ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอตาม Global Trend แต่ก็ยังมี Sector ที่ยัง Outperform อยู่บ้าง

ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอตาม Global Trend แต่ก็ยังมี Sector ที่ยัง Outperform อยู่บ้าง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM

ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอตามทิศทางเศรษฐกิจโล แต่ก็ยังมี Sector ที่ยัง Outperform อยู่บ้างได้แก่กลุ่ม อาหาร ผลไม้สด (ที่จีนและเอเชียมักจะออเดอร์จากไทย) ยานยนต์ และมอเตอร์ไซค์

Key Numbers การส่งออกไทยเดือนม.ค. อยู่ที่ 20,249.5 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.5% YoY ด้านการนำเข้าอยู่ที่ 24,899.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 5.5% YoY เป็นผลให้ดุลการค้าเดือนแรกของปีขาดดุล -4,649.6 ล้านดอลลาร์ฯ

ในรายสินค้า

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -2.7% YoY เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่

  • ข้าว ขยายตัว 72.3% ขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัว ในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐฯ อิรัก และแอฟริกาใต้)
  • ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 124.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยา เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์)
  • ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 50.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเมียนมา)
  • ผลไม้สด ขยายตัว 2.5% (โดยผลไม้ที่ขยายตัว ได้แก่ ทุเรียนสด มะม่วงสด มังคุดสด โดยได้รับออเดอร์ที่เพิ่มขึ้นจากจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย)

ส่วนสินค้าในกลุ่มที่หดตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง

สินค้าในหมวดอุตสาหกรรม หดตัว -5.4% YoY หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน

สำหรับสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่

  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 9.2%
  • อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 72.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน
  • รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 16.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน
  • หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัว 44.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน

กลุ่มสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์

หากพิจารณารายตลาดคู่ค้า พบว่า การส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก โดยในตลาดสำคัญพบว่า ยอดส่งออกไป สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น CLMV หดตัว ขณะที่อาเซียน (5) และ สหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวได้

แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกของไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ การกีดกันทางการค้า รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น