บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งกำหนดให้ทำตามการขึ้นค่าจ้างที่มากกว่าปกติในปีนี้ ด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างอีกครั้งในปี 2567 ซึ่งมีการคาดหมายว่าจะช่วยยกระดับการใช้จ่ายของครัวเรือน และส่งมอบเงื่อนไขที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จำเป็นที่จะต้องยุติมาตรการกระตุ้นทางการเงินที่มากเป็นพิเศษ
สัญญาณบ่งบอกแรกเริ่มมาจากหลายภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน และนักเศรษฐศาสตร์บอกเป็นนัยว่า แรงกดดันด้านค่าใช้จ่ายและแรงงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดการขึ้นค่าจ้างในปีนี้นั้น มากที่สุดในรอบมากกว่า 3 ทศวรรษ จะยังคงมีอยู่และมุ่งไปสู่การเจรจาเรื่องค่าจ้างครั้งสำคัญในฤดูใบไม้ผลิของปีหน้า
ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของญี่ปุ่น ซันโตรี่ โฮลดิ้ง (Suntory Holdings Ltd) วางแผนที่จะเสนอปรับขึ้นค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างที่อัตรา 7% ในปี 2567 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อเก็บรักษาผู้ที่มีความสามารถพิเศษในตลาดแรงงานที่ตึงตัว และเป็นการชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น
บริษัท เมจิ ยาสึดะ ประกันชีวิต ตั้งใจที่จะเพิ่มค่าจ้างรายปีที่อัตรา 7% ให้กับลูกจ้างเฉลี่ยราว 10,000 คน เริ่มในเดือน เม.ย.ปีหน้า ขณะที่ผู้ค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บิค คาเมร่า (Bic Camera) กำหนดว่าจะเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงานเต็มเวลาจำนวน 4,600 คน ที่อัตราสูงสุดจนถึง 16%
ทาเคชิ นีนามิ (Takeshi Niinami) CEO ของซันโตรี่ โฮลดิ้ง ผู้ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระดับสูงสุดของนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ฟุมิโอะ คิชิดะ (Fumio Kishida) กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ ว่า “สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครั้งใหญ่จากภาวะเงินฝืดไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ”
การประกาศดังกล่าวเหล่านั้น มีขึ้นเนื่องจากนายกรัฐมนตรี คิชิดะ ได้เพิ่มแรงกดดันกับบริษัททั้งหลายให้ปรับขึ้นค่าจ้างเพื่อชดเชยความเจ็บปวดของครัวเรือนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
การปรับขึ้นค่าจ้างรายปีอย่างต่อเนื่องจะยังคงช่วยให้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น คาซึโอะ อุเอดะ (Kasuo Ueda) ผ่านหนึ่งในเงื่อนไขแรก ก่อนที่เขาจำเป็นที่จะต้องถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงินอย่างมากเป็นพิเศษ ออกจากทศวรรษที่ผ่านมานั้น คือ การเติบโตที่ยั่งยืนของค่าจ้าง
ข้อมูลจาก OECD เปิดเผยถึงค่าจ้างเฉลี่ยแทบจะไม่มีการปรับขึ้นในญี่ปุ่นสำหรับในช่วงราว 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเงินฝืดที่เรื้อรัง และโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำและขยายเป็นเวลานานได้ขัดขวางบริษัททั้งหลายไม่ให้ปรับขึ้นค่าจ้าง
เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อยังคงยืนอยู่สูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% เป็นเวลามากกว่า 1 ปี บริษัทหลายแห่งต้องเผชิญกับแรงกดดันที่คาดไม่ถึง เพื่อที่จะชดเชยให้กับลูกจ้างด้วยการปรับขึ้นค่าจ้าง เพื่อรักษาและดึงดูดผู้ที่มีความสามารถพิเศษไว้กับบริษัท ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 6 จากทั้งหมด 10 รายซึ่งสำรวจโดยโพลของรอยเตอร์คาดการณ์ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างของบริษัทหลายแห่งครั้งสำคัญของญี่ปุ่นในปี 2567 จะสูงกว่าในปีนี้
ที่มา: รอยเตอร์