อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สำหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง
นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปี ปรับขึ้นไปเลยระดับ 4.50% สูงสุดในรอบ 15 ปี ขณะเดียวกัน รุ่นอายุ 10 ปี ก็ปรับขึ้นไปเหนือระดับ 4.00% สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี อีกทั้งตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ทำให้ตลาดมองว่า การประชุมในเดือนพฤศจิกายน Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 bps ด้วยเช่นกัน และผลก็ออกมาตามคาด โดยในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่ระดับ 3.75-4.00% โดยนับเป็นการปรับขึ้นอัตราสูงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยให้เหตุผลว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่ Fed ให้ความสำคัญอย่างมาก
ส่วนการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตนั้น Fed จะคำนึงถึงการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ความล่าช้าของการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ซึ่ง Fed กล่าวถึงประเด็นนี้เป็นครั้งแรกในการประชุม FOMC สะท้อนว่า Fed อาจพิจารณาชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. เป็นหลัก โดย กนง. ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในแต่ละช่วง คือ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและความกังวลถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตข้างหน้า
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สำหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง
นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปี ปรับขึ้นไปเลยระดับ 4.50% สูงสุดในรอบ 15 ปี ขณะเดียวกัน รุ่นอายุ 10 ปี ก็ปรับขึ้นไปเหนือระดับ 4.00% สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี อีกทั้งตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ทำให้ตลาดมองว่า การประชุมในเดือนพฤศจิกายน Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 bps ด้วยเช่นกัน และผลก็ออกมาตามคาด โดยในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่ระดับ 3.75-4.00% โดยนับเป็นการปรับขึ้นอัตราสูงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยให้เหตุผลว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่ Fed ให้ความสำคัญอย่างมาก
ส่วนการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตนั้น Fed จะคำนึงถึงการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ความล่าช้าของการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ซึ่ง Fed กล่าวถึงประเด็นนี้เป็นครั้งแรกในการประชุม FOMC สะท้อนว่า Fed อาจพิจารณาชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. เป็นหลัก โดย กนง. ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในแต่ละช่วง คือ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและความกังวลถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตข้างหน้า