ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนกันยายนทำผลตอบแทนติดลบ 4.1% เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการที่เฟดส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 4.5% ในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown หากร่างกฎหมายงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการลดอุปทานน้ำมันลง และความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลกับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นทั่วโลก โดยในระดับ Valuation สูง ในส่วนของดัชนี MSCI ACWI มีการซื้อขายที่ Forward PE15.6x ซึ่งปรับตัวลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าไม่ได้แพงมาก แต่ในทางกลับกัน Global Earnings Yield Gap กลับทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ส่งผลทำให้หุ้นมีความน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล โดยเรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นโลกอยู่ในช่วงเวลาการปรับฐานตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีเข้ามามากขึ้น
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนปรับตัวลดลง 6% จากเดือนที่ผ่าน และปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเกิดความกังวลกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ เช่น Digital Wallet ซึ่งนโยบายนี้ทำให้ระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบระดับเพดานที่ 70% และรัฐบาลมีโอกาสในการขาดดุลงบประมาณมากขึ้น หรือการลดค่าไฟ ซึ่งการปรับลดค่า FT ส่งผลทำให้หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าถูกแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวกลับยังไม่เห็นความชัดเจน สำหรับเศรษฐกิจไทยล่าสุด ธปท. มีการปรับลด GDP ไทยในปีนี้ลงเหลือ 2.8% จากการขยายตัวเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากภาคการส่งออกสินค้า และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะการอ่อนค่าของเงินบาท การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ความล่าช้าของงบประมาณประจำปีที่ส่งผลต่อการลงทุน จึงทำให้ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุนในระยะสั้น การลงทุนระยะสั้นยังคงเน้นในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้น อย่างกลุ่มการบริโภคและท่องเที่ยว รวมถึงหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการในครึ่งหลังจะออกมาดีเป็นหลัก
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนกันยายนทำผลตอบแทนติดลบ 4.1% เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการที่เฟดส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 4.5% ในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown หากร่างกฎหมายงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการลดอุปทานน้ำมันลง และความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลกับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นทั่วโลก โดยในระดับ Valuation สูง ในส่วนของดัชนี MSCI ACWI มีการซื้อขายที่ Forward PE15.6x ซึ่งปรับตัวลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าไม่ได้แพงมาก แต่ในทางกลับกัน Global Earnings Yield Gap กลับทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ส่งผลทำให้หุ้นมีความน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล โดยเรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นโลกอยู่ในช่วงเวลาการปรับฐานตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีเข้ามามากขึ้น
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนปรับตัวลดลง 6% จากเดือนที่ผ่าน และปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเกิดความกังวลกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ เช่น Digital Wallet ซึ่งนโยบายนี้ทำให้ระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบระดับเพดานที่ 70% และรัฐบาลมีโอกาสในการขาดดุลงบประมาณมากขึ้น หรือการลดค่าไฟ ซึ่งการปรับลดค่า FT ส่งผลทำให้หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าถูกแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวกลับยังไม่เห็นความชัดเจน สำหรับเศรษฐกิจไทยล่าสุด ธปท. มีการปรับลด GDP ไทยในปีนี้ลงเหลือ 2.8% จากการขยายตัวเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากภาคการส่งออกสินค้า และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะการอ่อนค่าของเงินบาท การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ความล่าช้าของงบประมาณประจำปีที่ส่งผลต่อการลงทุน จึงทำให้ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุนในระยะสั้น การลงทุนระยะสั้นยังคงเน้นในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้น อย่างกลุ่มการบริโภคและท่องเที่ยว รวมถึงหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการในครึ่งหลังจะออกมาดีเป็นหลัก