กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q4/2022

กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q4/2022

กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)

ตราสารหนี้
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สาหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง
• นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปี ปรับขึ้นไปเลยระดับ 4.50% สูงสุดในรอบ 15 ปี ขณะเดียวกันรุ่นอายุ 10 ปี ก็ปรับขึ้นไปเหนือระดับ 4.00% สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี อีกทั้งตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และวันที่ 2-3 พฤศจิกายน FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่ระดับ 3.75-4.00% ตามคาด โดยนับเป็นการปรับขึ้นอัตราสูงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยให้เหตุผลว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ภาวะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่ Fed ให้ความสาคัญอย่างมาก
• แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดาเนินนโยบายการเงินของ กนง. เป็นหลัก โดย กนง. ยังคงยืนยันการดาเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงคือ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและความกังวลถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตข้างหน้า


ตราสารทุน
• ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทาให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง ลดความกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.0% และ Euro Stoxx 50 ปรับเพิ่มขึ้น 9.0% ในเดือนตุลาคม ในระยะข้างหน้า ทิศทางนโยบายการเงิน และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสาหรับแนวโน้มการลงทุน
• เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงในวงกว้างมากขึ้น อาจช่วยจำกัดการขึ้นของ Bond Yield ระยะยาวของสหรัฐฯ และนำมาซึ่งการเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรของดอกเบี้ยขาขึ้นได้ ขณะที่ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกปรับคาดการณ์ลง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับ Higher for Longer จะยังคงเป็นปัจจัยกดดัน Upside ของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า
• ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นโลก ในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% รวมตั้งแต่ต้นปีปรับลดลงเพียง 2.9% เทียบกับตลาดหุ้นโลกที่ยังอยู่ระดับ Bear Market ที่ -22.0%

• เศรษฐกิจไทยยังคงได้แรงหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติ สลับมาเป็นซื้อสุทธิ ที่ 8.7 พันล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ และรวมตั้งแต่ต้นปียังคงเป็นยอดซื้อสุทธิสูงถึงเกือบราว 1.6 แสนล้านบาท ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว โดยสภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ปี 2566 เติบโต 3.7% เทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ IMF คาดการณ์ล่าสุดที่ 2.7% ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งจากรายได้ที่ฟื้นตัวและอัตรากาไรที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากปัจจัยมหภาคที่ชะลอตัวลงน้อยกว่า
• กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มดีขึ้น ในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการกลับมาของภาคการท่องเที่ยว


พอร์ตการลงทุนไตรมาสที่ผ่านมา
B-FLEX : กองทุนลดน้าหนักการลงทุนตราสารหนี้ ในลดสัดส่วนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปีเป็นส่วนใหญ่ มีการเพิ่มสัดส่วนหุ้นกู้อายุ 3-5 ปี อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน และกองทุนได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น โดยเพิ่มน้าหนักหุ้นกลุ่มพลังงาน เดินทางขนส่ง ธนาคาร สื่อสาร และมีเดีย ในขณะที่ลดสัดส่วนหุ้นไฟแนนซ์
B-ACTIVE : กองทุนได้เพิ่มการลงทุนในหุ้นเป็น 56% จาก 50% ณ สิ้นไตรมาสก่อน และลดสัดส่วนในพันธบัตรระยะสั้น โดยได้เข้าลงทุนเพิ่มในหุ้นกลุ่ม สื่อสาร อิเล็คโทรนิคส์ อาหาร และมีเดีย ในขณะที่ลดสัดส่วนหุ้นในกลุ่มพลังงาน ไฟแนนซ์ และ พาณิชย์
B25RMF : กองทุนเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี ลงทุนเพิ่มในหุ้นกู้อายุ 3-5 ปี โดยลดน้ำหนักพันธบัตรและหุ้นกู้อายุปานกลาง-ยาว ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลง ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้น กลุ่มสื่อสาร พลังงาน เดินทางขนส่ง และธนาคาร โดยลดน้าหนักในหุ้นกลุ่ม อาหาร อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง
BFLRMF : กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรและหุ้นระยะกลาง-ยาว โดยเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี และหุ้นกู้ 3-5 ปีในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล อสังหาริมทรัพย์ เดินทางขนส่ง และธนาคาร โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์ และวัสดุก่อสร้าง

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดาเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต