ตลาดหุ้นโลกในเดือนตุลาคมส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อจากเดือนที่ผ่านมา 3% ด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่เปิดฉากโจมตีกันขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา และยังมีความไม่แน่นอนในแง่ของความยืดเยื้อและผลกระทบระยะยาวด้านความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดย Bloomberg ได้ประเมินผลกระทบของสงครามและมีการคาดการณ์ว่า จากสถาณการณ์ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อ Global GDP ในปี 2024 ที่ 0.1% และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 0.1% และถ้าหากสถาณการณ์มีการบานปลายไปยังระดับ Direct War อาจจะส่งผลกระทบต่อ Global GDP 2024 มากถึง 1% และเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น 1.2% ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า ความรุนแรงของสงครามไม่น่าจะยกระดับไปขนาดนั้น และน่าจะเป็นการสู้รบในพื้นที่จำกัดมากกว่า ซึ่งในระยะสั้นนั้น สินทรัพยเสี่ยงต่างๆทั่วโลกเกิดแรงเทขาย และเกิดความผันผวน อาทิ น้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวสูงขึ้นราว 5% และทองคำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยกลับมีแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมามีพัฒนาการในเชิงบวก ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.6% โดยมีปัจจัยการขยายตัวของเงินเฟ้ออย่างราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% และหมวดพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี กลับพุ่งสูงขึ้นแตะ 5% ในรอบ 16 ปี โดยตลาดมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะมีการคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับความกังวลของสงครามในอิสราเอล ส่งผลให้มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา อย่างไรก็ตาม หลักการณ์ประชุมเฟดครั้งล่าสุดที่แสดงท่าที่ Dovish มากขึ้นต่อการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงมาที่ประมาณ 4.5-4.6% สำหรับปัจจัยลบที่จะมากดดันตลาดในระยะสั้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การประมูลพันธบัตรที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown กลับมาอีกครั้ง จึงมีโอกาศเห็นความผันผวนของตลาดได้ต่อจากนี้ แต่เราเชื่อว่า ตลาดน่าจะสะท้อนความกังวลต่อแนวโน้มนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นไปพอสมควรแล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้กลับเข้าสู่ฤดูการประกาศผลประกอบการอีกครั้ง โดยล่าสุด ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 กว่าครึ่ง พบว่ามีการเติบโตของกำไรเฉลี่ยที่ 13% นำโดยกลุ่ม Consumer Discretionary และ Communication Services นอกจากนี้ตลาดยังได้คาดการผลประกอบการในไตรมาส 4 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซื่งจะเป็นแรงหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกด้วย
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยเดือนตุลาคมปรับตัวลดลง 6% ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ส่งผลให้เกิดแรงเทขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในประเทศยังคงถูกกดดันจากนโยบายแจกเงินดิจิทัลที่มีแนวโน้มที่จะล่าช้าออกไปในเดือน เมษายน-พฤษภาคม จากการปรับแผนหาแหล่งเงินทุน และการพัฒนาระบบ อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการปรับเกณฑ์ผู้ได้รับเงินให้กับกลุ่มเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ส่งผลให้เม็ดเงินในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าลดลงไป แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลดภาระในการแบกรับงบประมาณจากโครงการดังกล่าวไปได้ นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลชุดใหม่มีความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนของทางภาครัฐ ส่งผลให้โดยภาพรวมแล้วตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปียังคงขาดปัจจัยที่จะมาสนับสนุนในระยะสั้น แต่ขณะเดียวกันตลาดก็น่าจะสะท้อนความกังวลจากปัจจัยลบต่างๆ ไปพอสมควรแล้ว และน่าจะมีทิศทางที่ทยอยดีขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ ขึ้นกับทิศทางผลประกอบการณ์ไตรมาส 3 และแนวโน้มไตรมาส 4 ที่จะประกาศในช่วงนี้ด้วย
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนตุลาคมส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อจากเดือนที่ผ่านมา 3% ด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่เปิดฉากโจมตีกันขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา และยังมีความไม่แน่นอนในแง่ของความยืดเยื้อและผลกระทบระยะยาวด้านความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดย Bloomberg ได้ประเมินผลกระทบของสงครามและมีการคาดการณ์ว่า จากสถาณการณ์ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อ Global GDP ในปี 2024 ที่ 0.1% และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 0.1% และถ้าหากสถาณการณ์มีการบานปลายไปยังระดับ Direct War อาจจะส่งผลกระทบต่อ Global GDP 2024 มากถึง 1% และเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น 1.2% ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า ความรุนแรงของสงครามไม่น่าจะยกระดับไปขนาดนั้น และน่าจะเป็นการสู้รบในพื้นที่จำกัดมากกว่า ซึ่งในระยะสั้นนั้น สินทรัพยเสี่ยงต่างๆทั่วโลกเกิดแรงเทขาย และเกิดความผันผวน อาทิ น้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวสูงขึ้นราว 5% และทองคำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยกลับมีแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมามีพัฒนาการในเชิงบวก ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.6% โดยมีปัจจัยการขยายตัวของเงินเฟ้ออย่างราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% และหมวดพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี กลับพุ่งสูงขึ้นแตะ 5% ในรอบ 16 ปี โดยตลาดมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะมีการคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับความกังวลของสงครามในอิสราเอล ส่งผลให้มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา อย่างไรก็ตาม หลักการณ์ประชุมเฟดครั้งล่าสุดที่แสดงท่าที่ Dovish มากขึ้นต่อการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงมาที่ประมาณ 4.5-4.6% สำหรับปัจจัยลบที่จะมากดดันตลาดในระยะสั้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การประมูลพันธบัตรที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown กลับมาอีกครั้ง จึงมีโอกาศเห็นความผันผวนของตลาดได้ต่อจากนี้ แต่เราเชื่อว่า ตลาดน่าจะสะท้อนความกังวลต่อแนวโน้มนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นไปพอสมควรแล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้กลับเข้าสู่ฤดูการประกาศผลประกอบการอีกครั้ง โดยล่าสุด ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 กว่าครึ่ง พบว่ามีการเติบโตของกำไรเฉลี่ยที่ 13% นำโดยกลุ่ม Consumer Discretionary และ Communication Services นอกจากนี้ตลาดยังได้คาดการผลประกอบการในไตรมาส 4 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซื่งจะเป็นแรงหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกด้วย
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยเดือนตุลาคมปรับตัวลดลง 6% ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดโลก โดยตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ส่งผลให้เกิดแรงเทขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในประเทศยังคงถูกกดดันจากนโยบายแจกเงินดิจิทัลที่มีแนวโน้มที่จะล่าช้าออกไปในเดือน เมษายน-พฤษภาคม จากการปรับแผนหาแหล่งเงินทุน และการพัฒนาระบบ อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการปรับเกณฑ์ผู้ได้รับเงินให้กับกลุ่มเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ส่งผลให้เม็ดเงินในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าลดลงไป แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลดภาระในการแบกรับงบประมาณจากโครงการดังกล่าวไปได้ นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลชุดใหม่มีความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนของทางภาครัฐ ส่งผลให้โดยภาพรวมแล้วตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปียังคงขาดปัจจัยที่จะมาสนับสนุนในระยะสั้น แต่ขณะเดียวกันตลาดก็น่าจะสะท้อนความกังวลจากปัจจัยลบต่างๆ ไปพอสมควรแล้ว และน่าจะมีทิศทางที่ทยอยดีขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ ขึ้นกับทิศทางผลประกอบการณ์ไตรมาส 3 และแนวโน้มไตรมาส 4 ที่จะประกาศในช่วงนี้ด้วย