เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า “ธนาคารกลางอินเดีย” มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) ไว้ที่ 6.50% สำหรับการประชุมนโยบายครั้งที่ 2 ติดต่อกันในวันพฤหัสบดี แต่ส่งสัญญาณว่า ภาวะการเงินจะยังคงตึงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งมีสมาชิก 3 คนจากธนาคารกลางอินเดีย (RBI) และสมาชิกภายนอกอีก 3 คน คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรไว้ที่ 6.50% โดยก่อนหน้านี้ อินเดียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2.50% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565
ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยของอินเดีย ตรงกันข้ามกับการดำเนินการของธนาคารกลางอื่นๆ โดยธนาคารกลางรายใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกลางออสเตรเลีย และธนาคารแห่งประเทศแคนาดา สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดในสัปดาห์นี้ ด้วยการกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ
ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินเดียจะแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 4.70% ในเดือนเมษายน นักวิเคราะห์ไม่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอินเดียจะลดลงสู่เป้าหมายระยะกลางของ RBI ที่ 4% ในลักษณะที่ยั่งยืน
Shaktikanta Das ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย กล่าวขณะประกาศการตัดสินใจของ MPC ว่า “เป้าหมาย คือ การบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 4% และการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบความสะดวกสบายที่ 2-6% นั้นไม่เพียงพอ”
คณะกรรมการฯ จะดำเนินการทางการเงินเพิ่มเติมทันทีและเหมาะสมตามที่จำเป็น เพื่อให้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไว้อย่างมั่นคง และทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงสู่เป้าหมาย
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของอินเดียสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 7.00% เทียบกับ 6.99% ก่อนการตัดสินใจ เนื่องจากธนาคารกลางส่งสัญญาณว่า ยังคงมุ่งเน้นไปที่การลดอัตราเงินเฟ้อลงอีก รูปีอินเดียเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ 82.5750 รูปีเทียบดอลลาร์
คณะกรรมการฯ ระบุด้วยว่า ค่าใช้จ่ายด้านทุนที่เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลกลางของอินเดีย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง และการเติบโตของสินเชื่อธนาคารที่แข็งแกร่ง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมการลงทุน แต่อุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อแนวโน้มดังกล่าว
ที่มา: รอยเตอร์