โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่กรอบ 3.75-4.0%
เช่นเดียวกับ การประชุมครั้งก่อนๆ ที่ประธาน Fed มักจะมีคำเด็ดไว้ให้นักข่าวใช้เล่นเป็นประเด็นให้ตีความ ซึ่งคำเด็ดในการประชุมครั้งนี้ คือ
“Cumulative Tightening” แปลเป็นไทยได้ว่า “ตึงตัวสะสม” โดย Fed ได้นำคำนี้มาใช้ในบริบทที่ว่า
คณะกรรมการของ FOMC จะพิจารณาว่า นโยบายการเงินที่เพิ่มระดับของความคุมเข้มมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน จะไปส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงินอย่างไร
การที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังดีมากในตอนนี้ ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถรองรับกับ “ดอกเบี้ยที่ขึ้นรัวๆ ได้”
เพียงแต่ตัวเลขเศรษฐกิจ มีความหนืดหรือภาษาทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Lagging กว่าที่จะเห็นผลจริง ๆ ก็อีก 6-9 เดือนข้างหน้า
ดังนั้น ประธาน Fed จึงนำคำว่า “Cumulative Tightening” มาใช้ ส่วนหนึ่งเพื่อจะส่งสัญญาณว่า ในอนาคต Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราชะลอลงก็ได้ แต่ขอ Fed ประเมินก่อนว่า ที่ขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้เพียงพอแล้วหรือยัง
คำว่า Cumulative Tightening นี้ จึงมีความส่งสัญญาณ Dovish ได้เบาๆ ว่า ที่ครั้งนี้ปรับขึ้น 75 bps ไม่ได้หมายความว่า ครั้งหน้าจะขึ้นในอัตราที่เท่ากัน
อาจจะ “ยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่ขึ้นในอัตราที่ชะลอลงก็ได้”
นอกจากนี้ ประธาน Fed ยังกล่าวว่า ดอกเบี้ยจะขึ้นมากหรือน้อยในแต่ละครั้ง ไม่สำคัญเท่ากับว่า ท้ายสุด อัตราดอกเบี้ยจะไปหยุดที่เท่าไหร่ในกรอบเวลาเท่าไหร่
ดังนั้น แล้วในปีหน้า เรามาคิดกันดีกว่า
ว่าถ้า Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยรัวๆ ในทุกการประชุมแล้ว แต่จะปล่อยให้ดอกเบี้ยคาสูงที่ 4.xx% ไปสักอย่างน้อยหกเดือน
พอร์ตลงทุนแบบไหน คือ คำตอบ!