มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนต.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปียังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากแรงกดดันจาก ทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงกัดดันตลาดมาจากความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการแจกเงินดิจิทัลที่อาจต้องใช้วงเงินสูงถึง 560,000 ล้านบาท ขณะที่ ปัจจัยภายนอกประเทศมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี เป็นผลมาจาก
1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและยอดค้าปลีกที่ยังขยายตัวดี
2) สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล – กลุ่มฮามาส ที่ปะทุขึ้นในช่วงกลางเดือนต.ค.
3) ความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวลดลงตามความต้องการของนักลงทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคาพันธบัตรระยะยาว
สำหรับผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย. เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย Fed มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ รายงานการประชุมของ Fed ออกมาใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน ซึ่ง Fed มีมุมมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีทิศทางการขยายตัวที่แข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 การจ้างงานยังคงอยู่ในระดับดี และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ Fed แสดงความกังวลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม Fed ยังคงเปิดช่องต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปหากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อในระยะยาวของ Fed
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล – กลุ่มฮามาสที่จะขยายวงกว้างไปยังกลุ่มประเทศอาหรับหรือไม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางราคาน้ำมันและแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดยังคงให้ความสนใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งเรื่องมาตรการแจกเงินดิจิทัล และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการขาดดุลทางการคลังและปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะออกสู่ตลาดแรกในอนาคต
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนต.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปียังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากแรงกดดันจาก ทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงกัดดันตลาดมาจากความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการแจกเงินดิจิทัลที่อาจต้องใช้วงเงินสูงถึง 560,000 ล้านบาท ขณะที่ ปัจจัยภายนอกประเทศมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี เป็นผลมาจาก
1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและยอดค้าปลีกที่ยังขยายตัวดี
2) สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล – กลุ่มฮามาส ที่ปะทุขึ้นในช่วงกลางเดือนต.ค.
3) ความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวลดลงตามความต้องการของนักลงทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคาพันธบัตรระยะยาว
สำหรับผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย. เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย Fed มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ รายงานการประชุมของ Fed ออกมาใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน ซึ่ง Fed มีมุมมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีทิศทางการขยายตัวที่แข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 การจ้างงานยังคงอยู่ในระดับดี และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ Fed แสดงความกังวลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม Fed ยังคงเปิดช่องต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปหากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อในระยะยาวของ Fed
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล – กลุ่มฮามาสที่จะขยายวงกว้างไปยังกลุ่มประเทศอาหรับหรือไม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางราคาน้ำมันและแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดยังคงให้ความสนใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งเรื่องมาตรการแจกเงินดิจิทัล และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการขาดดุลทางการคลังและปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะออกสู่ตลาดแรกในอนาคต