ซีอีโอ JPMorgan มองมีโอกาส 40-50% ดอกเบี้ยสหรัฐฯ จ่อพุ่ง ชี้ตลาดประเมินภาษีทรัมป์ต่ำไป

ซีอีโอ JPMorgan มองมีโอกาส 40-50% ดอกเบี้ยสหรัฐฯ จ่อพุ่ง ชี้ตลาดประเมินภาษีทรัมป์ต่ำไป

เจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JPMorgan Chase ประเมินความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะสูงขึ้นอีกประมาณ 40-50% ขณะที่ ตลาดโดยรวมประเมินไว้ที่ 20% ย้ำการที่ตลาดการเงินประเมินความเป็นไปได้ต่ำเกินไปนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวล ไดมอน กล่าวในงานเสวนาที่จัดโดยกระทรวงการคลังไอร์แลนด์ โดยให้เหตุผลว่า การที่เขาให้น้ำหนักมากกว่าคนอื่นๆ เกี่ยวกับแนวโน้มที่ดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะสูงขึ้นนั้น เนื่องจากนโยบายภาษี การผลักดันผู้อพยพ และการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่นำไปสู่เงินเฟ้อ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างระบบการค้าและประชากรโลกก็มีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน เมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม 4.25-4.50% ซึ่งนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด คาดว่า เงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับการซื้อสินค้า เนื่องจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ  ขณะที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้ากดดันให้เฟดลดอัตราดอกเบี้ยโดยเร็ว รวมถึงกดดันพาวเวลล์ให้ลาออกจากประธานเฟด ขณะเดียวกัน ยังระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ แบบเรียลไทม์นั้น ไม่สามารถตีความได้เลย ซึ่งตนมองว่า […]

ผลสำรวจเฟดชี้ ผู้บริโภคมองแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคต จ่อคืนสู่ระดับใกล้เคียงต้นปีนี้

ผลสำรวจเฟดชี้ ผู้บริโภคมองแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคต จ่อคืนสู่ระดับใกล้เคียงต้นปีนี้

ผลสำรวจล่าสุดเดือนมิ.ย. โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก ระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในอนาคต มีแนวโน้มกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงต้นปี 2024 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะประกาศมาตรการรีดภาษีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผลสำรวจเดือนมิ.ย. แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยคาดการณ์ของผู้บริโภคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. มาอยู่ที่ 3% ขณะที่ ประมาณการเงินเฟ้อรายปีในอีก 3 และ 5 ปีข้างหน้า ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3% และ 2.6% ตามลำดับ โดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแรงกดดันด้านราคาในอนาคต ปรับตัวลดลงสำหรับระยะเวลา 1 ปี และ 3 ปี อย่างไรก็ดี ภาคครัวเรือนยังคงส่งสัญญาณที่ไม่ชัดเจนกันเกี่ยวกับตลาดแรงงาน โดยหลายครัวเรือนเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการหางานใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทในสหรัฐฯ ไม่ได้จ้างงานหรือเลิกจ้างมากนัก โดย ธุรกิจและครัวเรือน ต่างเตรียมรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น นับตั้งแต่ประธานาธิบดี โดนัลด์ […]

