กองทุน BMAPS25, BMAPS55, BMAPS100, BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF

กองทุน BMAPS25, BMAPS55, BMAPS100, BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS25RMF), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS55RMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS100RMF)

ภาพรวมตลาด
• ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือ ลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง กอปรกับ US 10Y Yield และ ค่าเงินสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงเล็กน้อย ลดความกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.0% และ Euro Stoxx 50 ปรับเพิ่มขึ้น 9.0% ในเดือนตุลาคม ในระยะข้างหน้า ทิศทางนโยบายการเงิน และ โมเมนตัมทางเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสาหรับแนวโน้มการลงทุน
• ด้านตลาดตราสารหนี้โลก แม้ว่าจะยังเห็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่ติดลบในเดือน ต.ค. แต่อัตราการติดลบนับว่าปรับตัวลง โดยล่าสุด ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ด้วยการคาดการณ์ถึงอัตราเร่งของการปรับขึ้นดอกเบี้ยจากทาง FED ที่น่าจะชะลอลงจากปัจจุบันที่ปรับขึ้นครั้งละ 0.75% รวมไปถึง เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงในวงกว้างมากขึ้น อาจช่วยจากัดการขึ้นของ Bond Yield ระยะยาวของสหรัฐฯ และนำมาซึ่งการเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรของดอกเบี้ยขาขึ้นได้


พอร์ตการลงทุน
• ในภาพรวมยังคงเน้นที่การกระจายความเสี่ยงในหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (B-GLOBAL) ในขณะที่ยังคงรักษาสถานะการลงทุนบางส่วนในสหรัฐฯ (B-USALPHA) และญี่ปุ่นไว้ (B-NIPPON) โดยผู้จัดการกองทุนมองว่าหุ้นโลกยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จึงยังคงรอจังหวะการลงทุนสะสมเพิ่มเติม และได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงหุ้นไทยด้วย ได้แก่ B-ASIA BKA B-ASEAN และ B-VIETNAM
• นอกจากนี้ ยังคงลงทุนในหุ้นกลุ่ม defensive อย่าง BCARE เพราะเป็นส่วนสำคัญที่รักษาความสมดุลย์ในพอร์ตการลงทุนได้ดี ในส่วนของ Thematic เน้นการลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์พื้นฐานดี และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระยะยาว ได้แก่ B-INNOTECH B-SIP และ B-GLOB-INFRA


มุมมองในอนาคต
• มุมมองสำหรับการทำ Asset Allocation ในระยะถัดไปนั้น ปัจจัยหลักในด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยเฉพาะจาก FED จะผ่อนคลายลงไปบ้าง และมีความหวังจากการเปิดประเทศของจีนมากขึ้นในปีหน้า ทำให้ความผันผวนน่าจะอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับปีนี้ ทว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกปรับคาดการณ์ลง และ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูงเป็นระยะเวลานาน จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า
• ดังนั้น การลงทุนที่จัดวางพอร์ตให้มีความสมดุล การถือครองหุ้นกลุ่ม Defensive ยังคงน่าจะให้ประโยชน์ ขณะที่ตลาดหุ้นของกลุ่มเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น จากทั้งเรื่องของค่าเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะไม่แข็งค่าไปจนทะลุจุดสูงสุดเดิม รวมถึง วัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางในภูมิภาคน่าจะสิ้นสุดในปี 2023 ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้มีความน่าสนใจมากขึ้นและน่าจะกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ในช่วงปีหน้า โดยเฉพาะใน Long-Duration จากอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นอย่างมาก และผ่านพ้นจุดสูงสุดภายในช่วงต้นปี 2023 รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนก็มีความน่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะตราสารหนี้ระดับ Investment Grade

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนาในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดาเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดาเนินงานในอนาคต