โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM
จุดประสงค์โครงการ
- กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น โดยมี “ประชาชนทุกภาคส่วนเป็นกลไกที่สำคัญผ่านการบริโภคและการลงทุน”
- วางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและ E-Government ซึ่งเป็นการวางและแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศในระยะยาว
วงเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจรวมมูลค่า 6 แสนล้านบาท
- ผ่านโครงการ Digital Wallet 5 แสนล้านบาท ครอบคลุม 50 ล้านคน และอีก 1 แสนล้านบาท ในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ
Main Idea ของ Digital Wallet
- แจกเงิน 1 หมื่นบาท ให้ประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 7 หมื่นบาท หรือเงินฝากทุกบัญชีรวมกันน้อยกว่า 5 แสนบาท สามารถใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่ ในช่วงเวลา 6 เดือน จะต้องตี๊ดจ่ายกันแบบ Face-to-Face
เงื่อนไขสินค้าภายใต้โครงการ Digital Wallet
สินค้าที่ซื้อได้
- ประชาชนจะสามารถจะใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น
สินค้าที่ซื้อไม่ได้
- ไม่สามารถใช้กับบริการได้
- ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ได้
- ไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม และผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
- ไม่สามารถนำไปซื้อบัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณีได้
- ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ได้
- ไม่สามารถจ่ายค่าเรียน ค่าเทอม ได้
- ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้
- แลกเป็นเงินสดไม่ได้ แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆ ไม่ได้
เงื่อนไขของผู้ขาย
- ใช้ซื้อสินค้าได้ทุกร้านค้า ไม่ได้จำกัดแต่ร้านที่อยู่ในระบบภาษี
- ร้านค้าไม่จำเป็นต้องจด VAT (ใน The Standard เขียนผิด รัฐบาลบอกว่าไม่จำเป็นต้องจด VAT แต่ใน The Standard เขียนว่า ต้องไม่จด VAT)
- ร้านค้ารถเข็น ร้านโชว์ห่วย ร้านค้าที่อยู่บนแอพเป๋าตัง ใช้ได้หมด แต่ต้องมีการลงทะเบียนรับสิทธิ และร้านค้าที่จะขึ้นเงินได้ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น
ช่องทางการใช้ Digital Wallet
- จะใช้แอปฯ เป๋าตัง ในการแจกเงินดิจิทัล โดยมีระบบบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง
แหล่งเงินทุน
- พ.ร.บ.เป็นวงเงิน 5 แสนล้านบาท โดยให้กฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด เพื่อให้รัฐบาลกู้เงินในจำนวนดังกล่าว เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยจะมีการระบุจุดประสงค์ของการกู้เงินให้ชัดเจน
- นายกฯ ได้กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งที่ออกเป็น พ.ร.บ. เพราะทำตามคำแนะนำของผู้ว่า ธปท. และต้องการทำให้โปร่งใส
ระยะเวลาโครงการ
- จะใช้เวลาในการให้กฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายปลายปีนี้ หลังจากนั้น จะเข้าสู่สภาช่วงต้นปีหน้า และเปิดให้ประชาชนใช้เดือนพฤษภาคมปีหน้า
สำหรับผู้ที่ไม่เข้าข่ายการใช้ Digital Wallet
- รัฐบาลจะออกโครงการ e-Refund ให้คนไทยสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลจากการซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โดยให้ใบกำกับภาษี มาประกอบการยื่นภาษีบุคคล โครงการนี้จะเริ่มเดือนม.ค.ปี 2567
ข้อโต้แย้ง
- คุณ ศิริกัญญา ตันสกุล จากพรรคก้าวไกล กล่าวว่า โครงการ Digital Wallet นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ญี่ปุ่น Link โดยผลงานวิจัย กล่าวว่า โครงการนั้น ช่วยกระตุ้นการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน (เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก) ได้ 0.1-0.2 เท่าของเงินที่ได้เท่านั้น และไม่มีผลช่วยกระตุ้นการซื้อสินค้าไม่คงทน (อาหาร น้ำมัน) หรือสินค้าบริการได้เลย
- ต่อมา คุณสิริกัญญา ได้ให้ข้อสังเกตในเชิง Conspiracy Theory ว่า การใช้แหล่งเงินทุนผ่านการออก พรบ.กู้เงินนั้นอาจจะเป็นวิธีการหาทางลงสำหรับพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพระราชบัญญัติกู้เงิน 5 แสนล้านบาท ขัดต่อมาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ซึ่งหากพรบ.นี้ไม่ผ่าน พรรคเพื่อไทยอาจใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า รัฐบาลได้ทำดีที่สุดแล้ว และโบ้ยไปว่า เป็นความผิดของศาลรัฐธรรมนูญ ในการปัดตกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล