มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนส่วนใหญ่ปรับลดลงเกือบทั้ง curve ประมาณ 11-54 bps ยกเว้นช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 11bps ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของพันธบัตรระยะสั้นมีปัจจัยหลักจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น 25bps ช่วงสิ้นเดือน ขณะที่ ระยะกลาง-ยาว ปรับลดลงตามการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหลัก ประกอบกับมีกระแสเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยจำนวนมากในช่วงต้นเดือน
ทั้งนี้ การปรับลดลงของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน มีปัจจัยหลักมาจาก
1) อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงเป็น 7.7% YoY (vs. 8.2% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 7.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงเป็น 6.3% YoY (vs. 6.6% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 6.5% โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (จากที่ทำจุดสูงสุดที่ 9.1% ในเดือนมิถุนายน) และชะลอลงมากกว่าที่คาดในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Fed ชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2) Fed minutes ของการประชุมเดือนพฤศจิกายน มีแนวโน้มไปในทาง Dovish คณะกรรมส่วนใหญ่มองว่า การชะลอการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยใกล้มีความเหมาะสม
ขณะที่ ปัจจัยในประเทศ ได้แก่ 1) กระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในช่วงต้นเดือนมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยสูงมาก โดยซื้อสะสมต่อเนื่อง 10 วันทำการ รวมแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท โดยมีกระจุกตัวหนักๆ 2 วัน คือ ในวันที่ 7 และ 8 ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
2) ในวันที่ 30 พฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจในระยะต่อไป และช่วยลดทอนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. เป็นหลัก ซึ่งมองว่า กนง.จะค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยพิจารณาจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก อีกทั้งในปีหน้านั้นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งทาง Fed ยังจะอยู่ในเส้นทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนถึงต้นปี 2023 แต่น่าจะปรับลดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 25-50 bps/ครั้งแทน
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2565: มุมมองตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนส่วนใหญ่ปรับลดลงเกือบทั้ง curve ประมาณ 11-54 bps ยกเว้นช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 11bps ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของพันธบัตรระยะสั้นมีปัจจัยหลักจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น 25bps ช่วงสิ้นเดือน ขณะที่ ระยะกลาง-ยาว ปรับลดลงตามการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหลัก ประกอบกับมีกระแสเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยจำนวนมากในช่วงต้นเดือน
ทั้งนี้ การปรับลดลงของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน มีปัจจัยหลักมาจาก
1) อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงเป็น 7.7% YoY (vs. 8.2% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 7.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงเป็น 6.3% YoY (vs. 6.6% เดือนก่อน) ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 6.5% โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (จากที่ทำจุดสูงสุดที่ 9.1% ในเดือนมิถุนายน) และชะลอลงมากกว่าที่คาดในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Fed ชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2) Fed minutes ของการประชุมเดือนพฤศจิกายน มีแนวโน้มไปในทาง Dovish คณะกรรมส่วนใหญ่มองว่า การชะลอการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยใกล้มีความเหมาะสม
ขณะที่ ปัจจัยในประเทศ ได้แก่ 1) กระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในช่วงต้นเดือนมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยสูงมาก โดยซื้อสะสมต่อเนื่อง 10 วันทำการ รวมแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท โดยมีกระจุกตัวหนักๆ 2 วัน คือ ในวันที่ 7 และ 8 ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
2) ในวันที่ 30 พฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจในระยะต่อไป และช่วยลดทอนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. เป็นหลัก ซึ่งมองว่า กนง.จะค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยพิจารณาจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก อีกทั้งในปีหน้านั้นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งทาง Fed ยังจะอยู่ในเส้นทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนถึงต้นปี 2023 แต่น่าจะปรับลดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 25-50 bps/ครั้งแทน