‘พาวเวลล์’ พูดชัด เฟดอาจลดดอกเบี้ยไปแล้ว หากไม่มีภาษีทรัมป์

‘พาวเวลล์’ พูดชัด เฟดอาจลดดอกเบี้ยไปแล้ว หากไม่มีภาษีทรัมป์

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เฟดน่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินไปแล้ว หากไม่มีแผนขึ้นภาษีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ในงานประชุม Sintra Forum ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซินตรา ประเทศโปรตุเกส พาวเวลล์ตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวที่ถามว่า “เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้หรือไม่ หากทรัมป์ไม่ได้ประกาศแผนการเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น” ซึ่งประธานเฟด คิดว่าใช่ ซึ่งในทางปฏิบัติ เฟดยังตรึงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม หลังเห็นขนาดของภาษีนำเข้า และคาดว่า คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งหมดของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากภาษีนำเข้า การยอมรับของพาวเวลล์เกิดขึ้นในช่วงที่เฟดยังตรึงอัตราดอกเบี้ยมาระยะหนึ่ง แม้จะเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทำเนียบขาว โดยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิ.ย. เฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25-4.50% ซึ่งอยู่ในระดับนี้มาตั้งแต่เดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ในการประชุมครั้งล่าสุด คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (Federal Open Market Committee – FOMC) ได้เผยในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ว่า อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ แต่พาวเวลล์ได้กล่าวเมื่อช่วงแถลงข่าวหลังการประชุมนโยบายการเงินล่าสุดว่า เฟดยังอยู่ในสถานะที่ดีที่จะสามารถรอดูสถานการณ์ต่อไปได้ นอกจากนี้ พาวเวลล์ยังถูกถามว่า […]

‘พาวเวลล์’ ย้ำเรื่องใหญ่ รอดูผลกระทบเงินเฟ้อจากภาษีทรัมป์ ปัดข่าวใช้ของหรูปรับปรุงอาคารเฟด

‘พาวเวลล์’ ย้ำเรื่องใหญ่ รอดูผลกระทบเงินเฟ้อจากภาษีทรัมป์ ปัดข่าวใช้ของหรูปรับปรุงอาคารเฟด

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เผยธนาคารกลางยังต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประเมินผลกระทบจากภาษีนำเข้าที่มีต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค “คำถาม คือ ใครจะเป็นผู้จ่ายภาษีนำเข้าเหล่านี้? และจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากน้อยเพียงใด? บอกตรงๆ ว่า มันยากมากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้” พาวเวลล์ตอบคำถามในการแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ รอบครึ่งปี ต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา การแถลงของพาวเวลล์มีขึ้นเป็นวันที่สอง หลังชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎรไปวานนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการให้เฟดลดดอกเบี้ย ขณะที่ เฟดยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25-4.50% ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. หลังเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าการเฟด ทั้ง 2 คน คือ คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ และ มิเชล โบว์แมน ส่งสัญญาณพร้อมลดอัตราดอกเบี้ยได้เร็วที่สุดในเดือนก.ค. หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยวานนี้ พาวเวลล์ ย้ำว่า ยังไม่จำเป็นที่เฟดจะต้องรีบลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความไม่แน่นอนว่า ภาษีนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างไร ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดยังเป็นข้อมูลย้อนหลัง ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากคาดการณ์ว่า […]

เฟดคงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% ตามคาด เตือนความเสี่ยงนโยบายภาษี กระทบเงินเฟ้อ-ว่างงาน

เฟดคงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% ตามคาด เตือนความเสี่ยงนโยบายภาษี กระทบเงินเฟ้อ-ว่างงาน

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.25-4.50% ตามคาด ในการประชุมเมื่อคืนที่ผ่านมา เตือนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจปัจจุบัน ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เผชิญความท้าทายจากนโยบายภาษีของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์   แถลงการณ์ของ FOMC ระบุว่า แม้เศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่มั่นคง แต่การเร่งนำเข้าในภาคครัวธุรกิจและภาคครัวเรือนที่สูงเป็นประวัติการณ์เพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้ารอบใหม่นั้น ได้กดดันจีดีพีในไตรมาสให้ลดลง     ขณะที่ ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูงเล็กน้อย โดย FOMC ยังคงย้ำประเด็นนี้เช่นเดียวกันแถลงการณ์ในการประชุมครั้งก่อน แต่ได้ไฮไลท์เพิ่มเติมถึงความเสี่ยงที่กำลังก่อตัวขึ้น ซึ่งอาจทำให้เฟดตัดสินใจยากขึ้นในช่วงเดือนข้างหน้า โดยระบุว่า “ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น” “คณะกรรมการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อภารกิจหลักสองประการ (Dual mandate) และประเมินว่า อัตราการว่างงานและเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น” แถลงการณ์ระบุ ด้านนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด แถลงหลังการประชุม FOMC ว่า “แม้ความไม่แน่นอนจะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่เศรษฐกิจยังอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง นโยบายของเฟดจะต้องมีความคล่องตัว เราเชื่อว่าจุดยืนด้านนโยบายการเงินในปัจจุบันทำให้เราอยู่ในจุดที่พร้อมตอบสนองต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที” พาวเวลล์ ยังกล่าวว่า นโยบายการค้ายังคงเป็นปัจจัยความไม่แน่นอน ซึ่งทำให้เฟดจำเป็นต้องจับตาดูต่อไป ซึ่ง ยังบอกไม่ได้ว่า […]

