ภาพรวมตลาด
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 1 – 2 พ.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 3.75 – 4.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยเฟดส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่าลงในการประชุมเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 0.50% ขณะที่เอสแอนด์พี โกลบอลรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือน ต.ค. จากระดับ 52.0 ในเดือน ก.ย. สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 49.9
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps เป็นครั้งที่สอง และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่สาม โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) จาก 0.75% ไปอยู่ที่ 1.50% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) จาก 1.50% ไปอยู่ที่ 2.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations จาก 1.25% ไปอยู่ที่ 2.00% พร้อมส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยอัตราการขึ้นดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับข้อมูลทางด้านเงินเฟ้อและเศรษฐกิจเป็นสาคัญ และยังคงให้ความสาคัญกับการจัดการให้เงินเฟ้อกลับมาอยู่ที่ระดับเป้าหมายใกล้เคียง 2% พร้อมกันนี้ ECB ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยภายใต้โครงการ TLTRO III ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายนเป็นต้นไป และมีการให้ค่าตอบแทนสาหรับเงินสารองขั้นต่าที่ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ECB คาดภาพรวมเศรษฐกิจชะลอลงมากในไตรมาสที่สามและจะชะลอลงในระยะข้างหน้าทั้งในไตรมาสที่สี่และต้นปีหน้า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจปรับลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกขยายตัวชะลอลง ตามปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทางด้านเงินเฟ้อ ประเมินว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงเกินรับได้และขยายในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ตลาดแรงงานยังคงแข็งแรงและเป็นแรงสนับสนุนให้ค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้น ทางด้านความเสี่ยง ความเสี่ยงของเศรษฐกิจอยู่ในด้านลบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในระยะอันใกล้นี้ และความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออยู่ในด้านสูง โดยความเสี่ยงหลักในระยะสั้นของเงินเฟ้อมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ด้วยมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve Control) อายุ 10 ปีที่ใกล้ศูนย์ และคงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไม่จากัดที่ 0.25% รวมถึงคงการซื้อ ETFs ไม่เกิน 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ไม่เกิน 1.8 แสนล้านเยนต่อปี และซื้อตราสารหนี้เอกชนในปริมาณใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 รวมทั้งซื้อตราสารหนี้เอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) 2 ล้านล้านเยน และหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond) 3 ล้านล้านเยน โดย BOJ พร้อมดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจาเป็น ในระยะข้างหน้าคาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวจะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือต่ากว่าปัจจุบัน ด้านสภาพเศรษฐกิจ BOJ ประเมินว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกาลังฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP 2022 ขยายตัว 2.0% จากที่คาด 2.4% ในขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อไปอยู่ที่ 2.9% จาก 2.3% ที่คาดไว้เดิม จากราคาพลังงาน ราคาอาหาร และสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น ด้านความเสี่ยงของเศรษฐกิจอยู่ในทางด้านลบและความเสี่ยงของเงินเฟ้ออยู่ในด้านสูง
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สาหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 0.75% เป็น 1% โดยมองว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องโดยรับแรงหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศแต่มีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมากขึ้น จึงให้มีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทาให้จะกดไม่ให้อัตราผลตอบแทนไทยปรับเพิ่มขึ้นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งมุมมองของกองทุนบัวหลวง มองว่าตราสารหนี้ไทยยังมีความเสี่ยงของการขึ้นของดอกเบี้ยที่มากกว่าตลาดคาด ต้องติดตามการประชุมกนง. ซึ่งจะมีในวันที่ 30 พ.ย. 2565 ว่าทิศทางดอกเบี้ยของไทยจะขึ้นเท่าไร
