โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM
Bottom Line (สรุปจากที่อ่านมติ) กนง. มองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการส่งออก แต่กลับ Revise Down GDP ลงจากประมาณการครั้งก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กนง. มองว่าทรงตัวต่ำ แต่ห่วง Core Inflation ที่จะคาสูง จึงตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ
ความเห็นส่วนตัว เท่าที่มองประมาณการเศรษฐกิจในรอบนี้ เห็นว่า กนง. ดูจะ Hawkish Talk เกินไปมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่เผยออกมา จึงคิดว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป มองไปข้างหน้ากนง. น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้สะท้อนการขยายตัวอย่างโดดเด่นในปีนี้
รายละเอียดของมติ กนง.
- เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน
- การส่งออกสินค้าเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากที่หดตัวในช่วงก่อนหน้า และคาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
- กนง.ไม่ห่วงอัตราเงินเฟ้อ Overshoot แต่ห่วงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวสูง // อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปีนี้ แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูงและมีความเสี่ยงด้านสูง จากการส่งผ่านต้นทุนและแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ // คณะกรรมการฯ เห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้
- ประมาณการเศรษฐกิจปี 2023-24 ไม่ต่างจากประมาณการรอบที่แล้วมากนัก // เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทุกสัญชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลบวกต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน รวมถึงเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว // อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2023 โดยจะอยู่ที่ 2.9% และ 2.4% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ ตามแรงกดดันด้านอุปทานจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันที่ทยอยคลี่คลาย //อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากปี 2022 มาอยู่ที่ 2.4% ในปี 2023 ก่อนจะทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.0% ในปี 2024 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญภาวะต้นทุนสูงต่อเนื่อง อีกทั้งมีแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