มุมมองตลาดตราสารหนี้
เดือน เม.ย. เป็นเดือนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐทั้งไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ตลาดเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยในเดือนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.02-0.08% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.12%-0.29% จากเดือนก่อนหน้า สาเหตุที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง โดยกรรมการส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง แนวคิดดังกล่าวถูกให้น้ำหนักอีกครั้งในงาน Monetary Policy Forum ที่ ธปท. จัดขึ้นในวันที่ 24 เม.ย. 2567 ทำให้ตลาดเปลี่ยนมุมมองจากเคยคาดว่าจะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1-2 ครั้งภายในปีนี้ เป็นคาดว่าทั้งปีจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%
ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.29% และ 0.40% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 4.86% และ 4.84% ตามลำดับ เป็นผลจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาสูงกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. ที่ระดับ 3.20% (คาด 3.10%) ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน ไม่นับรวมอาหารและพลังงาน (Core PCE) ที่ระดับ 3.70% (คาด 3.40%) ยิ่งตอกย้ำถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะยังอยู่ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสที่จะเลื่อนออกไป ตลาดจากที่เคยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้งในปีนี้ เริ่มกังวลมากขึ้นว่า เฟดอาจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลยในปีนี้
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงต่างประเทศที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังคงมีความหนืดสูง รวมไปถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่หากความขัดแย้งยกระดับความรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อตลาดได้
สำหรับปัจจัยภายในประเทศก็เช่นเดียวกัน ตัวเลขเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิด รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ประกาศออกมา ว่าจะสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยได้แค่ไหน อีกทั้ง การใช้เงินจำนวนมากตามแผนการของภาครัฐจะทำให้ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลไทยที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สร้างความผันผวนให้กับตลาดได้เช่นเดียวกัน
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
เดือน เม.ย. เป็นเดือนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐทั้งไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ตลาดเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยในเดือนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.02-0.08% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.12%-0.29% จากเดือนก่อนหน้า สาเหตุที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง โดยกรรมการส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง แนวคิดดังกล่าวถูกให้น้ำหนักอีกครั้งในงาน Monetary Policy Forum ที่ ธปท. จัดขึ้นในวันที่ 24 เม.ย. 2567 ทำให้ตลาดเปลี่ยนมุมมองจากเคยคาดว่าจะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1-2 ครั้งภายในปีนี้ เป็นคาดว่าทั้งปีจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%
ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.29% และ 0.40% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 4.86% และ 4.84% ตามลำดับ เป็นผลจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาสูงกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. ที่ระดับ 3.20% (คาด 3.10%) ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน ไม่นับรวมอาหารและพลังงาน (Core PCE) ที่ระดับ 3.70% (คาด 3.40%) ยิ่งตอกย้ำถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะยังอยู่ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสที่จะเลื่อนออกไป ตลาดจากที่เคยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้งในปีนี้ เริ่มกังวลมากขึ้นว่า เฟดอาจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลยในปีนี้
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงต่างประเทศที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังคงมีความหนืดสูง รวมไปถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่หากความขัดแย้งยกระดับความรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อตลาดได้
สำหรับปัจจัยภายในประเทศก็เช่นเดียวกัน ตัวเลขเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิด รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ประกาศออกมา ว่าจะสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยได้แค่ไหน อีกทั้ง การใช้เงินจำนวนมากตามแผนการของภาครัฐจะทำให้ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลไทยที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สร้างความผันผวนให้กับตลาดได้เช่นเดียวกัน