มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 1-5 bps. จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง 10-27 bps. ตามการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย เดือนมีนาคม มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.50% เป็น 1.75% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสููงในรอบหลายปี โดยมองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการส่งออก นอกจากนี้ เดือนมีนาคมมีประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 3.0% ตามการคาดการณ์ของตลาด ท่ามกลางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงยาวนาน แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยต่อจากนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพในภาคสถาบันการเงิน เช่น ประเด็น SVB และ Credit Suisse
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.75-5.00% ตามคาดและส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ขณะที่ ประธาน Fed ระบุยังไม่คิดถึงเรื่องการลดดอกเบี้ยในปีนี้ แม้ว่าจะเกิดปัญหาในสถาบันการเงินจากการปิดตัวลงของ Silicon Valley Bank (SVB) และทำให้ตลาดเกิดความกังวลว่า จะเกิดปัญหาการแห่ถอนเงินและการขาดทุนในตราสารหนี้ที่ถือครองจะลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 7-2 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 4.25% ตามคาด โดยระบุว่า หากมีหลักฐานว่า แรงกดดันด้านราคาคงอยู่หรือเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมก็มีความจำเป็น ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยน่าจะสิ้นสุดลง หากแรงกดดันเงินเฟ้อไม่มากไปกว่านี้
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งยังคงมองว่า มีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกในปีนี้ โดยในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่จากนโยบายการเงินตึงตัวทั่วโลกที่ยังมีแนวโน้มต่อเนื่อง รวมทั้ง Fed ที่แม้ว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ประกอบกับเงินเฟ้อไทยยังคงอยู่ในระดับสูงเกินเป้าหมายของ ธปท. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว
Fund Comment
Fund Comment มีนาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 1-5 bps. จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง 10-27 bps. ตามการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย เดือนมีนาคม มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.50% เป็น 1.75% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสููงในรอบหลายปี โดยมองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการส่งออก นอกจากนี้ เดือนมีนาคมมีประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 3.0% ตามการคาดการณ์ของตลาด ท่ามกลางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงยาวนาน แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยต่อจากนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพในภาคสถาบันการเงิน เช่น ประเด็น SVB และ Credit Suisse
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.75-5.00% ตามคาดและส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ขณะที่ ประธาน Fed ระบุยังไม่คิดถึงเรื่องการลดดอกเบี้ยในปีนี้ แม้ว่าจะเกิดปัญหาในสถาบันการเงินจากการปิดตัวลงของ Silicon Valley Bank (SVB) และทำให้ตลาดเกิดความกังวลว่า จะเกิดปัญหาการแห่ถอนเงินและการขาดทุนในตราสารหนี้ที่ถือครองจะลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 7-2 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 4.25% ตามคาด โดยระบุว่า หากมีหลักฐานว่า แรงกดดันด้านราคาคงอยู่หรือเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมก็มีความจำเป็น ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยน่าจะสิ้นสุดลง หากแรงกดดันเงินเฟ้อไม่มากไปกว่านี้
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งยังคงมองว่า มีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกในปีนี้ โดยในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่จากนโยบายการเงินตึงตัวทั่วโลกที่ยังมีแนวโน้มต่อเนื่อง รวมทั้ง Fed ที่แม้ว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ประกอบกับเงินเฟ้อไทยยังคงอยู่ในระดับสูงเกินเป้าหมายของ ธปท. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว