ความไม่สงบทางการเมืองในอิตาลีและสเปน ป่วนตลาด

BF Economic Research 

  • สถานการณ์การเมืองในอิตาลีมีความไม่แน่นอน หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
  • สำหรับเหตุการที่เกิดขึ้น นายแซร์โจ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วัย 64 ปีประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีเทคโนแครต ของอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยนายคอตตาเรลลีมีภารกิจทำงบประมาณชั่วคราวมุ่งเนินการปรับลดหนี้จำนวนมากของประเทศ หลังจากที่ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ประสบความล้มเหลวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นผลให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองประทุขึ้นถึงขีดสุด
  • สำหรับการเคลื่อนไหวของทั้งสองพรรคข้างต้น นายลุยจิ ดิ ไมโอ หัวหน้าพรรค Five Stars Movement ของอิตาลีได้ออกมาเรียกร้องให้มีการลงมติถอดถอนนายมัตตาเรลลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี หลังจากที่นายมัตตาเรลลาใช้สิทธิ์คัดค้านการเสนอชื่อนายเปาโล ซาโวนา ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจคนใหม่ โดยนายซาโวนา นักเศรษฐศาสตร์วัย 81 ปี และเป็นอดีตรมว.อุตสาหกรรม แสดงการสนับสนุนให้ประเทศถอนตัวจากการใช้สกุลเงินยูโร
  • นอกจากนี้ ทางพรรค Five Stars Movement และพรรค Northern League ยังได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ หลังจากที่อิตาลีเพิ่งจัดการเลือกตั้งไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

อิตาลีประสบกับประเด็นด้านความเชื่อถือ

  • มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกรายงานเตือนเมื่อวานนี้ว่า มูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี (ปัจจุบันอยู่ที่ Baa2 rating — 2 notches เหนือ non-investment grade) ถ้าหาก 1) รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีไม่สามารถดำเนินนโยบายการคลังที่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศลดลงอย่างยั่งยืนและ 2) ไม่สามารถที่จะทำ Structural Reform ได้ (หมายเหตุ S&P และ Fitch, เรตอิตาลีที่ BBB rating — 2 notches เหนือ non-investment grade เช่นเดียวกัน)
  • นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลสเปน หลังจากที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย กรณีทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาในวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการลงมติในวันศุกร์นี้ ขณะที่สื่อของสเปนต่างออกมาเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ท่ามกลางความกังวลของตลาดการเงินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

Market Reaction

Stock Market Movement

  • ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 24,361.45 จุด ลดลง 391.64 จุด, -1.58%
  • ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,689.86 จุด ลดลง 31.47 จุด, -1.16%
  • ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 7,396.59 จุด ลดลง 37.26 จุด, -0.50%
  • ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,666.51 จุด ลดลง 196.95 จุด, -1.53%
  • ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,438.06 จุด ลดลง 70.87 จุด, -1.29%
  • ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,632.64 จุด ลดลง 97.64 จุด, -1.26%
  • ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 30,484.58 จุด ลดลง 307.68 จุด, -1.00%
  • ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,602.36 จุด ลดลง 40.54 จุด, -0.53%
  • ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,120.46 จุด ลดลง 14.62 จุด, -0.47%
  • ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,457.25 จุด ลดลง 21.71 จุด, -0.88%
  • ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 6,013.60 จุด เพิ่มขึ้น 9.60 จุด, +0.16%
  • ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 6,121.70 จุด เพิ่มขึ้น 8.10 จุด, +0.13%
  • ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 10,964.12 จุด ลดลง 23.65 จุด, -0.22%
  • *ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และมาเลเซีย ปิดทำการวันอังคารที่ 29 พ.ค. เนื่องในวันวิสาขบูชา
  • สำหรับในวันที่ 30 พ.ค. ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดร่วงลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลี นอกจากนี้ การดิ่งลงอย่างหนักของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ ยังสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ณ ตอนนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดร่วงลง 306.46 จุด หรือ -1.37% แตะที่ 22,051.97 จุด

FX Movement

สกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิตาลี หลังจากความพยายามในการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้นยังคงไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอิตาลีอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ที่ระดับ 1.1533 ดอลลาร์ฯ จากระดับ 1.1628 ดอลลาร์ฯ เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.3247 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3314 ดอลลาร์ฯ

ดอลลาร์ฯอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 108.55 เยน จากระดับ 108.87 เยน

ส่วนค่าเงินบาททะลุ 32 บาทมายืนที่ 32.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตร

Bond Yield 10 ปีของอิตาลี ทะยานขึ้นมาโดยตลอด (ข้อมูลดังตาราง) ทำให้ปัจจุบันยืนอยู่ที่ 3.16% ทำให้ตลาดคาดว่า ธนาคารกลางยุโรปอาจจะต้องเข้ามาช่วยพยุงไว้

Source: Bloomberg