ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาส 2 ออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุด นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ Fed อาจยังจำเป็นต้องเข้มงวดต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในการประชุม Jackson Hole ช่วงปลายเดือน Fed ได้ส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ให้เข้าสู่ระดับเป้าหมาย 2% และส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ยหลังจากขึ้นไปถึง Terminal rate ในช่วงต้นปีหน้า ต่างไปจากความคาดหวังของตลาด ส่งผลให้เกิดแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงปลายเดือน ในระยะข้างหน้า ตลาดยังคงมีแนวโน้มปรับตัวผันผวน เพื่อรอปัจจัยสนับสนุนที่มีน้ำหนักมากขึ้นต่อทิศทางนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจ
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นมีโมเมนตัมที่อ่อนแอลงต่อเนื่องในไตรมาส 3 จากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่อยู่ระดับต่ำ ขณะที่ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งเช่นเดิม ทั้งนี้ ตลาดบ้านเริ่มอ่อนแอลงมากขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Mortgage rate 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ราว 5.6% สูงสุดตั้งแต่ปี 2009 โดยเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่อยู่ราว 3.3% ซึ่งจะส่งผลชะลอตัวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ GDP และแรงกดดันต่อเงินเฟ้อเช่นกันในระยะข้างหน้า ด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงานต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession มากขึ้น หากภาคการผลิตมีพลังงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ขณะที่เศรษฐกิจจีน ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบาย Zero-COVID ซึ่งอาจทำให้เกิดการ Lockdown บางพื้นที่เป็นระยะ อย่างไรก็ดี ทางการยังคงมีมาตรการการเงินและการคลังหนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางการได้กำหนดวันประชุมพรรคมาแล้ววันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งอาจจะช่วยปลดล็อคความชัดเจนให้มากขึ้นต่อทิศทางเศรษฐกิจจีนได้ในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับฟื้นตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก โดยปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าเพิ่มขึ้น +4.0% ในเดือนสิงหาคม หนุนโดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งจากเศรษฐกิจในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือนกรกฎาคมสูงถึง 1.1 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน พ.ค.-มิ.ย. ที่ 5.2 และ 7.7 แสนคนตามลำดับ รวมถึงปัจจัยจากกระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยซื้อสุทธิในเดือนสิงหาคมที่ 5.7 หมื่นล้านบาท รวมตั้งแต่ต้นปีซื้อสุทธิ 1.7 แสนล้านบาท ด้านผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียน โดยภาพรวมเป็นการฟื้นตัว ต่อเนื่อง YoY และ QoQ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น หนุนโดย กล่มขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาลค้าปลีก ท่องเที่ยว และอาหาร เป็นต้น ในระยะข้างหน้า ยังคงต้องติดตามปัจจัยมหภาคโดยเฉพาะปัจจัยภายนอกประเทศที่จะส่งผลต่อแนวโน้มการลงทุน โดยยังคงกลยุทธ์เน้นหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ทั้งจากกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวและกลุ่มที่มีอัตรากำไรดีขึ้นจากต้นทุนปรับตัวลดลง
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาส 2 ออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุด นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ Fed อาจยังจำเป็นต้องเข้มงวดต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในการประชุม Jackson Hole ช่วงปลายเดือน Fed ได้ส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ให้เข้าสู่ระดับเป้าหมาย 2% และส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ยหลังจากขึ้นไปถึง Terminal rate ในช่วงต้นปีหน้า ต่างไปจากความคาดหวังของตลาด ส่งผลให้เกิดแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงปลายเดือน ในระยะข้างหน้า ตลาดยังคงมีแนวโน้มปรับตัวผันผวน เพื่อรอปัจจัยสนับสนุนที่มีน้ำหนักมากขึ้นต่อทิศทางนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจ
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นมีโมเมนตัมที่อ่อนแอลงต่อเนื่องในไตรมาส 3 จากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่อยู่ระดับต่ำ ขณะที่ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งเช่นเดิม ทั้งนี้ ตลาดบ้านเริ่มอ่อนแอลงมากขึ้น จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Mortgage rate 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ราว 5.6% สูงสุดตั้งแต่ปี 2009 โดยเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่อยู่ราว 3.3% ซึ่งจะส่งผลชะลอตัวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ GDP และแรงกดดันต่อเงินเฟ้อเช่นกันในระยะข้างหน้า ด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงานต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession มากขึ้น หากภาคการผลิตมีพลังงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ขณะที่เศรษฐกิจจีน ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบาย Zero-COVID ซึ่งอาจทำให้เกิดการ Lockdown บางพื้นที่เป็นระยะ อย่างไรก็ดี ทางการยังคงมีมาตรการการเงินและการคลังหนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางการได้กำหนดวันประชุมพรรคมาแล้ววันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งอาจจะช่วยปลดล็อคความชัดเจนให้มากขึ้นต่อทิศทางเศรษฐกิจจีนได้ในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับฟื้นตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก โดยปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าเพิ่มขึ้น +4.0% ในเดือนสิงหาคม หนุนโดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งจากเศรษฐกิจในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือนกรกฎาคมสูงถึง 1.1 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน พ.ค.-มิ.ย. ที่ 5.2 และ 7.7 แสนคนตามลำดับ รวมถึงปัจจัยจากกระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยซื้อสุทธิในเดือนสิงหาคมที่ 5.7 หมื่นล้านบาท รวมตั้งแต่ต้นปีซื้อสุทธิ 1.7 แสนล้านบาท ด้านผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียน โดยภาพรวมเป็นการฟื้นตัว ต่อเนื่อง YoY และ QoQ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น หนุนโดย กล่มขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาลค้าปลีก ท่องเที่ยว และอาหาร เป็นต้น ในระยะข้างหน้า ยังคงต้องติดตามปัจจัยมหภาคโดยเฉพาะปัจจัยภายนอกประเทศที่จะส่งผลต่อแนวโน้มการลงทุน โดยยังคงกลยุทธ์เน้นหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ทั้งจากกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวและกลุ่มที่มีอัตรากำไรดีขึ้นจากต้นทุนปรับตัวลดลง