ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมกนง. ยังยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ทำให้ความกังวลที่ทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกับของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-7 ปีปรับตัวลดลง 13-25 bps จากเดือนก่อน
ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนส.ค. กลับมาเป็นยอดซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1.13 พันล้านบาท แบ่งเป็น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 12.19 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 8.72 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 19.78 พันล้านบาท
สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนส.ค.อยู่ที่ 8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.5% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยราคาสินค้าหมวดบริการยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานเริ่มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 7.86% เพิ่มขึ้นจาก 7.61% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 30.50% จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 3.15% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 2.99% ในเดือนก่อน แสดงถึงการส่งผ่านต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.ที่คาดว่า จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 0.25% ภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวที่ยังมีความผันผวนตามตัวเลขเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้ง ยังต้องติดตามผลการประชุม FOMC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น FED จะประกาศคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ในอนาคต
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมกนง. ยังยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ทำให้ความกังวลที่ทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกับของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-7 ปีปรับตัวลดลง 13-25 bps จากเดือนก่อน
ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนส.ค. กลับมาเป็นยอดซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1.13 พันล้านบาท แบ่งเป็น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 12.19 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 8.72 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 19.78 พันล้านบาท
สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนส.ค.อยู่ที่ 8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.5% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยราคาสินค้าหมวดบริการยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานเริ่มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 7.86% เพิ่มขึ้นจาก 7.61% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 30.50% จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 3.15% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 2.99% ในเดือนก่อน แสดงถึงการส่งผ่านต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.ที่คาดว่า จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 0.25% ภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวที่ยังมีความผันผวนตามตัวเลขเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้ง ยังต้องติดตามผลการประชุม FOMC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น FED จะประกาศคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ในอนาคต