Fund Comment, พฤษภาคม 2561
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ไทยและสหรัฐฯมีความผันผวนสูง อัตราผลตอบแทน(Yield)ของตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี Yield ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557 อีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ทำระดับสูงสุดที่ 3.12% ขณะที่ Yield พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปีก็พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 2.60%จากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน ที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์ที่เคยทำไว้กับอิหร่าน และจะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจสูงสุดต่ออิหร่าน รวมทั้งสหรัฐฯ เตรียมประกาศแซงก์ชั่น เวเนซุ-เอล่า เพิ่มเติม
ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว เพราะแรงเทขายตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2561 เทียบกับเดือนเมษายน 2560 เพิ่มขึ้น 1.07% เป็นการแตะกรอบล่างเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธปท.และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการปรับตัวสูงขึ้นของกลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้น และปรับตัวสูงขึ้นของกลุ่มอาหารสด ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไป 4 เดือนแรกสูงขึ้น 0.75 % และเงินเฟ้อพื้นฐานก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันที่ 0.62% ส่งผลให้ อัตราผลตอบแทน(Yield)ของตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.24% ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปีก็เพิ่มขึ้น 0.28 %
สำหรับผลการประชุมนโยบายการเงินคณะกรรมการฯ ธนาคารแห่งประเทศ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี (โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม) โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในช่วงต่อไป
กองทุนบัวหลวง มองว่าตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากสภาพคล่องระดับสูงในประเทศที่ช่วยลดความผันผวนจากความเสี่ยงต่างๆ ภายนอกประเทศลงได้ รวมทั้งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อไทยพื้นฐานของไทยจะไม่สูงเกินกว่าขอบบนของเป้าหมายธปท. ( BoT’s Target: 1% – 4%) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อจากหมวดอาหารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 36 ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราเงินเฟ้อจากราคาพลังงานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับขึ้นได้ถึงขอบบนของกรอบเป้าหมายของธปท. ดังนั้น ธปท.จึงไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ยกเว้นเกิดกรณีค่าเงินบาทอ่อนค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเสถียรฐานของประเทศ ซึ่งความน่าจะเป็นในกรณีนี้มีค่อนข้างน้อย
Fund Comment
มุมมองตลาดตราสารหนี้
Fund Comment, พฤษภาคม 2561
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ไทยและสหรัฐฯมีความผันผวนสูง อัตราผลตอบแทน(Yield)ของตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี Yield ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557 อีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ทำระดับสูงสุดที่ 3.12% ขณะที่ Yield พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปีก็พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 2.60%จากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน ที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์ที่เคยทำไว้กับอิหร่าน และจะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจสูงสุดต่ออิหร่าน รวมทั้งสหรัฐฯ เตรียมประกาศแซงก์ชั่น เวเนซุ-เอล่า เพิ่มเติม
ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว เพราะแรงเทขายตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2561 เทียบกับเดือนเมษายน 2560 เพิ่มขึ้น 1.07% เป็นการแตะกรอบล่างเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธปท.และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการปรับตัวสูงขึ้นของกลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้น และปรับตัวสูงขึ้นของกลุ่มอาหารสด ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไป 4 เดือนแรกสูงขึ้น 0.75 % และเงินเฟ้อพื้นฐานก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันที่ 0.62% ส่งผลให้ อัตราผลตอบแทน(Yield)ของตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.24% ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปีก็เพิ่มขึ้น 0.28 %
สำหรับผลการประชุมนโยบายการเงินคณะกรรมการฯ ธนาคารแห่งประเทศ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี (โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม) โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในช่วงต่อไป
กองทุนบัวหลวง มองว่าตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากสภาพคล่องระดับสูงในประเทศที่ช่วยลดความผันผวนจากความเสี่ยงต่างๆ ภายนอกประเทศลงได้ รวมทั้งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อไทยพื้นฐานของไทยจะไม่สูงเกินกว่าขอบบนของเป้าหมายธปท. ( BoT’s Target: 1% – 4%) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อจากหมวดอาหารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 36 ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราเงินเฟ้อจากราคาพลังงานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับขึ้นได้ถึงขอบบนของกรอบเป้าหมายของธปท. ดังนั้น ธปท.จึงไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ยกเว้นเกิดกรณีค่าเงินบาทอ่อนค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเสถียรฐานของประเทศ ซึ่งความน่าจะเป็นในกรณีนี้มีค่อนข้างน้อย