิจในประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยเพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา


พอร์ตการลงทุนไตรมาสที่ผ่านมา
B-FLEX : กองทุนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 ปีเป็นส่วนใหญ่ โดยเพิ่มสัดส่วนพันธบัตรระยะกลาง ยาว และหุ้นกู้ระยะกลางเล็กน้อย ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลง และลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง โดยลดน้ำหนักหุ้นสื่อสาร พาณิชย์ พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร ในขณะที่เพิ่มสัดส่วนหุ้นธนาคารและไฟแนนซ์ กองทุนยังได้ลงทุนเพิ่มในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานประเภทโทรคมนาคม
B-ACTIVE : กองทุนได้ลดการลงทุนในหุ้นเป็น 50% จาก 57% ณ สิ้นไตรมาสก่อน และเพิ่มสัดส่วนในพันธบัตรระยะสั้น โดยลดสัดส่วนหุ้นในกลุ่มสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และมีเดีย โดยได้เข้าลงทุนเพิ่มในหุ้นกลุ่มธนาคาร พลังงาน และไฟแนนซ์
B25RMF : กองทุนเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี ลงทุนเพิ่มในหุ้นกู้อายุไม่เกิน 3 ปี โดยลดน้ำหนักพันธบัตรและหุ้นกู้อายุปานกลาง-ยาว ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลง ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้น กลุ่มพาณิชย์ เดินทางขนส่ง ไฟแนนซ์ อาหาร และบริการ โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม พลังงาน โรงพยาบาล อสังหาริมทรัพย์ มีเดีย และบรรจุภัณฑ์
BFLRMF : กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรและหุ้นระยะกลาง ยาว โดยเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรและหุ้นกู้ระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม อาหาร เดินทางขนส่ง มีเดีย ปิโตรเคมี และ พาณิชย์ โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มพลังงาน โรงพยาบาล และธนาคาร

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต