กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS25RMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS55RMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS100RMF)
พอร์ตการลงทุน
• ในช่วงปลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้ ผู้จัดการกองทุนได้ใช้โอกาสขายสินทรัพย์บางส่วนในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้นและถือครองเงินสดในระดับที่มากกว่าปกติ เพื่อรอจังหวะในการกลับเข้าซื้อ โดยผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกและได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นของประเทศในกลุ่มเอเชีย ทั้งจากเรื่องของเงินทุนไหลเข้า เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง การปรับประมาณการณ์ด้านกำไร การผ่อนคลายมาตรการทางด้าน Zero-Covid ของจีน ที่นอกจากจะส่งผลเชิงบวกกับเศรษฐกิจจีนในระยะถัดไปแล้วนั้น จะส่งผลบวกกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า หรือประเทศที่เป็นจุดมุ่งหมายทางด้านการท่องเที่ยวของชาวจีนอีกด้วย ซึ่งผลบวกจากการทยอยผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid ของจีนก็น่าจะเกิดขึ้นในฝั่งเอเชียมากกว่า
• กองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในจีน หรือ Overweight ด้วยมองถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปิดประเทศ และคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกำไรบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวลงจากการที่รับรู้ปัจจัยในเรื่องของ Reopening ไปมากแล้ว ประกอบกับปัจจัยด้าน Global Sentiment อย่างเช่น การปรับคาดการณ์เรื่อง Hawkish Fed ของตลาดที่ส่งผลให้ Bond Yield และค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น
มุมมองในอนาคต กลยุทธ์การทำ Asset Allocation ในระยะถัดไปนั้น จากภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในปี 2023 ที่น่าจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก หรือมี Downside Risk ค่อนข้างจากัด ตามวัฏจักรของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านนโยบายการเงินและเงินเฟ้อที่จะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2022 ในขณะที่ระดับมูลค่าซื้อขาย (Valuation) ในหลายๆ ประเทศนั้น ปรับลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ดังนั้น การให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2022 จะให้ประโยชน์ โดยมีมุมมองเชิงบวกในหุ้นกลุ่มประเทศเอเชีย ในด้านการลงทุนในตราสารหนี้ น่าจะกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ในช่วงปี 2023 อัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาทำให้ความน่าสนใจของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของพันธบัตรภาครัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชน โดยภาพของอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยลดลงส่งผลบวกให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรน่าจะปรับตัวลงไปด้วย
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้
ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดาเนินงานในอนาคต