ในเดือนก.ค. มีประเด็นที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินค่อนข้างมาก ทั้งภาคการเมือง ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ การประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ของโลก อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน รุ่นอายุ 2 ปี ปรับลดลงถึง 33bps และรุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลง 21bps โดยสาเหตุสำคัญมาจากมุมมองของตลาดที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ได้เปลี่ยนไปจากเดิม โดยตลาดให้น้ำหนักว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการประชุมรอบถัดไป เนื่องด้วยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ที่ออกมาสะท้อนถึงการชะลอตัวลง ทั้งตัวเลขภาคตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับถ้อยแถลงของประธาน FED ที่ระบุว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวและการตรึงดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานจะส่งกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนก.ค. ของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25%-5.5% เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 8 หลังการประชุมประธาน FED ได้เน้นย้ำถึงความพร้อมของ FED ที่จะปรับนโยบายการเงิน ซึ่งในการแถลงการณ์ได้กล่าวเป็นนัยว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. หากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อชะลอลงอย่างต่อเนื่องและสภาวะเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดการณ์
สำหรับตลาดพันธบัตรไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่น 2 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยประมาณ 3bps ขณะที่ รุ่น 10 ปี ปรับลดลงถึง 10bps ตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ นอกจากนี้ มีรายงานอัตราเงินเฟ้อของเดือนมิ.ย. ที่ออกมาค่อนข้างต่ำที่ 0.62% YoY ซึ่งหลุดกรอบของ ธปท. ที่ 1-3% ทำให้ตลาดเริ่มมองถึงโอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง. อย่างไรก็ตาม เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอมากกว่าที่คาด เป็นสิ่งที่ทาง กนง. ได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ซึ่ง กนง. มองว่า อัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่ากรอบเป้าหมายได้
ในส่วนของการประชุมของธนาคารกลางหลักอื่นๆ ในเดือนก.ค. ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติ 7:2 เสียง ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 15 bps สู่ระดับ 0.25% เป็นการปรับขึ้นที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2007 และมีมติเป็นเอกฉันท์ (9:0) จะลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นรายเดือนลง เหลือประมาณ 3 ล้านล้านเยนในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. 2026 โดยมีแผนจะปรับลดลงประมาณ 4 แสนล้านเยนในแต่ละไตรมาสของปี
สำหรับในระยะต่อไปยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่ปัจจุบัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ประกาศถอนตัวจากการลงสมัครชิงตำแหน่ง และประกาศสนับสนุนคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงสมัครแทน และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความขัดแย้ง ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศสิ่งที่ต้องติดตาม คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนก.ค. มีประเด็นที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินค่อนข้างมาก ทั้งภาคการเมือง ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ การประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ของโลก อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน รุ่นอายุ 2 ปี ปรับลดลงถึง 33bps และรุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลง 21bps โดยสาเหตุสำคัญมาจากมุมมองของตลาดที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ได้เปลี่ยนไปจากเดิม โดยตลาดให้น้ำหนักว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการประชุมรอบถัดไป เนื่องด้วยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ที่ออกมาสะท้อนถึงการชะลอตัวลง ทั้งตัวเลขภาคตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับถ้อยแถลงของประธาน FED ที่ระบุว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวและการตรึงดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานจะส่งกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนก.ค. ของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25%-5.5% เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 8 หลังการประชุมประธาน FED ได้เน้นย้ำถึงความพร้อมของ FED ที่จะปรับนโยบายการเงิน ซึ่งในการแถลงการณ์ได้กล่าวเป็นนัยว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. หากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อชะลอลงอย่างต่อเนื่องและสภาวะเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดการณ์
สำหรับตลาดพันธบัตรไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่น 2 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยประมาณ 3bps ขณะที่ รุ่น 10 ปี ปรับลดลงถึง 10bps ตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ นอกจากนี้ มีรายงานอัตราเงินเฟ้อของเดือนมิ.ย. ที่ออกมาค่อนข้างต่ำที่ 0.62% YoY ซึ่งหลุดกรอบของ ธปท. ที่ 1-3% ทำให้ตลาดเริ่มมองถึงโอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง. อย่างไรก็ตาม เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอมากกว่าที่คาด เป็นสิ่งที่ทาง กนง. ได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ซึ่ง กนง. มองว่า อัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่ากรอบเป้าหมายได้
ในส่วนของการประชุมของธนาคารกลางหลักอื่นๆ ในเดือนก.ค. ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติ 7:2 เสียง ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 15 bps สู่ระดับ 0.25% เป็นการปรับขึ้นที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2007 และมีมติเป็นเอกฉันท์ (9:0) จะลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นรายเดือนลง เหลือประมาณ 3 ล้านล้านเยนในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. 2026 โดยมีแผนจะปรับลดลงประมาณ 4 แสนล้านเยนในแต่ละไตรมาสของปี
สำหรับในระยะต่อไปยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่ปัจจุบัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ประกาศถอนตัวจากการลงสมัครชิงตำแหน่ง และประกาศสนับสนุนคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงสมัครแทน และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความขัดแย้ง ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศสิ่งที่ต้องติดตาม คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