‘คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์’ ค้านเฟดชะลอทำ QT ชี้ระบบธนาคารยังมีสภาพคล่องเพียงพอ

‘คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์’ ค้านเฟดชะลอทำ QT ชี้ระบบธนาคารยังมีสภาพคล่องเพียงพอ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะชะลอการทำ QT (Quantitative Tightening) โดยให้เหตุผลว่าปริมาณเงินสำรอง (reserves) ในระบบธนาคารยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก “การลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นส่วนสำคัญในการทำให้นโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ และช่วยลดเงินสำรองที่เกินความจำเป็นในระบบธนาคาร” นายวอลเลอร์ กล่าว วอลเลอร์ ระบุเพิ่มเติมว่า “การชะลอการทำ QT หรือการปล่อยให้พันธบัตรครบอายุโดยไม่มีการซื้อเพิ่มนั้น จะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เมื่อปริมาณเงินสำรองใกล้แตะระดับที่พึงมี แต่ผมมองว่า เรายังห่างไกลจากจุดนั้น เพราะปัจจุบันยอดเงินสำรองของเราสูงกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่มากเกินพอ”  พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ จากตัวชี้วัดในตลาดเงิน หรือจากสิ่งที่ผมได้สนทนากับผู้เกี่ยวข้องที่บ่งชี้ว่า เงินสำรองในระบบธนาคารใกล้ถึงระดับที่พึงมี” ความเห็นของวอลเลอร์เกิดขึ้น หลังจากที่เฟดประกาศชะลอการทำ QT (Quantitative Tightening) ซึ่งหมายถึง การถอนสภาพคล่องและลดปริมาณเงินที่ไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจลง โดยจะค่อยๆ ลดการถือครองพันธบัตรในงบดุลลง โดยเฟดจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงินเพียง 5 […]

รายงานประชุมเฟดชี้ เฟดอาจคงดอกเบี้ยนโยบาย จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงสู่ระดับ 2%

รายงานประชุมเฟดชี้ เฟดอาจคงดอกเบี้ยนโยบาย จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงสู่ระดับ 2%

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า การประชุมของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ในเดือนม.ค. แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงสูงและความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) วันที่ 28-29 ม.ค. ระบุว่า “ผู้เข้าร่วมประชุมระบุว่า หากเศรษฐกิจยังคงอยู่ใกล้ระดับการจ้างงานสูงสุด พวกเขาต้องการเห็นพัฒนาการเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ก่อนที่จะทำการปรับเปลี่ยนช่วงเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ย” โดยรายงานการประชุมที่เผยแพร่ล่าสุด ยังแสดงให้เห็นว่า “ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก ตั้งข้อสังเกตว่า คณะกรรมการสามารถคงอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เข้มงวดได้ หากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งและเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง” โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ช่วง 4.25%-4.50% ในการประชุมดังกล่าว บันทึกการประชุม แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ระมัดระวังของเฟด หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% ในช่วงปลายปี 2024 โดยเจ้าหน้าที่หลายคนระบุว่า ต้องการเห็นเงินเฟ้อปรับตัวลดลงเข้าใกล้เป้าหมาย 2% ของเฟด ก่อนที่จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบัน นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งในปี 2025 และมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอีกครั้ง ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่บางคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตเพดานหนี้ที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง […]

‘พาวเวลล์’ เผยเฟดมีงานต้องทำเพิ่ม หลังเงินเฟ้อดีดตัว ตลาดคาดปีนี้หั่นดอกเบี้ยครั้งเดียว

