โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP®, BBLAM
ในรอบปีที่ผ่านมา การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนสูงครับ สาเหตุหลักๆ ก็มาจากเรื่องเงินเฟ้อ สงครามและราคาหุ้น กองทุนที่พุ่งขึ้นสูงในช่วง 2 ปีของโควิด จากเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ในมุมของคนที่ลงทุนอยู่ ก็แน่นอนครับว่า เราคงไม่สบายใจกับผลขาดทุนที่เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ยังต้องลงทุนต่อ ก็เป็นโอกาสของการสะสม ซึ่งถือว่ามีกองทุนที่น่าสนใจเหมาะสมให้ลงทุนมากมายในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงตอนนี้
ผมลองแบ่งกลุ่มกองทุนที่น่าสนใจลงทุนช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ ได้ประมาณ 5 กลุ่มครับ อาจจะมีบางกองทุนอยู่หลายกลุ่ม เพราะบางกองทุนมีหลายเงื่อนไขที่น่าสนใจ
ในรอบปีที่ผ่านมา การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนสูงครับ สาเหตุหลักๆ ก็มาจากเรื่องเงินเฟ้อ สงครามและราคาหุ้น กองทุนที่พุ่งขึ้นสูงในช่วง 2 ปีของโควิด จากเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ในมุมของคนที่ลงทุนอยู่ ก็แน่นอนครับว่า เราคงไม่สบายใจกับผลขาดทุนที่เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ยังต้องลงทุนต่อ ก็เป็นโอกาสของการสะสม ซึ่งถือว่ามีกองทุนที่น่าสนใจเหมาะสมให้ลงทุนมากมายในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงตอนนี้
1) กลุ่มแรก กลุ่มกองทุนที่ให้ผลงานดีในปีที่ผ่านมาและแนวโน้มเศรษฐกิจก็ดีอย่าง อินเดีย
2) กลุ่มกองทุนที่ลงในรูปแบบประเทศหรือภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มน่าสนใจ ตั้งแต่ระดับปานกลาง ดี ถึงดีมาก ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและการเปิดประเทศหลังโควิด เช่น เวียดนาม จีน ไทย หรือกลุ่มประเทศเอเชีย อาเซียน
3) กลุ่มกองทุนที่เคยโดดเด่น แต่ราคา NAV ในปีที่ผ่านมาร่วงลงมาเยอะ จนถึงระดับราคาน่าจูงใจ เช่น กองทุนเทคโนโลยีต่างๆ
4) กลุ่มกองทุนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น กองทุนกลุ่มเฮลธ์แคร์ กองทุนกลุ่มกิจการโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก หรือกองทุนกลุ่ม Property fund และ REIT และ
5) กองที่มีธีมลงทุนน่าสนใจ บางกองเป็นธีมย่อย บางกองเป็นเมกะเทรนด์ เช่น เทคโนโลยี สุขภาพ ความยั่งยืน กองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ หรืออุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี นวตกรรมเข้าช่วย ทำให้กิจการเติบโต
จะเห็นว่า มีกองทุนที่น่าสนใจเยอะไปหมดครับ แต่นักลงทุนอาจจะต้องดูว่าความน่าสนใจเหล่านั้นตรงกับใจเราและพฤติกรรมของหรือเปล่า
อย่างแรก ต้องเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงได้ ยอมรับการลงทุนในหุ้น ทั้งในและต่างประเทศได้ ถ้าใช่เราลองมาดูกันว่า แล้วเราจะเลือกกองทุนหุ้นที่น่าใจต่างๆ นี้อย่างไร
สิ่งที่ต้องคิด คือ ย้อนกลับมาดูตัวเราครับว่า เป็นนักลงทุนสไตล์ไหน ซื้อแล้วถือยาวๆ ไปเลย หรือเป็นสายคอยสับเปลี่ยนโยกย้าย ถ้าซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีแล้ว ที่ผ่านมามีการสับเปลี่ยนกองทุนไหน ติดตามบ่อยแค่ไหน ติดตามแล้วทำอะไรหรือเปล่า เช่น มีสับเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตไหม เวลากองไหนขึ้นมามีการลดสัดส่วน หรือขาย ย้ายไปกองอื่นรึเปล่า เพราะกองทุนที่เหมาะกับนักลงทุนทั้ง 2 แบบจะแตกต่างกัน
ส่วนใหญ่ที่พบ โดยเฉพาะสายลงทุนกองทุนลดภาษี ร้อยละ 90 จะซื้อแล้วถือยาว อาจจะเปลี่ยนกองทุนตามความนิยม แต่กองเดิมก็ไม่ได้สับเปลี่ยนหรือโยกย้าย
ถ้าเป็นแบบนี้อยากแนะนำว่าตอนเลือกกองทุนที่น่าสนใจ อย่าดูเพราะราคาลงมาน่าสนใจครับ ต้องดูเทรนด์ยาวๆ อาจจะดูได้ทั้งเมกะเทรนด์ที่ไว้ใจได้ยาวๆ อย่างเทคโนโลยี สุขภาพ ความยั่งยืน นวตกรรม และถ้าเป็นประเทศก็เลือกประเทศที่มีศักยภาพการเติบโต มีทิศทางที่ชัด ถ้าการเมืองมีผลต่อนโยบายและเศรษฐกิจเยอะก็ขอให้เลือกประเทศที่การเมืองสงบ แข็งแรง เพราะจะเป็นกลุ่มที่ลงทุนแล้วสบายใจ ระยะสั้นอาจจะไม่โดดเด่น แต่จะค่อยๆ เติบโตกิจการมีกำไรในระยะยาว ความน่ากังวลต่ำ และอาจจะใช้วิธีลงทุนแบบถัวเฉลี่ยไปเลย
แต่ถ้าเป็นนักลงทุนที่ active มีการติดตาม คอยสับเปลี่ยนโยกย้าย ก็สามารถเลือกได้ทุกกลุ่ม แล้วคอยดูว่าปัจจัยที่ทำให้เราซื้อยังอยู่หรือไม่ เช่น ซื้อเพราะราคากองทุนลงมาต่ำ จูงใจให้ซื้อ แต่พื้นฐานกองทุนไม่แน่ใจว่าเหมาะลงทุนยาวๆ หรือไม่ ก็ติดตามดูว่าถ้าราคาขึ้นมาถึงระดับที่พอใจก็ควรจะต้องสับเปลี่ยนโยกย้าย หรือกองทุนนั้นเหมาะสมกับสภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยสูง ก็คอยติดตามหน่อยว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงหรือยัง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนกองตาม
ถ้าเราเข้าใจนิสัยตนเอง เข้าใจข้อดี จุดเด่นของกองทุนในขณะที่เราซื้อ เลือกลงทุนให้สอดคล้องกันก็จะเกิดผลดีกับพอร์ตของเราครับ