ด้านตราสารหนี้ไทย
• ในเดือนตุลาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยได้ปรับตัวขึ้นตามไปกับอัตราดอกเบี้ยสหรฐัฯ โดยอัตราผลตอบแทน 10 ปี ของพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.3% จากระดับ 3.2% จากเดือนก่อนหน้า
• ความเสี่ยงทางด้านนเงินเฟอของไทยยังอยู่สูงเห็นได้จากตัวเลข Core CPI ของไทยเดือนกันยายน ยังไม่ได้ปรับลดลงอย่างมีนัยสาคัญ แม้ราคาพลังงานได้ปรับตัวลงมาสัระยะหนึ่งแล้วบ่งชี้ว่าการเร่งขึ้นของเงินเฟ้อได้เริ่มเข้าสู่หมวดสินค้าอื่นแล้ว
• ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงยึดแนวทางการดาเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะกดไม่ใหอั้ตราผลตอบแทนไทยปรับเพิ่มขึ้นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของเงินเฟ้อมีมากขึ้น กองทุนบัวหลวงมองว่าตราสารหนี้ไทยยังมีความเสี่ยงของการขึ้นของดอกเบี้ยที่มากกว่าตลาดคาด
• วงจรของการขึ้นดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังมีความเสี่ยงของการขึ้นของดอกเบี้ยที่มากกว่าตลาดคาด ดังนั้น น่าจะยังคงเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ที่เป็นทิศทางขาขึ้นอยู่ ทาให้ยังคงมุมมอง Slightly Underweight
ด้านตราสารหนี้ต่างประเทศ
• เดือนตุลาคม ราคาตราสารหนี้โลก (Global Aggregate Bond) สามารถทรงตัวได้หลังจากปรับตัวลดลงรุนแรงในเดือนก่อนหน้าหนุนจากความคาดหวังของนักลงทุนที่เชื่อว่า การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆจะเริ่มชะลอตัวลงหลังได้เห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ BoC ที่ 50bps ในช่วงปลายเดือนตุลาคม (ซึ่งต่ากว่าที่ตลาดคาดที่มองว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 75bps)
• ราคาพันธบัตรสหรฐัฯ ปรับตัวลดลง -1% ด้าน US Investment Grade -0.75% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แต่ US High Yield สามารถปรับตัวขึ้นได้กว่า 3%
• ด้านตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (EM Aggregate) ในเดือนนี้มีราคาปรับตัวลงเล็กน้อย 0.6% ซึ่งลงมากกว่าตราสารหนี้โลก
• บลจ. บัวหลวง ยังคงมุมมองสาหรับตราสารหนี้ โดยภาพรวมเนื่องจากเรามองว่าการดาเนินนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางต่างๆ ยังคงตึงตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกดดันราคาตราสารหนี้ แต่ในเชิง Valuation เริ่มเห็นความน่าสนใจ ในตราสารหนี้บางประเภท อย่างเช่น US Gov, US IG, US HY ที่ให้อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงในรอบหลายปี
สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท USD/THB
ค่าเงินบาทในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ปิดที่ระดับ 38.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากสิ้นปีค่าเงินบาทอ่อนค่าประมาณ 12.23% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค (ไม่รวมญี่ปุ่น) และค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยมีค่าเงิน KRW อ่อนค่ามากที่สุดที่ระดับ 16.55% โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่
(+) มีบางช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าหลังถูกกดดันจากคาดการณ์ของตลาดว่า Fed จะชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยจากมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ Fed เริ่มแสดงความกังวลถึงผลกระทบจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ย
(+/-) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดที่ 0.25% สู่ระดับ 1.00% และยังเห็นว่าการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) ยังเป็นแนวทางที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ตลาดบางส่วนมีความผิดหวังจากการคาดว่า กนง. อาจจะขึ้นดอกเบี้ย
ถึง 0.50%
(-) อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงสูง ส่งผลต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด โดยในเดือนต.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ รุ่น 2 ปีและ 10 ปี พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี
(-) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ ยังคงกว้าง
(-) ความกังวลความเสี่ยงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น นักลงทุนจึงเข้าถือครองดอลลาร์ฯ
(-) กระแสเงินทุนของต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นและตราสารหนี้