‘พาวเวลล์’ เผยเฟดมีงานต้องทำเพิ่ม หลังเงินเฟ้อดีดตัว ตลาดคาดปีนี้หั่นดอกเบี้ยครั้งเดียว

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อล่าสุด บ่งชี้ว่า เฟดยังคงมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าไปมากในการควบคุมเงินเฟ้อก็ตาม “สิ่งที่ผมอาจบอกได้ก็คือ เราเข้าใกล้ แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเรื่องเงินเฟ้อ” พาวเวลล์ กล่าวในการแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมการด้านบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันพุธ (12 ก.พ.) “เงินเฟ้อเมื่อปีที่แล้ว อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าคืบหน้าไปมาก แต่เรายังไปไม่ถึงเป้าหมาย” นายพาวเวลล์ กล่าว โดยหมายถึงตัวเลขชี้วัดเงินเฟ้ออื่นๆ นอกเหนือจากดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ประกาศเมื่อคืนที่ผ่านมา “เราจึงต้องการใช้นโยบายแบบคุมเข้มต่อไปก่อน” ซึ่งหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) เดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าประมาณการของ Dow Jones ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น […]

สรุปข่าวต่างประเทศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568

สรุปข่าวต่างประเทศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568

** ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.25%-4.50% ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด กล่าวว่า จะไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจนกว่า แนวโน้มเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน จะอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม *** นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด กล่าวในการตอบคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐบาลทรัมป์ที่มีต่อธนาคารกลางสหรัฐฯว่า วาระทางการเมืองจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า เฟดกำลังพยายามปรับนโยบายด้านบุคลากรให้สอดคล้องกับคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่ส่งเสริมแนวคิดความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง (Diversity and inclusion) ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด โดยระบุว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้อง “สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” แต่ยังคงเชื่อมั่นว่าความหลากหลาย เป็นลักษณะสำคัญขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ *** ที่ปรึกษาระดับสูงของทำเนียบขาว กล่าวแสดงความวิตกกังวลว่า DeepSeek บริษัทสตาร์ทอัพของจีน อาจได้รับประโยชน์จากวิธีการที่เรียกว่า “distillation”  ซึ่งถูกกล่าวหาว่าใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของบริษัทคู่แข่งในสหรัฐฯ โดยเทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับระบบ AI หนึ่ง ที่เรียนรู้จากระบบ AI อีกระบบหนึ่ง ซึ่งอาจหยุดยั้งได้ยาก โดย DeepSeek สร้างความสั่นสะเทือนให้กับแวดวงเทคโนโลยีในเดือนนี้ […]

โฆษก IMF ชี้เฟดทำถูกต้องหลังลดดอกเบี้ย 0.25% ขณะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่แน่นอนสูง

โฆษก IMF ชี้เฟดทำถูกต้องหลังลดดอกเบี้ย 0.25% ขณะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่แน่นอนสูง

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จูลี โคแซค ( Julie Kozack) โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันพุธที่ผ่านมา และการปรับมุมมองอย่างระมัดระวังมากขึ้นนั้น ถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูง โคแซค กล่าวในการแถลงข่าวว่า “ข้อมูลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานยังคงชะลอตัว ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย แต่ยังคงมีแนวโน้มลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ดังนั้น ด้วยข้อมูลดังกล่าว เราจึงเห็นว่า การดำเนินการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งนี้ จึงมีความเหมาะสม” นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า กระบวนการลดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้พิสูจน์เห็นให้แล้วว่ามีผลกระทบต่อการจ้างงานน้อยกว่าที่หลายฝ่ายวิตกกังวล ซึ่ง IMF คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่เฟดให้ความสำคัญ จะสิ้นสุดปี 2024 ที่ระดับต่ำกว่า 3% เล็กน้อย และมีแนวโน้มลดลงสู่ระดับเป้าหมาย 2% ของเฟดต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน IMF ยังได้ระบุว่า […]