กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ (B-IR-FOF)
กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเลี้ยงชีพ
(B-IR-FOFRMF)
“ผลการดำเนินงานของ PF&REITs ในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโต โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเปิดประเทศเต็ม
รูปแบบ และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อ PF&REITs กลุ่มสินทรัพย์ประเภท Hotel ทั้งในประเทศไทย และสิงคโปร์ รวมทั้งกลุ่ม Retail ในไทย”
“ปัจจุบันกองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในไทยมากกว่าสิงคโปร์ จากส่วนต่างอัตราเงินปันผลที่มากกว่าเป็นหลัก (7.5% ของไทยและ 5.5% ของสิงคโปร์) เมื่อเทียบกันในอดีตส่วนต่างเงินปันผลจะอยู่ที่ประมาณ 1% ในด้านกลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนให้น้ำหนักในกลุ่ม Retail และ Industrial จากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก มากกว่ากลุ่ม Office ที่ได้รับแรงกดดันจากภาวะ oversupply และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีลักษณะ Hybrid มากขึ้น”
ภาพรวมตลาด
• ดัชนีของกลุ่ม Property Fund / REIT (SETPREIT) ปรับตัวลดลง -9.5% ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2566 เป็นการปรับตัวลดลง มากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET Index ที่ ลดลง -6.7% เมื่อดูตามรายอุตสาหกรรมย่อยกลุ่ม Exhibition Centre +4.8% และกลุ่ม Industrial +0.6% ในขณะที่ กลุ่ม Retail -22.0% และกลุ่ม Office -13.4% โดยกลุ่ม Retail ได้รับผลกระทบหลักๆ จาก CPNREIT ที่ปรับลดลงอย่างมาก จากความกังวลเรื่องผลกระทบจากการต่อสัญญาและอาจต้องมีการเพิ่มทุนจำนวนมาก ในโครงการเซ็นทรัลปิ่นเกล้าและเซ็นทรัลพระราม สอง และกลุ่ม Office ปรับตัวลดลงจากความกังวลเรื่องอุปสงค์ฟื้นตัวช้า ในขณะที่ มีอุปทานสำนักกงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
• ราคาของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure Fund) ปรับตัว ลดลง -17.1% ตั้งแต่ต้นปี ได้รับแรงกดดันจาก DIF จากความกังวลผลกระทบจาก DTAC ควบรวมกับ TRUE และความ สามารถในการจ่ายปันผลที่คาดว่าจะลดลง
• ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี ( Yield Spread) สำหรับกลุ่ม Property Fund / REIT อยู่ที่ 4.50% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 3.3% และสำหรับ Yield Spread กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 6.3% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 5.10 ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาล 10 ปีของไทย ณ สิ้ น เดือน กรกฎาคม อยู่ที่ 2.60%
พอร์ตการลงทุน
• ผู้จัดการกองทุนมองว่า ในปีที่ผ่านมา การลงทุนใน REIT ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในปีนี้ทั้ง Fed และ กนง. ของไทย จะยังปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีก แต่เริ่มมีการส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นและมีแนวโน้มของการใกล้หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันได้ปรับตัวลดลง ซึ่งทำให้ PF&REITs ในไทยและสิงคโปร์ จะมีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดี เพราะกองทุนเหล่านี้จะได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยที่นิ่งหรือเป็นขาลง และเศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้
• นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของ PF&REITs ในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโต โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อ PF&REITs กลุ่มสินทรัพย์ประเภท Hotel ทั้งในประเทศไทย และสิงคโปร์ รวมทั้งกลุ่ม Retail ในไทย
• ปัจจุบันกองทุนให้น้ำหนักการลงทุน ในไทยมากกว่าสิงคโปร์ จากส่วนต่างอัตราเงินปันผลที่มากกว่าเป็นหลัก ( 7.5 ของไทย และ 5.5 ของสิงคโปร์ ) เมื่อเทียบกันในอดีตส่วนต่างเงินปันผลจะอยู่ที่ประมาณ 1%
• ในด้านกลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนให้น้ำหนักในกลุ่ม Retail และ Industrial จากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก มากกว่ากลุ่ม Office ที่ได้รับแรงกดดันจากภาวะ oversupply และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีลักษณะ Hybrid มากขึ้น
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนาในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วน หรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้