อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม

อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM

ต้นเหตุของปัญหาน้ำในปี 2567 ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่

ปริมาณน้ำจากเขื่อนในประเทศจีน

ปัจจุบันจีนมีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง 12 แห่ง ใกล้ไทยสุด คือ เขื่อนจิ่งหง ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำ 340 กิโลเมตร ซึ่งปล่อยน้ำประมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ในระดับที่หน่วงเอาไว้ แต่ขณะเดียวกัน เมื่อฝนตกลงมาเติมเยอะมาก เกิดน้ำหลาก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว

มวลน้ำมารวมกันจากหลากหลายพื้นที่ ผนวกกับพายุเข้ามาทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น

พื้นที่ต้นน้ำมาจากเทือกเขาขนาดใหญ่ในรัฐฉาน และบริเวณสันปันน้ำทำให้แม่สายต้องรับศึกหนักเป็นพื้นที่รับมวลน้ำมหาศาลจากหุบเขาทั้งหมดลงมา และเวลานี้ มวลน้ำสูงสุดในเมียนมา ยังไหลมาเติมใน “แม่สาย -แม่น้ำรวก” พื้นที่ที่ถูกกระทบหนัก คือ พื้นลุ่มต่ำแม่น้ำกก ปลายทางลงแม่น้ำโขง อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ ก่อนที่มวลน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง

สำหรับฝั่งแม่สาย เรียกว่า อยู่ในสภาวะล่อแหลม เพราะมีการขยายตัวของเมือง ทับทางระบายน้ำ รุกล้ำเข้าไปยัง “แม่น้ำสาย -แม่น้ำรวก” กั้นพรมแดนธรรมชาติไทย-เมียนมา ทำให้แคบลงอย่างเห็นได้ชัด บางจุดสามารถเดินข้ามได้ ลำน้ำแคบเพียง 7 เมตรเท่านั้น

สิ่งที่กำลังถูกถึงอย่างมาก คือ ระบบเตือนภัย ทั้งที่ “แม่สาย” เผชิญน้ำท่วมบ่อยมากถึง 8 ครั้งแล้ว ในปี 2567 มีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่นี้หรือไม่ ในเมื่อเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ทำไมจึงยังคงได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งที่มีการแจ้งเตือนพายุล่วงหน้าหลายวัน

ความรุนแรงมวลน้ำอีสานไม่เท่าน้ำเหนือ

ความรุนแรงของน้ำจะไม่รุนแรงเท่าเชียงราย เพราะเป็นระดับน้ำหลาก ไม่ใช่ระดับน้ำเท้อ และฝนตกหนักสั้นๆ 1-2 วัน หากไล่ทิศทางฝนตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มจากด้านตะวันออก บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ก่อนเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและตอนล่าง เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์ และศรีสะเกษ แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ลักษณะทะเลปี 2567 คล้ายกับปี 2553 ซึ่งปลายเดือนกันยายนปี 2553 นั้น จะมีฝนพาดผ่านจากจังหวัดนครสวรรค์ไปถึงบุรีรัมย์

กรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบน้ำท่วม?

ระดับน้ำที่ไหลผ่านค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงต่ำมาก อยู่ในระดับ 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยระดับความจุน้ำสามารถรองรับได้ถึง 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากเทียบกับน้ำท่วมปี 2554 ซึ่งไหลผ่านเกือบ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องระวัง คือ ฝนจากภาคกลาง ไม่ใช่ฝนจากภาคเหนือ นอกเหนือจากนี้จะต้องติดตามทิศทางของพายุเมื่อเข้าสู่ปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคมจะกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพร้อมรับมือและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ตลอดเวลา หากมีพายุมาเติมในช่วงเดือนตค ภาคกลาง กทม และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีสิทธิ์ได้รับแรงกระแทกในช่วงนั้น

ขณะนี้มี 53 จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้ 

ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่

แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน, ปางมะผ้า, ปาย, สบเมย)

เชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย, ฝาง, จอมทอง, ฮอด)

เชียงราย (อำเภอแม่สาย, เชียงแสน, แม่จัน, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พญาเม็งราย, เวียงแก่น)

พะเยา (อำเภอปง, เชียงคำ, จุน, ภูกามยาว, เชียงม่วน)

แพร่ (อำเภอวังชิ้น, สูงเม่น, เด่นชัย, ลอง)

น่าน (อำเภอทุ่งช้าง, เฉลิมพระเกียรติ, ปัว, บ่อเกลือ, ท่าวังผา, เชียงกลาง, แม่จริม, ภูเพียง, เวียงสา)

อุตรดิตถ์ (อำเภอท่าปลา, น้ำปาด)

ตาก (อำเภอท่าสองยาง, แม่สอด, พบพระ, อุ้มผาง)

สุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย, ศรีสัชนาลัย, ศรีสำโรง, กงไกรลาศ)

กำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง, คลองลาน, โกสัมพีนคร, พรานกระต่าย)

พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ, นครไทย, วัดโบสถ์, วังทอง, เนินมะปราง)

พิจิตร (อำเภอโพธิ์ประทับช้าง)

เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์, หนองไผ่, หล่มเก่า, หล่มสัก)

นครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์, แม่เปิน)

อุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่

เลย (อำเภอนาแห้ว, เชียงคาน, ด่านซ้าย, ปากชม)

หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย, สังคม, ศรีเชียงใหม่, ท่าบ่อ, โพนพิสัย, โพธิ์ตาก)

บึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ, ปากคาด, บุ่งคล้า, โซ่พิสัย, เซกา, บึงโขงหลง)

หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา)

อุดรธานี (อำเภอนายูง, น้ำโสม)

สกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร, ภูพาน, สว่างแดนดิน)

นครพนม (อำเภอเมืองนครพนม, ศรีสงคราม)

ชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ, คอนสาร, หนองบัวแดง)

ขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น, ภูผาม่าน, ชุมแพ, บ้านไผ่)

มหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม)

กาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์, ยางตลาด, ร่องคำ)

มุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร, หว้านใหญ่, ดอนตาล)

ร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด, เสลภูมิ)

ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร, ป่าติ้ว, คำเขื่อนแก้ว)

อำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ, ชานุมาน)

นครราชสีมา (อำเภอปากช่อง, วังน้ำเขียว)

บุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์)

สุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์, ปราสาท)

ศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ, ยางชุมน้อย)

และอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี, วารินชำราบ, ตาลสุม, น้ำยืน, พิบูลมังสาหาร, น้ำขุ่น)

ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่

กาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี, ทองผาภูมิ)

นครนายก (อำเภอเมืองนครนายก, ปากพลี)

ปราจีนบุรี (อำเภอกบินทร์บุรี นาดี)

สระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ว)

ฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต, ท่าตะเกียบ)

ชลบุรี (อำเภอศรีราชา, บางละมุง)

ระยอง (อำเภอเมืองระยอง, แกลง, บ้านค่าย)

จันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี, เขาคิชฌกูฏ, สอยดาว, โป่งน้ำร้อน, มะขาม, ขลุง)

ตราด (ทุกอำเภอ)

ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ 

จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ, สวี)

สุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม, บ้านตาขุน)

นครศรีธรรมราช (อำเภอพิปูน, ช้างกลาง, ลานสกา)

ระนอง (ทุกอำเภอ)

พังงา (อำเภอเมืองพังงา, คุระบุรี, ตะกั่วป่า, กะปง, ท้ายเหมือง)

ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)

กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่, เหนือคลอง, อ่าวลึก, คลองท่อม, ปลายพระยา, เกาะลันตา)

ตรัง (อำเภอเมืองตรัง, ปะเหลียน, นาโยง, กันตัง, สิเกา, ห้วยยอด, วังวิเศษ)

สตูล (อำเภอเมืองสตูล, ควนโดน, ควนกาลง, ทุ่งหว้า, มะนัง)

รัฐบาลจะออกมาตรการอะไรบ้าง 

ล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเตรียมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) คณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม และจัดตั้งศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและบริหารสถานการณ์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนบูรณาการเข้ามาบริหารจัดการวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้อย่างคล่องตัวรวดเร็วมากขึ้น เพื่อให้การเตรียมการรับมือและเผชิญเหตุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 

ทั้งนี้ รัฐบาลมีแนวความคิดที่จะนำแผนบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทในสมัยนายกฯ ยิ่งลักษณ์กลับมาใหม่ อีกทั้งรัฐบาลมีแนวคิดที่จะทำโครงการเมกะโปรเจก สร้อยไข่มุกอ่าวไทยแก้ปัญหาน้ำท่วมมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท Link