หมายเหตุ: (+) ส่งผลให้เงิน THB แข็งค่า / (-) ส่งผลให้เงิน THB อ่อนค่า
กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลตอบแทนในระยะสั้นถึงปานกลางสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
• ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนมองไปข้างหน้า 1 ปี หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมน่าจะอยู่ราว 2.2 – 2.6% ต่อปี
B-ENHANCED ลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565
• ลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศมีทั้งหมด 5 กองทุน คือ
- กองทุน Allianz Strategic Bond – RT – USD สัดส่วนการลงทุน 1.99%
• กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ทั่วโลกโลกที่ออกโดยเอกชน รัฐบาล องค์กรเหนือรัฐ และองค์กรท้องถิ่น หรือลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการใช้ตราสารอนุพันธ์ ฐานะการลงทุนในตราสารหนี้ไฮยิลด์และตราสารหนี้จีนอยู่ที่ไม่เกิน 50% และ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุน ตามลำดับ
- กองทุน AXA WF Asian Short Duration Bonds Fund สัดส่วนการลงทุน 1.14%
• เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นลงทุนในประเทศกลุ่ม Asian มีกลยุทธ์ที่ช่วยลดความผันผวน โดยเฉพาะในช่วงที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน (Quantitative Easing) ที่ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
• กองทุนมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในทุกช่วงเวลา ทั้งช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและดอกเบี้ยขาลง และยังทาผลงานได้ดีในช่วงสภาวะ Risk-on (ตลาดหุ้นขาขึ้น) และ สภาวะ Risk-off (ตลาดหุ้นขาลง) ด้วยเช่นกัน
• กองทุนให้ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงในช่วง 5 ปี ดีกว่าดัชนีตราสารหนี้ในภูมิภาคต่างๆ* ทั้งในกลุ่มระดับลงทุน (Investment Grade) และกลุ่มต่ากว่าระดับลงทุน (Non-Investment Grade หรือ High Yield)
• ได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเติบโตของทวีปเอเชียที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ขาดเสถียรภาพ มีอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่า ในขณะที่โดยรวมมีความไม่แน่นอนสูงกว่าเกี่ยวกับแนวทางในการดาเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ - กองทุน AXA WF Emerging Markets Short Duration Bonds สัดส่วนการลงทุน 1.06%
กองทุนสามารถลงทุนได้อย่างไม่มีข้อจากัดที่ถูกตีกรอบโดยดัชนีชี้วัด ซึ่งหมายถึงพอร์ตฟอลิโอสามารถให้น้าหนักกับไอเดียที่ดีที่สุดและหลีกเลี่ยงการลงทุนในตราสารที่มีประเด็นในเชิงลบได้อย่างไม่มีข้อจากัด
• กองทุนสามารถแสวงหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้ตั้งแต่พันธบัตรรัฐบาลที่อยู่ในระดับความเสี่ยงและแต่ให้ผลตอบแทนต่า ไปจนถึงหุ้นกู้เอกชนที่มีระดับความเสียงสูงกว่าแต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน
• เส้นอัตราผลตอบแทนหรือ Yield Curve ของตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ในมีลักษณะแบนราบ ซึ่งหมายถึงการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น “ไม่ทาให้” ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอย่างมีนัยสาคัญ
• ดังนั้น หลักการของกองทุนจึงนาเสนอการปกป้องในตลาดช่วงขาลง และ “ไม่เคย” ให้ผลตอบแทนแบบปีปฏิทินที่เป็นลบเลยตั้งแต่จัดตั้งกองทุน - กองทุน Nomura Global Dynamic Bond Fund Class I USD สัดส่วนการลงทุน 0.58%
• ลงทุนในตราสารหนี้และหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนแบบคงที่หรือผันแปร มีกลยุทธ์การลงทุนที่มีความยืดหยุ่น (unconstrained approach)
• ใช้มุมมองมหภาค (top-down macro view) ร่วมกับการคัดเลือกผู้ออกหลักทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (bottom-up selections) และไม่มีข้อจากัดการลงทุนตามภูมิภาค อุตสาหกรรม และมูลค่าหลักทรัพย์
• ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารหนี้ เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดในระยะสั้น - กองทุน Fidelity Asian Bond Fund Y-Acc-USD สัดส่วนการลงทุน 0.13%
• ลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว ซึ่งจะได้รับประโยชน์โดยเฉพาะในช่วงที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน (Quantitative Easing)
• เน้นตราสารหนี้ในระดับ Investment Grade เพื่อลดความเสี่ยงด้านการผิดนัดชาระหนี้
• แนวโน้มการเติบโตของทวีปเอเชียที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ ของโลก
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต