กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED) Q2/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED) Q2/2023

ภาพรวมตลาด
ด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชาระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้าถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ ล่าสุด แพคเวสต์ แบงคอร์ป บริษัทแม่ของธนาคารแปซิฟิก เวสเทิร์น แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารประจาภูมิภาคของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกาลังสารวจทางเลือกด้านกลยุทธ์ โดยได้ติดต่อผู้ที่อาจเป็นหุ้นส่วนหรือนักลงทุนเพื่อเจรจา ข่าวนี้ยิ่งสร้างความกังวลต่อระบบธนาคารของสหรัฐอเมริกามากขึ้นไปอีก

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 4 พ.ค. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 3.75% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.25% และ 4.00% ตามลาดับ โดย ECB ระบุว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มอยู่สูงเกินไปและนานเกินไป ทาให้คาดว่า ECB จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ด้านผลการประชุม เมื่อวันที่ 27 – 28 เมษายน 2566 มีคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องตามคาด ในการประชุมครั้งแรกของอูเอดะ ผู้ว่า BOJ คนใหม่ ด้วยมติเอกฉันท์ให้ (1) คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% (2) ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve Control) อายุ 10 ปีที่ใกล้ศูนย์ และ (3) คงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไม่จำกัดที่ 0.5% โดย BOJ ส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แต่ไม่ระบุถึงโอกาสการคงดอกเบี้ย หรือลดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำกว่าปัจจุบันอย่างที่ระบุไว้ในการประชุมครั้งก่อนๆ และส่งสัญญาณถึงการพิจารณานโยบายการเงินในระยะยาว นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 2023 ลงเป็น 1.4% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.7% พร้อมเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อเป็น 1.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.6% ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นรอบด้าน

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนเมษยน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-8 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 9 -18 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566

ประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปี ตามคาด ผลจากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งสัญญาณโทน Hawkish ทาให้ตลาดเพิ่มน้ำหนักโอกาสที่จะเห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.00% โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ การส่งออกจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

ด้านเงินเฟ้อยังคงมองมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในกลางปีนี้ โดย ธปท. พร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้ ธปท. ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.6% ในปีนี้ และ 3.8% ในปีหน้า จากเดิมที่คาด 3.7% และ 3.9% ตามลำดับ จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปรับขึ้นคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้เป็น 28 ล้านคน จากที่คาดไว้เดิม 22 ล้านคน และปรับเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็น 35 ล้านคนในปีหน้า ทางด้านเงินเฟ้อ ธปท. ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อลงเล็กน้อย จาก 3.0% ในปีนี้ เป็น 2.9% และปรับเพิ่มเงินเฟ้อปีหน้าเป็น 2.4% จาก 2.1%

ด้านตราสารหนี้ไทย
• ในเดือน เม.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทน 10 ปี ของพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 2.54% (จาก 2.40%) ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความเสี่ยงด้าน Bond Supply ที่จะออกมาในช่วงปลายปี 2023 จะน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อการลงทุนในตราสารหนี้ไทยในระยะข้างหน้า
• บลจ.บัวหลวง มีมุมมองการลงทุนในตราสารหนี้ไทยที่ Slightly Overweight โดยมองว่า ปัจจัยกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง และพันธบัตรไทย น่าจะสามารถทนต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่อาจจะถดถอยได้ อย่างไรก็ดี เรายังเห็นความเสี่ยง เนื่องจาก BoT ยังคงมุมมองของการดาเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่องจากรอบการประชุมรอบก่อน

ด้านตราสารหนี้ต่างประเทศ
• Yield ของพันธบัตรสหรัฐ เคลื่อนไหว Sideway ระหว่างเดือน แต่ปิดเดือนในระดับที่สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาเล็กน้อย จากที่นักลงทุนเฝ้ารอผลของการประชุม FOMC ในเดือน พ.ค. และได้ปรับความคาดหวังของอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
• Risk/Reward ของการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยระยะเวลาการถือครอง 1 ปี ยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นถึงกลาง โดยปัจจุบัน หากยิลด์ปรับขึ้น 100bps การถือครองพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5Y นักลงทุนอาจจะขาดทุนเพียง 0.3% เท่านั้น ในขณะที่ หากยิลด์ปรับลดลง ไม่ว่าจะมาจากการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ย หรือเศรษฐกิจถดถอย ผลตอบแทนของการถือครองพันธบัตรรัฐบาล จะน่าสนใจ 5Y (+8.6%)
• บลจ.บัวหลวง ยังคงมุมมองสาหรับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่ Slightly Overweight เนื่องจากอัตราผลตอบแทนยังคงน่าสนใจ ในขณะที่ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจถดถอย จะช่วยหนุนราคาพันธบัตรฐบาล และด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูง จึงมองว่าเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับนักลงทุนที่หาผลตอบแทนจากกระแสเงินสด

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท USD/THB
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง – ยาว แต่อาจชะลอตัวลงในระยะสั้น
O Interest Rate Path: คาดการณ์ ธปท. ปรับ Policy Rate ขึ้นต่ออีกในปี 2566 ในขณะที่ ตลาดคาดการณ์ Fed ใกล้ Pause (THB Upside)
O Inflation Expectations: ปรับลงสู่ Target Range ของ ธปท. (headline CPI = 2.83%, March ’23, และคาดว่า ปรับลดลงต่อในระยะข้างหน้า) (THB Sideways)
O Growth Expectations: Economic Activity (Tourism และ Consumption) ดีขึ้นใน Q1 แต่ Export ชะลอลง; Business Sentiment และ Consumer Confidence บ่งชี้แนวโน้ม Growth ที่ดี (THB Upside)
O Dividend Season: มี.ค. – มิ.ย. (THB Downside)
O ความไม่แน่นอนด้านการเมืองยังไม่สนับสนุน Foreign Flows (THB Downside)


กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลตอบแทนในระยะสั้นถึงปานกลางสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
• ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนมองไปข้างหน้า 1 ปี หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมน่าจะอยู่ราว 1.4 – 2.0% ต่อปี

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต