มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนมิถุนายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 3-12 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 31 พ.ค. 2023
การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนหนึ่ง เป็นผลจากท่าทีของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงาน Monetary Policy Forum ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ธปท. แสดงให้ถึงความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตและความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง รวมถึงมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับ 3.6% ในปี 2023 และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2024 แรงส่งที่สำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในขณะที่ ภาคการส่งออกสินค้ามองว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปีนี้คาดว่าจะติดลบ แต่จะเห็นการขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และจะกลับมาเป็นบวกได้ในปี 2024 อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด และความไม่แน่นอนทางการเมือง
สำหรับมุมมองเงินเฟ้อ ธปท. เห็นว่า เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลงจากแรงกดดันด้านอุปทานที่เริ่มลดลงจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันในประเทศ ขณะที่ ราคาอาหารสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 2.5% กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ 1-3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับอดีต และลดลงช้าเมื่อเมื่อกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.0% สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การส่งผ่านต้นทุนที่อาจสูงและเร็วกว่าคาดจากต้นทุนที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้ส่งผ่าน นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะต่อไป เช่น นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากสถานการณ์เอลนิโญ เป็นต้น
ในส่วนของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 13-14 มิ.ย. เฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% เพื่อขอเวลาในการพิจารณาความเหมาะสมของการเพิ่มการตึงตัวของนโยบายการเงิน โดยค่ากลาง dot plot ของสมาชิกเฟดปรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 5.1% เป็น 5.6% เฟดประเมินว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานยังคงขยายตัวได้ดี ระบบธนาคารยังคงมีความแข็งแกร่ง เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย เฟดมองว่าใกล้ถึงจุดสิ้นสุดวงจรการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่ต้องการเห็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าเงินเฟ้อลดลงกลับสู่เป้าหมาย และส่งสัญญาณไม่ปรับลดดอกเบี้ยภายในปีนี้
สำหรับประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 15 มิ.ย. อีซีบีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ตามที่ตลาดคาด ถึงแม้เงินเฟ้อจะชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง อีซีบีส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ระบุความไม่แน่นอนด้านเงินเฟ้อยังสูงมาก
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า ปริมาณพันธบัตรเสนอขายที่ลดลงในไตรมาสสี่จากความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลจะยังเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาพันธบัตร อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจากมุมมองของ ธปท. มีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 2 ส.ค. หากมีข้อมูลเข้ามาสนับสนุน สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมีแนวโน้มผันผวนตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนมิถุนายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 3-12 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 31 พ.ค. 2023
การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนหนึ่ง เป็นผลจากท่าทีของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงาน Monetary Policy Forum ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ธปท. แสดงให้ถึงความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตและความพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง รวมถึงมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับ 3.6% ในปี 2023 และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2024 แรงส่งที่สำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในขณะที่ ภาคการส่งออกสินค้ามองว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปีนี้คาดว่าจะติดลบ แต่จะเห็นการขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และจะกลับมาเป็นบวกได้ในปี 2024 อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด และความไม่แน่นอนทางการเมือง
สำหรับมุมมองเงินเฟ้อ ธปท. เห็นว่า เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลงจากแรงกดดันด้านอุปทานที่เริ่มลดลงจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันในประเทศ ขณะที่ ราคาอาหารสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 2.5% กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ 1-3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับอดีต และลดลงช้าเมื่อเมื่อกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.0% สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การส่งผ่านต้นทุนที่อาจสูงและเร็วกว่าคาดจากต้นทุนที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้ส่งผ่าน นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะต่อไป เช่น นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากสถานการณ์เอลนิโญ เป็นต้น
ในส่วนของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 13-14 มิ.ย. เฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% เพื่อขอเวลาในการพิจารณาความเหมาะสมของการเพิ่มการตึงตัวของนโยบายการเงิน โดยค่ากลาง dot plot ของสมาชิกเฟดปรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 5.1% เป็น 5.6% เฟดประเมินว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานยังคงขยายตัวได้ดี ระบบธนาคารยังคงมีความแข็งแกร่ง เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย เฟดมองว่าใกล้ถึงจุดสิ้นสุดวงจรการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่ต้องการเห็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าเงินเฟ้อลดลงกลับสู่เป้าหมาย และส่งสัญญาณไม่ปรับลดดอกเบี้ยภายในปีนี้
สำหรับประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 15 มิ.ย. อีซีบีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ตามที่ตลาดคาด ถึงแม้เงินเฟ้อจะชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง อีซีบีส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ระบุความไม่แน่นอนด้านเงินเฟ้อยังสูงมาก
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า ปริมาณพันธบัตรเสนอขายที่ลดลงในไตรมาสสี่จากความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลจะยังเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาพันธบัตร อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจากมุมมองของ ธปท. มีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 2 ส.ค. หากมีข้อมูลเข้ามาสนับสนุน สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมีแนวโน้มผันผวนตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